องค์กร ISO ได้ประกาศแนวทางล่าสุดด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีการติดตั้งระบบหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานคู่กับมนุษย์ได้ ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการร่างข้อมูลจำเพาะของมาตรฐาน ISO/TS 15066 และต้องการเห็นมาตรฐานฉบับนี้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการทำงานในอนาคตในแวดวงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
วันนี้องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน หรือ ISO ได้ประกาศให้มาตรฐาน ISO/TS 15066 ที่รอคอยกันมาแสนนานให้เป็นเอกสารประกอบในการรองรับมาตรฐาน ISO 10218 ‘Safety Requirements for Industrial Robots’ ซึ่งมาตรฐาน ISO/TS 15066 นี้เป็นเอกสารที่มีรายละเอียดครบถ้วนสำหรับเป็นแนวทางให้แก่ผู้รวบรวมโรโบติกเซลล์ (robotic cells) ต่างๆ ให้สามารถดำเนินการประเมินความเสี่ยง (risk assessments) เมื่อต้องติดตั้งหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ (collaborative robots) ได้
นายลาสซี คีย์เฟอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่าย Global Compliance บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในคณะกรรมการมาตรฐาน ISO ผู้พัฒนามาตรฐาน ISO/TS 15066 กล่าวว่า:
“เมื่อปี 2011 ที่ได้มีประกาศมาตรฐาน ISO 10218 ฉบับปรับปรุงออกมานั้น ยังมุ่งเน้นที่หุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม ส่วนหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ (collaborative robots) ได้นั้นยังเป็นเพียงเทคโนโลยีใหม่ และยังไม่ได้รับความสนใจในรายละเอียดเท่าใดนัก เราจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งต่อแวดวงอุตสาหกรรมสำหรับการออกประกาศมาตรฐาน ISO/TS 15066 นี้ ด้วยมีการประกาศเพิ่มเติมในส่วนรายละเอียดจำเพาะต่างๆ ซึ่งเป็นการนำทิศทางการติดตั้งหุ่นยนต์ประเภทนี้ (cobots) ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยร่วมกับมนุษย์ได้ดี”
มาตรฐาน ISO/TS 15066 อธิบายแนวคิดการปฏิบัติงานร่วมกันในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งรายละเอียดข้อกำหนดเพื่อให้บรรลุความสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะมีข้อกำหนดด้านการออกแบบและการประเมินความเสี่ยงแล้ว ยังได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเจ็บปวดทางร่างกาย เปรียบเทียบกับความเร็วของหุ่นยนต์ แรงกดและแรงกระแทกสำหรับอวัยวะบางส่วนในร่างกาย อีกด้วย
“ในฐานะที่เป็นผู้นำด้านการผลิตหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ หุ่นยนต์ของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์มีฟังก์ชั่นการทำงานที่โดดเด่นด้านความปลอดภัยและยังปรับได้เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางเหล่านี้ มาตรฐาน ISO/TS 15066 เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงฉันทามติ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติในการตัดสินใจร่วมกันในหมู่ประเทศสมาชิกเรื่องเทคโนโลยีอุบัติใหม่ เราสนองตอบความจำเป็นของการปฏิบัติงานที่ต้องเน้นย้ำด้านความปลอดภัยของหุ่นยนต์ เรามีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าหลายชิ้นเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์-หุ่นยนต์ รวมไปถึงวิธีการที่จะกำหนดแนวทางที่เหมาะสมเพื่อการปฏิบัติงานที่ด้วยอนาคตที่สดใสของหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ได้ เราสนใจที่จะติดตามดูวิวัฒนาการและทำงานคู่ไปพร้อมกันเลยทีเดียว" เอสเบน ออสเตอการ์ด หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ กล่าว
ระบบความปลอดภัยของยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วนั้นมีฟังก์ชั่นเด่นด้านความปลอดภัยที่สามารถปรับได้อยู่ถึงแปดรายการด้วยกัน ดังนี้; ตำแหน่งเชื่อมและความเร็ว (Joint positions and speeds) ตำแหน่ง TCP การวางแนวเครื่องมือ ความเร็วและกำลัง รวมทั้งแรงผลักและสมรรถนะของหุ่นยนต์