เนื้อหาวันที่ : 2016-01-19 12:22:32 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 580 views

มาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์ไทย รองรับตลาดโลก

จากปัญหาไข้หวัดนกในปี 2547 ทั่วโลกต่างยกเลิกการนำเข้าไก่สดแช่แข็งของไทย จนกระทั่งปลายปี 2556 ญี่ปุ่นได้มีการนำเข้าอีกครั้ง หลังจากนั้นประเทศจีน ไต้หวัน สิงคโปร์ และกลุ่มแอฟริกาใต้ จึงมีการนำเข้าตามมาเป็นระลอก ซึ่งก็เป็นไปตามหลักของเศรษฐศาสตร์และธรรมชาติ ที่เมื่อมีประเทศที่มุ่งเน้นมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยสูง อนุญาตให้นำเข้าไก่สดแช่ได้ ประเทศที่ต้องการความปลอดภัยเหมือนกัน แต่อาจจะมีศักยภาพในการประเมินต่ำกว่า เพราะฉะนั้นญี่ปุ่นซื้อได้ เขาก็ต้องซื้อได้ด้วยเช่นกัน

และอีกหนึ่งโอกาสทางการค้าที่ตกมายังประเทศไทยและอีกหลายประเทศทางฝั่งเอเชียไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย และกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะจีนนั้นค่อนข้างที่จะชัดเจน จากการร่วมมือกันแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างสินค้าต่างๆ กับก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย  สำหรับประเทศไทยนั้นรัสเซียก็ให้ความสนใจในเรื่องของภาคปศุสัตว์และประมงทั้งเนื้อวัว หมู ไก่ กุ้ง ฯลฯ โดยมีเจ้าหน้าที่ได้เข้ามาสำรวจตรวจสอบมาตรฐานตามฟาร์มต่างๆ ของไทยแล้ว รอแต่เพียงการอนุมัติข้อตกลงก็จะส่งออกได้ทันที เนื่องมาจากสาเหตุที่รัสเซียถูกคว่ำบาตรจากอียูและอเมริกา กรณีเข้าไปชักใยไกล่เกลี่ยประชาชนในแคว้นไครเมีย ที่ก่อนหน้าขึ้นกับประเทศยูเครน ดังนั้นก็เป็นธรรมดาที่อภิมหาอำนาจทางฝั่งตะวันตกย่อมไม่พอใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

เมื่อมีโอกาสจึงต้องหันมามองถึงมาตรฐานของการเลี้ยงสัตว์ในบ้านเรา ซึ่งถ้าไม่ใช่ฟาร์มที่ใหญ่จริงๆ จะมีการบริหารจัดการก็ที่ยังไม่ได้มาตรฐาน เพราะฉะนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีเฉพาะสำหรับฟาร์มใหญ่ แต่ก็มีบางครั้งที่รับซื้อต่อจากฟาร์มเล็กอีกทอดหนึ่ง เพราะสินค้าที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอ ซึ่งหลายครั้งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิด โดยเฉพาะเรื่องคุณภาพสินค้า และสารปนเปื้อนตกค้างสะสม เนื่องจากเกษตรกรมักจะไม่ให้ความสำคัญในเรื่องความสะอาดในพื้นที่คอก พื้นบ่อ หรือโรงเรือน ทำให้เกิดการหมักหมมเน่าเสียของมูลสัตว์ และเศษอาหารที่ตกค้าง จนเกิดแก๊สที่รบกวนระบบต่างๆ ของสัตว์เลี้ยง ทั้งแก๊สแอมโมเนีย (NH4+) แก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ H2S) หรือแม้แต่แก๊สมีเทน (CH4) ที่ก่อให้เกิดอาการไอ จาม น้ำมูก น้ำตาไหล ระบบทางเดินหายใจเกิดอาการอักเสบ บวม พอง จนเครียด อ่อนแอเจ็บป่วย จนต้องเข้าปรึกษานักวิชาการประจำฟาร์ม ซึ่งมาจากบริษัทยาต่างๆ และท้ายสุดก็ได้คำแนะนำให้ใช้ยาในเชิงปฏิชีวนะ ซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุของสารพิษตกค้าง และสารต้องห้ามที่ปนเปื้อนอยู่ในตัวสัตว์ เมื่อไปถึงประเทศที่รับซื้อปลายทาง ก็จะถูกส่งกลับ หรือไม่ก็เผาทำลายทิ้งจนหมด เพราะสินค้าไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนด ในส่วนสินค้าที่ขายในประเทศก็ยังไม่มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีสารปนเปื้อนอยู่ ซึ่งมีโอกาสในการก่อโรคมะเร็งให้กับผู้บริโภคสูง

วันนี้จึงแนะนำผลิตภัณฑ์ หินแร่ภูเขาไฟ ซีโอฟาร์ม (ZEO FARM) ซึ่งก่อกำเนิดเกิดขึ้นจากหินหนืด (แมกมา) ใต้เปลือกโลกที่ลึกลงไปใกล้แกนโลกถึง 50 – 60 กิโลเมตร ถูกแรงอัดและแรงต้านมหาศาลในสัดส่วนที่เท่ากัน เมื่อเกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทไปยังส่วนของเปลือกโลกที่บางเบากว่า อย่างใต้ท้องมหาสมุทรในส่วนที่ลึกที่สุด หรือจุดที่เป็นรอยต่อของแผ่นทวีป เกิดการระเบิดเป็นภูเขาไฟทำให้หินหนืด (แมกมา) กลายเป็น ลาวา (Lava) มาสู่ชั้นบรรยากาศเหนือพื้นโลกที่มีความบางเบากว่าใต้ผืนโลก จึงทำให้ก๊าซไอน้ำระเหิดระเหยออกไปจากลาวาอย่างรวดเร็ว และเกิดรูพรุนมหาศาลเมื่อเย็นตัวลง หินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้เมื่อผ่านอายุอยู่ในธรรมชาติเป็นระยะเวลาหลายสิบหลายร้อยล้านปี จะก่อกำเนิดแร่ในรูปแบบชนิดต่างๆ อีกเยอะแยะมากมาย ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ในกลุ่มของ ซีโอไลท์ (Zeolite) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป

รูพรุนมหาศาลที่กล่าวถึง ทำหน้าที่ช่วยจับกลิ่นเหม็น แก๊สของเสียที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งนักวิชาการจะเรียกว่า ค่าความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุบวก (Catch Ion Exchange Capacity) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ซี.อี.ซี. (C.E.C.) โดยใช้ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ก็ช่วยทำให้ ไก่ แกะ แพะ สุกร โค และกระบือ มีความสุขกายสบายใจ ไม่เครียด ไม่อ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่ายๆ และทำให้สัตว์โตเร็ว สุขภาพดี นำมาซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการใช้สารปฏิชีวนะที่ก่อให้เกิดสารตกค้างอีกด้วย

สนับสนุนบทความโดย นายมนตรี บุญจรัส
กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)

สอบถามข้อมูลข่าวได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2000 8499 , 081 732 7889