ไทยเฟคซ์ – เวิลด์ ออฟ ฟู้ด เอเชีย (WOFA) ซึ่งเป็นงานแสดงอาหารและงานบริการนานาชาติที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมด้านนี้ ตลอดจนเป็นงานสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ได้ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับงานที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 25 – 29 พฤษภาคมนี้ ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค
งานดังกล่าว ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งตลอดช่วง 12 ปีที่มีการจัดมา กลายเป็นเวทีสำคัญสำหรับผู้นำเข้าและส่งออกอาหาร ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ได้ติดต่อกับผู้ประกอบการจากเอเชียและทั่วโลก โดยภายในงานจะมีการนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยี และเทรนด์ใหม่ล่าสุดในวงการอาหารด้วย
ทั้งนี้ งานแถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาในกรุงเทพฯ จัดขึ้นโดยตัวแทนจากบริษัทผู้จัดงาน คือ โคลน์เมซซ์ ร่วมกับพันธมิตรอย่าง กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และหอการค้าไทย ซึ่งทั้งหมดได้ยืนยันว่างานปีนี้จะใช้พื้นที่กว้างขวางที่สุดเป็นประวัติการณ์ คือราว 80,000 ตารางเมตร ในศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ที่ใช้ 70,000 ตารางเมตร ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เข้าร่วมจัดแสดงในงานยังประกอบด้วย บริษัทห้างร้านกว่า 1,800 ราย จาก 30 ประเทศทั่วโลก
ขณะที่ ผู้จัดงานคาดการณ์ว่า จำนวนผู้ค้าที่เข้าร่วมงานจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8 ในปีนี้ ซึ่งจะอยู่ที่ราว 38,000 ราย ผู้จัดแสดงจากต่างประเทศก็น่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 มาอยู่ที่ 900 ราย ทั้งจากจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตุรกี และชาติยุโรปอื่น ๆ เช่น อิตาลีและเยอรมนี เป็นต้น ส่วนผู้จัดแสดงที่เพิ่งเข้าร่วมงานปีนี้เป็นปีแรกก็ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ชิลี อินเดีย อินโดนีเซีย นอร์เวย์ และยูเครน
ความสนใจจากบริษัทต่างชาติจำนวนมาเช่นนี้นำไปสู่การขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 10,000 ตารางเมตร จากปีที่แล้ว ซึ่งจะดึงดูดทั้งผู้จัดแสดงและผู้ค้า เช่น ผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง ตลอดจนผู้ค้าปลีกและผู้จัดจำหน่ายจากทั่วโลกได้เพิ่มมากขึ้นด้วย
ไฮไลต์ของงานไทยเฟคซ์ – เวิลด์ ออฟ ฟู้ด เอเชีย 2016
- งานสุดยอดเชฟไทยแห่งปี (TUCC) ครั้งที่ 5 ซึ่งจะมีผู้เข้าร่วมแข่งขันกว่า 1,000 คน จาก 10 ประเทศ นับเป็นงานแข่งขันทำอาหารที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในเอเชีย โดยในปีนี้จะเพิ่มการแข่งขันในสาขา “เบเกอรีและขนมอบ” ด้วย
- งานเซเลบริตี้ คอฟฟี่ บาร์ (CCB) ครั้งที่ 2 จะมีแชมป์บาริสต้าโลกปี 2557 จากญี่ปุ่นอย่าง ฮิเดโนริ อิซากิ เข้าร่วมด้วย พร้อมกับบาริสต้าที่ได้รับรางวัลอีก 10 คน ที่จะมาร่วมโชว์ฝีมือ
- การเปิดตัว “อาร์ติซาน คาเฟ่” ร้านกาแฟชั่วคราวโดยตำนานผู้ผลิตเอสเพรสโซ่ “ลา มาร์ซอคโค”
- การประชุมความปลอดภัยอาหารโลก ที่จะมานำเสนอผลวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านอาหาร
- ประเด็นน่าจับตาที่จะมีการพูดถึงในงานไทยเฟคซ์รวมถึง เทรนด์ผู้บริโภค 10 ประการ การประชุมแฟรนไชส์อาหารในเอเชีย และซูเปอร์มาเก็ตปลอดสารพิษ จากบริษัทอินโนวา มาร์เก็ต อินไซต์ ซึ่งจาก 11 ประเด็นที่จะเน้นย้ำนั้น จะมีการพูดถึงอาหารฮาลาล อาหารโคเชอร์ และอาหารวีแกนด้วย
