กระทรวงแรงงาน ตอบกระแสพิษบาทแข็ง ระดมทุกภาคส่วนร่วมวางแผนรับมือ จัดเตรียมกำลังคน หลังภาคอุตสาหกรรมร้องขาดแคลนแรงงาน เร่งเชื่อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สร้างฐานข้อมูลตลาดแรงงาน
กระทรวงแรงงาน ตอบกระแสพิษบาทแข็ง ระดมทุกภาคส่วนร่วมวางแผนรับมือ จัดเตรียมกำลังคน หลังภาคอุตสาหกรรมร้องขาดแคลนแรงงาน เร่งเชื่อมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สร้างฐานข้อมูลตลาดแรงงาน ให้ทราบความต้องการของนายจ้างโดยตรง |
. |
( 27 กรกฎาคม 2550 ) เวลา 13.30 น. นายพรชัย อยู่ประยงค์ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานประชุมคณะทำงานเพื่อแก้ไขการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน |
. |
นายพรชัย เปิดเผยว่า จากการที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เสนอข้อมูลจำนวนความต้องการแรงงานของสมาชิกสภาอุตสาหกรรมฯ ซึ่งมีการสำรวจข้อมูล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาพบว่า มีสถานประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานจำนวน 24 จังหวัด 127 แห่ง จากจำนวนกลุ่มอุตสาหกรรม 21 กลุ่มอุตสาหกรรม รวม 12,441 อัตรา ซึ่งกระทรวงแรงงาน โดย สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ได้ดำเนินการช่วยเหลือแล้วส่วนหนึ่ง สำหรับส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการคัดเลือกเพื่อบรรจุงานของสถานประกอบการ |
. |
สำหรับกระทรวงแรงงานได้เร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิประสานสำนักงานจัดหางานจังหวัด นำข้อมูลผู้สมัครงานตามตำแหน่งงานว่างให้สถานประกอบการพิจารณาคัดเลือกเพื่อบรรจุงาน ให้ข้อมูลผู้จบฝึกเตรียมเข้าทำงานและผู้จบฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน จัดประชุมร่วมกับนายจ้างเพื่อให้ทราบความต้องการที่แท้จริง รวมทั้งประสานสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานและร่วมทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยกระทรวงแรงงานได้จัดทำเว็บไซต์ www.doe.go.th ผู้ที่จบการศึกษา และสนใจอยากเปลี่ยนงาน สามารถเข้าชมได้ทุกเวลา นายพรชัย กล่าวในที่สุด |
. |
ทั้งนี้ จากการรวบรวมประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลการศึกษาความต้องการแรงงาน 21 กลุ่มอุตสาหกรรม จำแนกประเภทระดับฝีมือ ดังนี้ ประเภทแรงงานฝีมือกลุ่มวิศวกร พบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกมีความต้องการวิศวกรมากที่สุด 100% ประเภทแรงงานกึ่งฝีมือ กลุ่มพนักงานด้านช่าง เช่นช่างซ่อมบำรุง ช่างเทคนิค ช่างควบคุม/ติดตั้งเครื่องจักร ช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า พบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์กระดาษมีความต้องการพนักงานด้านช่างมากที่สุด 67.7 % ประเภทแรงงานไร้ฝีมือ เป็นพนักงานทั่วไปไม่ระบุวุฒิการศึกษาหรือพนักงานผลิตบรรจุภัณฑ์ ตัดเย็บเสื้อผ้า แม่บ้าน เป็นต้น พบว่าส่วนใหญ่ต้องการแรงงานระดับไร้ฝีมืออยู่ระหว่าง80 -100% เช่นกล่มอุตสาหกรรมการจัดการของเสีย ไม้ อาหาร ยาง ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ แกรนิตและหินอ่อน ซึ่งสรุปผลการศึกษาพบว่าใน 21 กลุ่มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องการแรงงาน ไร้ฝีมือมากที่สุด |