ไวส์ฯ เปิดตัว Double Smart รูปแบบการสร้างบ้านสมัยใหม่ ที่เพิ่มแรงทนทานของตัว อาคาร ด้วยการเพิ่มเนื้อคอนกรีต เหล็กเสริมและเสาเข็มให้ยาวขึ้น โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้ หลังศึกษาวิเคราะห์ชั้นดินดานในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่าพื้นที่ 60 % จำเป็นต้องใช้เข็มลึกมากกว่า 21 เมตร
ไวส์ฯ เปิดตัว Double Smart รูปแบบการสร้างบ้านสมัยใหม่ ที่เพิ่มแรงทนทานของตัว อาคาร ด้วยการเพิ่มเนื้อคอนกรีต เหล็กเสริมและเสาเข็มให้ยาวขึ้น โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้ หลังศึกษาวิเคราะห์ชั้นดินดานในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล พบว่าพื้นที่ 60 % จำเป็นต้องใช้เข็มลึกมากกว่า 21 เมตร |
||
. | ||
นายภพศักดิ์ ปานสีทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไวส์ คอนซัลแทนท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทรับสร้างบ้าน
นายภพศักดิ์ ปานสีทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไวส์ คอนซัลแทนท์ (ประเทศไทย) จำกัด รูปแบบมาตรฐานการสร้างบ้าน Double Smart จะเน้นความสวยงามของบ้าน และการใช้วัสดุก่อสร้างชั้นนำ รวมถึงการใช้พื้นที่ในตัวอาคารให้เป็นประโยชน์ โดยใช้วิธีการเสริมโครงสร้างของบ้านให้แข็งแรงขึ้น มีอายุใช้งานยาวนานกว่าบ้านปกติทั่วไป มีการปรับปรุงโครงสร้างของอาคารในส่วนคอนกรีต เหล็กเสริม และเสาเข็ม เริ่มตั้งแต่การใช้คอนกรีตที่เพิ่มกำลังรับแรงอัดถึง 280 ksc (Cube) ซึ่งจะทำให้ทนต่อการรับแรงอัดของคอนกรีตในเสาและคานได้ดีขึ้น
นายภพศักดิ์กล่าวต่อว่า โครงสร้างของบ้านใหม่จะเพิ่มเหล็กปลอกเสาเป็น 2 เท่าของเหล็กปลอกเสาปกติและเพิ่มเหล็กยืนเสาอีก 30% ซึ่งจะทำให้โครงฐานมีความยืดหยุ่นและรับแรงได้ดีขึ้น พร้อมกันนี้ได้เพิ่มความยาวเสาเข็มอีก 2 เมตรเพื่อป้องกันปัญหาการทรุดตัวของอาคาร คือจากเสาเข็ม 21 เมตรเป็นเสาเข็ม 23 เมตรในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอัตราการทรุดตัวสูง ทั้งนี้ปัจจุบันพื้นที่ในประเทศไทยหลายจุด มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสี่ยงของการเคลื่อนตัวของแนวเลื่อนแผ่นดินไหวมากขึ้น จากข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยพบว่าในช่วงปี 2526 - 2546 การเกิดแผ่นดินไหวในระดับที่ต่ำกว่า 4 ริคเตอร์เกิดขึ้น 5,088 ครั้ง และขนาด 4 – 9 ริคเตอร์ เกิดขึ้นถึง 2,068 ครั้ง ซึ่งกรมโยธาธิการได้ประกาศให้พื้นที่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล อยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัดที่เสี่ยงภัย และเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างของตัวอาคาร ไวส์ฯ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและได้ยกมาตรฐานของโครงสร้างอาคารใหม่ให้แข็งแรงและยืดหยุ่นขึ้น ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความแข็งแรงแล้วยังสามารถรับแรงแผ่นดินไหวได้ในระดับความสั่นสะเทือน 3.75 %g และสามารถต้านทานกับแรงพายุฝนได้อีกด้วย |
||
. | ||
นอกจากนี้ ไวส์ฯ ได้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการเจาะสำรวจสภาพพื้นดินในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่ได้รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2542 ถึงปี 2549 มาสรุปเป็นแผนที่ Contour ของชั้นดินดาน ( ชั้นดินแข็งที่เป็นชั้นทรายแน่น ) กำหนดขึ้นเป็นแผนที่เขตพื้นที่ควบคุมความยาวเสาเข็มพบว่าพื้นที่กว่า 60% ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นพื้นที่ ๆชั้นดินดานอยู่ในระดับความลึกมากกว่า 21 เมตร ไวส์ฯ จึงได้กำหนดพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ ๆ ใช้เสาเข็มยาวขึ้นอีก 2 เมตร จาก 21 เมตรเป็น 23 เมตร โดยการเพิ่มความยาวของเข็มใหม่นี้ จะเป็นการช่วยป้องกันการทรุดตัวของบ้านอันเกิดจากการทรุดตัวของดินได้มากขึ้น |