ยุคใหม่ของเทคโนโลยีและความยั่งยืนด้านอาหารของไทย
ปาฐกถา โดย นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ประเทศไทย
- รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตและโครงสร้างราคาของสินค้าเกษตร การสร้างสรรค์ตลาดที่เป็นมิตรกับธุรกิจ พร้อมทั้งต้องมีบรรยากาศที่น่าลงทุนด้วย
- กระทรวงพาณิชย์ทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อปฏิรูปและปรับปรุง
- การหาตลาดใหม่ ลดทอนและขัดอุปสรรคในการทำการค้า เตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พัฒนาการค้าข้ามพรมแดนด้วยการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เลิกใช้ข้อกำหนด/ข้อจำกัดทางการค้า และลดขั้นตอนการทำธุรกิจ การค้า และการลงทุนลงจากเดิม
- พัฒนาให้ไทยกลายเป็น “ครัวโลก” เข้าใจถึงมาตรฐานความสะอาดของสินค้าประเภทอาหาร มาตรฐานสินค้าต้องทั้งปลอดภัยและเข้มงวด โดยต้องตรวจสอบได้ในทุกกระบวนการผลิต
- ส่งเสริมให้มีการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพดีขึ้น และมีมาตรฐานสูงขึ้นกว่าเดิม
- อุตสาหกรรมอาหารไทยกำลังได้รับความสนใจจากตลาดโลกในด้านนวัตกรรมและมาตรฐานการผลิต
- มุ่งเป้าด้านการบริหารและการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืนในระดับที่นานาชาติยอมรับ
อุตสาหกรรมอาหารไทย: ข้อเท็จจริง
อุตสาหกรรมอาหารของไทยสร้างรายได้ 24,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว และทำให้ประเทศกลายเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการส่งออกข้าว ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งแช่แข็งและแปรรูป และเครื่องปรุงรส ของโลก
จุดแข็งของอุตสาหกรรม: มีวัตถุดิบหลากหลาย มีเอกลักษณ์ มีรสชาติเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ มีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยสำหรับการผลิตอาหารถูกสุขลักษณะตามมาตรฐาน มีศักยภาพในการแข่งขัน
หอการค้าไทยคาดการณ์ว่าการค้าจะขยายตัวครั้งใหญ่
ปาฐกถา โดย นายกลินท์ สารสิน รองประธานหอการค้าไทย
- มูลค่าประเมิน (มูลค่าคาดหมาย) ของการค้าน่าจะถึง 9,000 ล้านบาท
- การขยายตัวของจำนวนผู้จัดแสดงสินค้าส่งออกไทยน่าพึงพอใจ
- ปี 2547 มีผู้จัดแสดงจำนวน 496 ราย (ในงาน ไทยเฟคซ์ – เวิลด์ ออฟ ฟู้ด เอเชีย ครั้งที่ 1)
- ปี 2559 มีผู้ประกอบการในประเทศแจ้งความจำนงจัดแสดงจำนวน 900 ราย
- เติบโตจากปี 2558 ร้อยละ 4 – มีบริษัทใหม่ในประเทศ 36 แห่ง เข้าร่วมงานในปี 2559
- ได้รับความร่วมมือในประเทศ (ส่วนท้องถิ่น) อย่างเข้มแข็ง ในส่วนที่เป็นสินค้าผักผลไม้ ของหวานและขนมขบเคี้ยว อาหารชั้นดี เครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ และอาหารพร้อมรับประทาน
- คาดการณ์ผู้ค้า 38,000 ราย เข้าร่วมงานในปีนี้ ตลอดช่วงสามวันที่เปิดให้ทำธุรกิจ (เติบโตร้อยละ 8 จากปี 2558) และมีผู้เข้าชมงาน 112,000 คน ในสองวันที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าร่วม (เติบโตจากปี 2558 ร้อยละ 14)
แผนงานใหม่สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร โดย หอการค้าไทย
- มาตรฐาน ThaiGAP มาตรฐานที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร เป็นมาตรฐานรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของผักและผลไม้ โดยสามารถตรวจสอบด้วยคิวอาร์โค้ดกลับไปยังสถานที่ปลูกและเกษตรกรผู้ปลูกได้
