กนอ.ได้เตรียมเสนอรัฐบาลพิจารณาเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุน ด้วยการเพิ่มการลดหย่อนภาษีจาก 5 ปี เป็น 6 ปี สำหรับโรงงานที่ลดการสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมโดยผ่านมาตรฐานที่กำหนด เพื่อดึงดูดการลงทุนเพิ่มขึ้น นักลงทุนต่างชาติเริ่มเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยมากขึ้น ปัญหาการเมืองเริ่มมีความชัดเจน การประท้วงไม่เกิดความรุนแรงมากนัก
กนอ.ได้เตรียมเสนอรัฐบาลพิจารณาเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุน ด้วยการเพิ่มการลดหย่อนภาษีจาก 5 ปี เป็น 6 ปี สำหรับโรงงานที่ลดการสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมโดยผ่านมาตรฐานที่กำหนด เพื่อดึงดูดการลงทุนเพิ่มขึ้น นักลงทุนต่างชาติเริ่มเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยมากขึ้น ปัญหาการเมืองเริ่มมีความชัดเจน การประท้วงไม่เกิดความรุนแรงมากนัก |
ในการสัมมนา "ทิศทางอุตสาหกรรรมไทย" นางประไพวัลย์ มุทิตาเจริญ รองผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า การลงทุนภายในนิคมอุตสาหกรรมของภาคเอกชนเริ่มขยายตัวดีขึ้น โดยไตรมาส 2 ของปีนี้ มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 15,000 ล้านบาท และจากความชัดเจนทางการเมือง ทำให้ผู้ประกอบมีความมั่นใจมากขึ้น และคาดว่าในปี 2551 ความต้องการใช้พื้นที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมโดยรวมของนักลงทุนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จาก 2,800 ไร่ เป็น 3,000 ไร่ และการขยายการลงทุนยังเป็นนักลงทุนรายเดิมที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยนานแล้วถึงร้อยละ 80 ซึ่งต่างมั่นใจต่อพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และ กนอ.ได้เตรียมเสนอรัฐบาลพิจารณาเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุน ด้วยการเพิ่มการลดหย่อนภาษีจาก 5 ปี เป็น 6 ปี สำหรับโรงงานที่ลดการสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมโดยผ่านมาตรฐานที่กำหนด เพื่อดึงดูดการลงทุนเพิ่มขึ้น |
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ประธานบริษัท อมตะ ซิตี้ จำกัด กล่าวว่า ทิศทางอุตสาหกรรมของไทยได้เริ่มเปลี่ยนผ่านจากการใช้แรงงานหันมาเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและการใช้ความรู้มากขึ้น จึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาแรงงานฝีมือ การอบรมแรงงานให้มีความรู้เพิ่มเติม เบื้องต้นเห็นว่า รัฐบาลเตรียมสนับสนุนงบประมาณพัฒนาบุคลากรถึง 1,300 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานฝีมือ และถึงแม้เวียดนามจะเป็นคู่แข่งสำคัญ แต่คนไทยมีความประนีประนอม หรือเป็นนักเจรจา ยังได้เปรียบในการดึงดูดการลงทุนได้ โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ยังให้ความสำคัญลงทุนในประเทศไทยเป็นหลัก สำหรับการลงทุนในครึ่งปีหลังนั้น จากการพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติเริ่มมีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยมากขึ้น จากปัญหาการเมืองเริ่มมีความชัดเจน การประท้วงไม่เกิดความรุนแรงมากนัก เพราะเป็นเรื่องธรรมดาของการปกครองระบอบประชาธิปไตย |
สำหรับค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง นายวิบูลย์ กล่าวว่า แม้จะเป็นโอกาสเหมาะในการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเข้ามาขยายการผลิตและการลงทุนเพิ่ม เพราะต้นทุนถูกลง คงไม่เห็นผลทันทีทันใดต่อการลงทุนเพิ่ม และการนำเข้าคงไม่เป็นตัวเลขที่หวือหวามากนัก เนื่องจากการตัดสินใจลงทุนเพิ่มสิ่งสำคัญคือ ต้นทุนจากพื้นที่ตั้งโรงงาน ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 10 ของการลงทุนทั้งหมด ซึ่งนักลงทุนจะต้องมองในระยะยาว |
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา เหรัญญิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เมื่อเงินบาทแข็งค่าอาจทำให้การส่งออกไปสหรัฐทำตลาดได้ยากขึ้น และหากแข็งค่าแบบค่อยเป็นค่อยไปผู้ส่งออกจะปรับตัวได้ทันเหมือนกับช่วงที่ผ่านมา แต่หากยังแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน เอกชนย่อมได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน และมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คงเตรียมมาตรการออกมารับมือเหมือนกับการใช้มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ก่อนหน้านี้ เพราะที่ผ่านมา มาตรการดังกล่าวสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง และในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่นจะเริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้การนำเข้าสินค้าหลายรายการได้รับการลดภาษี ตลาดทั้ง 2 ประเทศจะกว้างขึ้น เอกชนไทยจึงควรใช้โอกาสนี้สร้างตลาดมากขึ้น |