โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ เปิดตัวสถาปัตยกรรมโครงข่ายสื่อสารไร้สาย ยุคที่ 5 (5G) ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เพื่อก้าวผ่านข้อจำกัดของเครือข่ายแบบเดิมที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันทีตามความต้องการ สถาปัตยกรรมแบบใหม่นี้สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและอัตโนมัติ ตามความต้องการบริการที่หลากหลาย, ตามปริมาณข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามเวลา สถานที่ และลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ในเครือข่าย ซึ่งรวมถึงเครือข่ายขนส่งข้อมูล โดยลูกค้าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อันเนื่องมาจากการปรับปรุงการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ซึ่งจะนำสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบกระบวนการทางธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างก้าวกระโดดไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต ไปจนถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ และการดูแลสุขภาพ โดยผู้ให้บริการสามารถนำเสนอฟังก์ชั่นการทำงานของเครือข่ายให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ภายใต้รูปแบบธุรกิจการให้บริการเครือข่ายเสมือน (Network-as-a-Service)
5G จะเป็นเทคโนโลยีที่มากกว่าระบบคลื่นวิทยุแบบใหม่
การสร้างระบบแบบใหม่ที่โดดเด่นเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคตและการใช้งานแบบเฉพาะราย ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของทางเลือก หากแต่โอกาสที่แท้จริงคือการพัฒนา 5G ให้เป็นระบบเหนือระบบ สามารถตอบทุกโจทย์ความต้องการ และจัดหาบริการแบบไร้รอยต่อจากมุมมองของผู้ใช้งานสถาปัตยกรรมของโนเกียใช้แนวทางการพัฒนา “ระบบเหนือระบบ” เพื่อบูรณาการและสร้างความสอดคล้องของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายที่มีความแตกต่างและเป็นอิสระต่อกัน เพื่อความสำเร็จในการเพิ่มความสามารถของเครือข่ายและเพิ่มคุณสมบัติในการทำงานให้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเครือข่ายในปัจจุบัน โดยแทบทุกฟังก์ชั่นการทำงานของเครือข่ายจะถูกกำหนดด้วยซอฟต์แวร์ ทั้งนี้เทคโนโลยีที่ชาญฉลาด (cognitive technologies) นี้จะควบคุมและส่งเสริมการทำงานของเครือข่ายโดยอัตโนมัติ ขณะเดียวกันก็สามารถส่งเนื้อหาและกระจายการประมวลผลให้ครอบคลุมทั้งเครือข่าย โดยจะคำนึงถึงจุดที่ผู้ใช้งานมีความต้องการมากที่สุด แม้ว่าปัจจุบันยังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานของเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย 5G ไว้อย่างชัดเจนก็ตาม แต่แนวคิดแบบองค์รวมข้างต้นก็ให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มสถาปัตยกรรม 5G ในอนาคต ทั้งนี้องค์ประกอบหลายองค์ประกอบที่กล่าวข้างต้นได้มีการพัฒนาสำเร็จและใช้งานจริงแล้ว
การทำงานหลักๆ ของสถาปัตยกรรม
แนวคิดสถาปัตยกรรมโครงข่ายสื่อสารยุคใหม่ 5G
จากการพิสูจน์แนวคิดในหลายๆ ด้าน ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของสถาปัตยกรรมใหม่นี้ ดังนี้
นายโวลเกอร์ ไซเกลอร์ หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรม ของโนเกีย เน็ตเวิร์คส์ กล่าวว่า “โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ คือผู้นำอุตสาหกรรมที่ทำงานด้านสถาปัตยกรรม 5G ครอบคลุมที่สุด ผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่ โครงการ 5G NORMA (5G Novel Radio Multiservice adaptive network Architecture) ภายใต้สมาพันธ์ความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G (5G-PPP association) ด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความชาญฉลาดและการใช้ประโยชน์สูงสุดจากระบบคลาวด์ชั้นนำ สำหรับการเข้าสู่ยุค 5G เราได้กำหนดโครงร่างของสถาปัตยกรรมแบบครบวงจร ซึ่งจะสร้างให้เกิดความสามารถในการปรับเปลี่ยนให้กับลูกค้าเฉพาะรายได้อย่างชาญฉลาด และในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อตอบโจทย์ความสามารถที่ถูกจำกัด, ต้นทุนความปลอดภัย, และการใช้พลังงาน สถาปัตยกรรมใหม่นี้จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ครอบคลุมทุกภาคธุรกิจ เช่นการให้บริการเครือข่ายเสมือน (Network-as-a-Service) ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อใช้ฟังก์ชั่นการทำงานในเครือข่ายได้ตามความต้องการ”
ทราบหรือไม่
โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน เพื่อสร้างให้เทคโนโลยี 5G มีความสามารถรองรับความต้องการสูงสุดในอนาคตเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้ยังดำเนินโครงการเชิงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ 5G อีกมากมาย สำหรับในยุโรป โนเกียเป็นประธานสมาพันธ์ความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G (5G-PPP association) และจัดทำโครงการนวัตกรรมเกี่ยวกับ 5G หลายโครงการ ร่วมกับผู้ให้บริการรายใหญ่ๆ ได้แก่ ไชน่า โมบาย,เอ็นทีที โดโคโม, โคเรีย เทเลคอม, เอสเค เทเลคอม และดอยช์ เทเลคอม