- “ศูนย์เอสเอ็มอีไทย” บริการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ประกอบการสตาร์ตอัป โครงการพัฒนาเอสเอ็มอี แผนการตลาดและสร้างมูลค่า สนับสนุนการขยายกิจการสู่อาเซียน สร้างจุดนัดพบและเครือข่ายเอสเอ็มอี ตลอดจนช่วยแนะแนวและบ่มเพาะให้เกิดความเชี่ยวชาญ
- แสวงหาโอกาสทำตลาดในการจัดแสดงงานในจังหวัดและประเทศต่าง ๆ
ไทยเฟคซ์เป็นช่องทางการค้าของไทยสู่การเป็นผู้ส่งออกอาหารโลก
ปาฐกถา โดย นายสุพพัต อ่องแสงคุณ รองอธิบดีกกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
- ประเทศไทย: ครัวโลกที่เต็มไปด้วยสินค้าประเภทอาหารรสชาติดีที่มีความหลากหลาย
- ซุ้มของโครงการ “ไทยซีเล็ค” ช่วยทำให้สินค้าอาหารชั้นดีของไทยและร้านอาหารไทยเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ ตลอดจนช่วยโปรโมทการสาธิตการทำอาหารโดยเชฟชื่อดังของไทยด้วย
- ซุ้มจัดแสดงสินค้าอาหารกว่า 60 ซุ้ม มีขึ้นเพื่อผู้บริโภคสูงวัยโดยเฉพาะ เต็มไปด้วยสินค้าชะลอวัยและอาหารเพื่อสุขภาพ
- ซุ้ม “บ้านอาหารเสริม” ช่วยโปรโมทอาหารเสริมสมุนไพรไทย ในรูปเครื่องดื่มสำเร็จรูป และอาหารเสริมแบบเม็ดที่ได้รับการรับรองโดยผลวิจัย รวมถึง กวาวเครือขาว กระชายดำ และขมิ้น
- ร้าน I+D Style Café และโครงการตราสัญลักษณ์คุณภาพไทยแลนด์ (TTM) ร่วมกับรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น จัดแสดงสินค้าและนวัตกรรมด้านอาหาร แผนอนุรักษ์มรัพยากรธรรมชาติ และผู้ส่งออกไทยที่ได้รับตราสัญลักษณ์คุณภาพไทยแลนด์ (TTM) และรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น
- การจัดแสดงสินค้าฮาลาลของไทย: ผู้ผลิตอาหารฮาลาลที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลกมาร่วมกันโปรโมทสินค้าฮาลาลที่มีคุณภาพพร้อมส่งออก ยึดมั่นตามหลักศาสนาและมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
เยอรมนีได้รับเกียรติเป็นประเทศคู่ค้า
ปาฐกถา โดย นาย อักเซล วิลด์เนอร์ อุปทูต/ที่ปรึกษาด้านการอาหารและเกษตรกรรม สถานทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย
- เยอรมนีเป็นผู้ส่งออกอาหารและเครื่องดื่มมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกมากกว่า 65,000 ล้านยูโร โดยสินค้าส่งออกหลัก ได้แก่ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ของหวานและเบเกอรี เบียร์และอาหารประจำชาติชนิดอื่น ๆ
- อุตสาหกรรมอาหารของเยอรมนีมีบริษัทผู้ผลิตราว 6,000 แห่ง มีพนักงานรวมทั้งสิ้นราว 550,000 คน และมีมูลค่าเงินปันผลรายปีสูงถึง 175,000 ล้านยูโร โดยส่วนมากเป็นเอสเอ็มอี จำนวนมากเป็นกิจการภายในครอบครัว ส่วนหนึ่งประกอบกิจการมาแล้วกว่า 100 หรือ 200 ปี
- เยอรมนีถือเป็นประเทศคู่ค้าอย่างเป็นทางการของไทยเฟคซ์ – เวิลด์ ออฟ ฟู้ด เอเชีย 2559 รายที่ 4
- ซุ้มประจำชาติของเยอรมนีมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อปีที่แล้ว 3 เท่า รวมใช้พื้นที่ 360 ตารางเมตร
- กระทรวงการอาหารและเกษตรกรรมของเยอรมนีจัดแสดงสินค้าใหม่และสินค้านวัตกรรม เน้นย้ำเครื่องหมายการค้าที่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง “เมด อิน เยอรมนี”
- เยอรมนีขึ้นชื่อในเรื่องนวัตกรรมการผลิตสินค้า มาตรฐานรับรองคุณภาพสูง ความน่าเชื่อถือ ประสบการณ์ในการผสมผสานธรรมเนียมเดิม ๆ เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานไทยเฟคซ์ – เวิลด์ ออฟ ฟู้ด เอเชีย กรุณาเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.worldoffoodasia.com