ตามที่ สสว.ดำเนินการเปิดตัวโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ธนาคารเอสเอ็มอี และภาคีเอกชน เร่งช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) กลุ่ม Turn Around 10,000 กิจการ ไปแล้วนั่นได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการเป็นอย่าง โดยเมื่อศุกร์ที่ผ่านมาทางทีมงานได้เดินทางสัญจรยังจังหวัดชลบุรี ปลุงพลัง SMEs ภาคตะวันออก ในการจัดงานสัมมนา “ปลุกพลัง SMEs พลิกวิกฤต สร้างโอกาสสู่ความสำเร็จ” ภายใต้โครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs ณ ห้องแปซิฟิค 1-2 โรงแรม เดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน จังหวัดชลบุรี
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ตามที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมหาวิทยาลัยนำองค์ความรู้ที่ช่วยพัฒนาและส่งเสริม 1. โครงการการสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Start-Up) ผู้ประกอบการใหม่ ผู้เริ่มกิจการ ร่วมไปถึงศิษย์เก่า และนักศึกษาปัจจุบัน มทร.ธัญบุรี จำนวน 1,200 ราย โดยให้การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ แผนธุรกิจเชิงลึก บ่มเพาะให้คำปรึกษา 2. SMEs Turn Around กลุ่มที่ได้ดำเนินกิจการอยู่แล้วและประสบปัญหา จำนวน 10,000 ราย โดยให้ความรู้ผู้ประกอบการ ให้คำปรึกษากับสถานประกอบการ นอกจากนั้นทางมหาวิทยาลัยยังมีโครงการที่จะการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ จากวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นการยกระดับและสถานะความสามารถในการแข่งขัน มหาวิทยาลัยจะมีส่วนเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ หาช่องทางการจัดจำหน่าย ยกระดับสินค้า ให้สามารถจำหน่ายในช่องที่มีกำลังซื้อสูง ในขณะนี้ทางมหาวิทยาลัย ได้เปิดห้องปฏิบัติการ ใช้เป็นศูนย์ทดสอบเทียบมาตรฐาน จัดทำมาตรฐานการรับรองอาชีพ ทำการตลาดออนไลน์ ช่องทางในการจำหน่าย ให้สำหรับผู้ประกอบ เนื่องจากทางผู้ประกอบการใหม่อาจไม่มีองค์ความรู้ทางด้านสารสนเทศ จัดตั้ง Excellent Center ศูนย์บริการ SMEs ไว้ที่คณะบริหารธุรกิจเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งวิชาการและงานวิจัย
นางนงนุช แก้วสุริยา ประธานกรรมการ และ ประธานวิสาหกิจชุมชน บริษัท นุชชา ไทยเมล่อน จำกัด อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เล่าว่า บริษัท นุชชา ไทยเมล่อน จำกัด ผลิตแตงโมงกว่า 13 สายพันธ์ และพืชผักปลอดสาร ส่งออกทั้งในและนอกประเทศ รับรองมาตรฐาน GAP และผู้ผลิตแตงโมญาญ่า สายพันธ์ที่ได้รับการพัฒนา ได้รับความนิยมและรู้จักไปทั่วโลก สนใจเข้าร่วมโครงการนี้ ต้องการที่ปรึกษาในการทำแผนการตลาด ในการบริหารจัดการสินค้า แผนในการรองรับการผลิตแตงโม นอกจากนี้ยังต้องการที่ปรึกษาทางด้านการบัญชี โดยวันนี้ได้เข้ารับคำปรึกษาจากอาจารย์คณะบริหารธุรกิจ เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจ และต่อยอดสินค้า ร่วมไปถึงในการทำการตลาด ต้องใช้เงินทุน ซึ่งในการค้าขายกับห้าง ต้องมีเงินหมุนเวียน โดยโครงการนี้เป็นโครงการที่ตอบโจทย์ได้ดีมาก
นางจินตนา พุ่มอรุณ เจ้าของร้านลี้เซี้ยงฮวด ครกหินอ่างศิลา เล่าว่า เมื่อทราบว่ามีโครงการนี้ สนใจมาก เพราะว่าอยากได้องค์ความรู้ใหม่ๆ มาพัฒนาระบบงานภายในร้าน โดยสินค้าที่ร้านส่งในประเทศและต่างประเทศ อยากได้องค์ความรู้ในการจดทะเบียน แผนการตลาด ร่วมไปถึงการทำบัญชี จึงสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ และที่สำคัญอยากพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้า ให้มีความน่าสนใจ โดยอาจารย์ทีมเหล่าที่ปรึกษามาจากหลากหลายสาขาวิชา ของมหาวิทยาลัย
ทางด้าน คุณพชรพล จิรัญญกุล เจ้าของบริษัท แอล.เจ.อาร์.อินดัสตรีจำกัด ผลิตโคมไฟ ตู้สวิทช์บอร์ด LEODENKI (ในประเทศไทย) เล่าว่า ถือเป็นโอกาสที่ดีและคุ้มค่าที่ได้เข้าร่วมโครงการในวันนี้ ซึ่งเรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เมื่อได้รับคำปรึกษาสามารถนำไปใช้ได้เลย “การสำรวจตลาด” หลังจากที่ผู้บริโภคได้ใช้สินค้าของทางบริษัท คำปรึกษา สำหรับความคาดหวังในการเข้าร่วมโครงการ อยากขยายตลาดให้กับสินค้า ต่อยอดผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันธุรกิจมีคู่แข็งเยอะ เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือร่วมไปถึงตลาดจากเมืองนอกเข้ามาตีตลาด
สำหรับโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs เพื่อดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ในการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาเชิงลึก กับผู้ประกอบการทั่วประเทศ สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการ ได้ตามพื้นที่ดังต่อไปนี้ วันที่ 22 มีนาคม 2559 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 29 มีนาคม 2559 ณ โรงแรมลีการ์เด้นท์ พลาซ่า หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ชลธิชา ศรีอุบล กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี 02-549-4994