องค์กรขนาดใหญ่ที่ยังไม่มีความพร้อมอย่างเต็มที่กับแนวคิดริเริ่มเกี่ยวกับระบบการใช้งานของ "การใช้งานไอทีของผู้ใช้” (End-User Computing) โดยกำลังประเมินความคิดเห็นมากกว่าการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ นั่นเป็นเพราะพวกเขายังไม่แน่ใจในวิธีการนำเอาแนวคิดด้านระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์มาใช้เป็นกลยุทธ์หลัก รวมถึงวิธีการจัดการกับจำนวนอุปกรณ์ที่เพิ่มมากขึ้นและความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องของอุปกรณ์ดังกล่าว
ขณะเดียวกันองค์กรทั่วโลกก็กำลังพิจารณาแนวทางที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางเพิ่มมากขึ้นด้วยการนำแนวคิดด้านโมบิลิตี้เข้ามาปรับใช้ในองค์กรของตน
นับว่าเป็นข้อความสำคัญของรายงาน 2015 โมบาย เวิร์กฟอร์ซ (2015 Mobile Workforce Report) ที่เผยแพร่โดยบริษัท ไดเมนชั่น ดาต้า ซึ่งได้สำรวจองค์กร 730 แห่งที่มีพนักงาน 1,000 คนหรือมากกว่าใน 5 ภูมิภาค 11 ประเทศครอบคลุม 14 อุตสาหกรรม โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ ที่บรรดาประธานเจ้าหน้าที่ฝายสารสนเทศ (ซีไอโอ) กำลังเผชิญอยู่เมื่อต้องรับแนวทางที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลยุทธ์และพฤติกรรมที่มีผลต่อระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์ด้วย
จากการสำรวจองค์กรพบว่า 44% ได้รวมเอาแนวคิดด้านโมบิลิตี้ขององค์กรเข้ากับกลยุทธ์ด้านระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์ให้มีความครอบคลุมยิ่งขึ้น และได้จัดสรรงบประมาณสำหรับระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์ในอุปกรณ์ที่หลากหลาย ขณะที่ 13% ยังไม่มีกลยุทธ์ด้านระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์เกิดขึ้นในองค์กร
โดยเฉลี่ยแล้ว ส่วนระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์ จะอยู่ที่ 28% ของงบประมาณด้านไอที และงานวิจัยชิ้นนี้ได้แสดงให้เห็นว่าเกือบสองในสาม (61%) ของผู้เข้าร่วมการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าพวกเขามองเห็นผลตอบแทนการลงทุน (ROI) จากแนวคิดริเริ่มด้านระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์ ขณะที่อีก 65% มองเห็นข้อได้เปรียบการแข่งขันจากการเดินหน้าเข้าสู่แนวทางการระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์
นายเนวิลล์ เบอร์ดัน ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์ บริษัท ไดเมนชั่น ดาต้า เอเชียแปซิก กล่าวว่า "พื้นที่ทำงานทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับสถานที่และวิธีการทำงานของผู้คน รวมทั้งการดำเนินธุรกิจของพวกเขาด้วย เรากำลังจะได้เห็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นขององค์กรซึ่งเริ่มรับเอารูปแบบการทำงานในอนาคตมาใช้ เช่น เวลาที่ยืดหยุ่นและความสามารถในการทำงานจากระยะไกล รวมถึงการเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรด้วย"
¹บริษัท ไดเมนชั่น ดาต้า เชื่อว่าแนวทางด้านโมบิลิตี้ขององค์กรเป็นแนวคิดของ Connected Intelligence นั่นก็คือการออนไลน์ตลอดเวลา การเชื่อมต่อตลอดเวลา ความพร้อมใช้งานของทรัพยากร บุคคล และสารสนเทศที่เป็นอย่างราบรื่น
นายเบอร์ดันชี้ให้เห็นว่าการให้สิทธิ์ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศผ่านทางพอร์ทัลของบริษัทเป็นการส่งสัญญาณว่ากำลังเกิดขั้นตอนที่เหมาะสมในการผลักดันตลาดให้เติบโตแล้ว "สิ่งนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเตรียมการรับมือพื้นที่ทำงานในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ทำงานสำหรับอนาคต"
พื้นที่ทำงานสำหรับอนาคตเป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ทำงานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลในการเลือกประเภทของสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสมกับประเภทกิจกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมกันที่ทันสมัยภายในพื้นที่ทำงานรูปแบบใหม่และแนวคิดด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น
เนื้อหาสำคัญอื่นๆ ในรายงาน 2015 โมบาย เวิร์คฟอร์ซ ได้แก่:
ขณะเดียวกันแม้ว่าพนักงานที่ทันสมัยจะคาดหวังความสามารถในการเชื่อมต่อกับทุกคนได้ทุกที่และทุกเวลา แต่ก็มีองค์กรมากถึง 82% ระบุว่าอุปสรรคสำคัญที่ต้องเผชิญเมื่อต้องปรับใช้แนวคิดริเริ่มด้านระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์ คือการปกป้องข้อมูลของบริษัทและการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีสำหรับผู้ใช้
"เห็นได้ชัดว่าจำนวนอุปกรณ์มือถือที่พนักงานเป็นเจ้าของมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนทำให้แผนกไอทีต้องเข้ามาบริหารจัดการและช่วยเหลือด้านการใช้งาน ทำให้ซีไอโอไม่สามาถรดำเนินการตอบโต้เชิงกลยุทธ์ได้อย่างเต็มที่ แต่กระนั้นนี่ก็ถือเป็นช่วงเวลาที่สดใสและน่าตื่นเต้นสำหรับแนวทางด้านระบบการใช้งานของเอ็นด์ ยูสเซอร์ เมื่อองค์กรพร้อมที่จะเดินหน้าอย่างจริงจังแล้ว" นายเบอร์ดัน กล่าวเพิ่มเติม
ทั้งนี้ รายงาน 2015 โมบาย เวิร์คฟอร์ซ ฉบับสมบูรณ์ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2558 ในช่วงกิจกรรมการถ่ายทอดสดซึ่งจัดโดยนายสก็อต บอลส์ผู้นำระดับโลกด้านตลาดสมัยใหม่หรือที่เรียกว่า “The Digital Shift & Mobility” โปรดเข้าไปที่เว็บไซต์ www.workspacesfortomorrow.com/mobility เพื่อลงทะเบียน
“บริษัท ไดเมนชั่น ดาต้า เชื่อว่าแนวทางด้านโมบิลิตี้ขององค์กรเป็นแนวคิดของ Connected Intelligence นั่นก็คือการออนไลน์ตลอดเวลา การเชื่อมต่อตลอดเวลา ความพร้อมใช้งานของทรัพยากร บุคคล และสารสนเทศที่เป็นอย่างราบรื่น”