เนื้อหาวันที่ : 2007-07-10 10:22:00 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1759 views

EXIM BANK ชี้สินค้าไฮเทคลวงภาพส่งออกโตสวนเงินบาทแข็ง

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ชี้ตัวเลขการส่งออกโตสวนทางค่าเงินบาทแข็งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ยั่งยืน เพราะได้กลุ่มผู้ส่งออกสินค้าไฮเทคซึ่งส่วนใหญ่เป็นของชาวต่างชาติเป็นพลังขับเคลื่อน ขณะที่ผู้ส่งออกไทยโดยเฉพาะ SMEs กำไรหด ต้องเน้นส่งออกปริมาณมากเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและรุกตลาดใหม่

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ชี้ตัวเลขการส่งออกโตสวนทางค่าเงินบาทแข็งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ยั่งยืน เพราะได้กลุ่มผู้ส่งออกสินค้าไฮเทคซึ่งส่วนใหญ่เป็นของชาวต่างชาติเป็นพลังขับเคลื่อน ขณะที่ผู้ส่งออกไทยโดยเฉพาะ SMEs กำไรหด ต้องเน้นส่งออกปริมาณมากเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและรุกตลาดใหม่

.

EXIM BANK ชี้ตัวเลขการส่งออกโตสวนทางค่าเงินบาทแข็งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ยั่งยืน เพราะได้กลุ่มผู้ส่งออกสินค้าไฮเทคซึ่งส่วนใหญ่เป็นของชาวต่างชาติเป็นพลังขับเคลื่อน ขณะที่ผู้ส่งออกไทยโดยเฉพาะ SMEs กำไรหด ต้องเน้นส่งออกปริมาณมากเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและรุกตลาดใหม่ ในระยะยาวผู้ส่งออกไทยต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เร่งนำเข้าเครื่องจักรในช่วงค่าเงินบาทแข็งและดอกเบี้ยต่ำหรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีความพร้อมด้านแรงงาน วัตถุดิบ และตลาดรองรับ

.

ดร.อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า จากตัวเลขมูลค่าส่งออกของไทยเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐขยายตัวในอัตรา 18.4% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 สวนทางกับการคาดการณ์และการแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน ยังไม่อาจนำไปสู่บทสรุปที่ว่าผู้ส่งออกไทยมีจุดยืนที่มั่นคงในตลาดการค้าระหว่างประเทศได้ เนื่องจากจากอัตราการขยายตัว 18.4% กลุ่มสินค้าไฮเทคเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญถึง 11.6% คิดเป็น 64% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทย โดยผู้ส่งออกสินค้าไฮเทคกว่า 80% เป็นผู้ประกอบการต่างชาติในไทยและได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยจากค่าเงินบาทแข็ง เพราะเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่มี Import Content สูงและมีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินเป็นอย่างดี

.

กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK เปิดเผยต่อไปว่า ในความเป็นจริงผู้ส่งออกไทยโดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่อนข้างมาก เนื่องจากมีอำนาจต่อรองในการกำหนดราคาสินค้าค่อนข้างต่ำ แต่จำเป็นต้องทำการส่งออกโดยเน้นการเพิ่ม ปริมาณมากกว่า ราคาเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและความสัมพันธ์ทางธุรกิจไว้ โดยยอมแบกรับกำไรต่ำ เห็นได้จากมูลค่าส่งออกที่เพิ่มขึ้น 18.4% ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เมื่อคิดเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่เพิ่มขึ้นเพียง 7% เมื่อคิดเป็นสกุลเงินบาท

.

วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ช่วยให้ผู้ส่งออกได้เรียนรู้และมีภูมิต้านทานที่ดีต่อปัจจัยด้านความผันผวนของค่าเงินที่มากระทบ โดยการเรียนรู้การบริหารความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเพื่อไต่ระดับขึ้นไปแข่งขันในตลาดระดับบน ดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดในเชิงรุกเพื่อขยายส่วนแบ่งตลาด ตลอดจนพุ่งเป้าส่งออกไปยังตลาดใหม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้สัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังตลาดใหม่เพิ่มขึ้นจาก 37% ในปี 2546 เป็น 45% ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ผู้ส่งออกต้องผลักภาระไปให้ผู้ผลิตหรือเกษตรกร โดยเจรจาต่อรองราคาวัตถุดิบเพื่อลดต้นทุนการผลิต อันจะส่งผลกระทบอุตสาหกรรมต้นน้ำและเกษตรกรและเชื่อมโยงเป็นลูกโซ่มายังภาคการผลิตและการส่งออกในที่สุด เมื่อถึงเวลานั้นการส่งออกของไทยอาจจะเกิดสภาวะชะงักงันทั้งในแง่ปริมาณและราคา

.

ดร.อภิชัย กล่าวต่อไปว่า นอกเหนือจากการปรับตัวในด้านการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในระยะสั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้ส่งออกไทยจะต้องปรับตัวอย่างจริงจังในระยะยาวโดยการปรับปรุงมาตรฐานการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าส่งออกภายใต้ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมและแข่งขันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันในด้านราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ในโอกาสที่เงินบาทแข็งค่าและดอกเบี้ยต่ำ ผู้ประกอบการน่าจะลงทุนนำเข้าเครื่องจักรเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิต หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือการย้ายฐานการผลิตยังไปยังประเทศที่มีความพร้อมด้านแรงงาน วัตถุดิบ และตลาดรองรับสินค้า ทั้งนี้ เพื่อผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืนของภาคการส่งออกซึ่งเป็นความหวังในฐานะตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญด้วยสัดส่วนกว่า 60% ของ GDP ขณะที่กลไกด้านการบริโภคและการลงทุนอยู่ในภาวะชะลอตัว

.

ดร.อภิชัย กล่าวต่อไปว่า นอกเหนือจากการปรับตัวในด้านการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนด้วยการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าในระยะสั้น ถึงเวลาแล้วที่ผู้ส่งออกไทยจะต้องปรับตัวอย่างจริงจังในระยะยาวโดยการปรับปรุงมาตรฐานการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้าส่งออกภายใต้ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมและแข่งขันได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันในด้านราคาสินค้าเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ในโอกาสที่เงินบาทแข็งค่าและดอกเบี้ยต่ำ ผู้ประกอบการน่าจะลงทุนนำเข้าเครื่องจักรเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิต หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือการย้ายฐานการผลิตยังไปยังประเทศที่มีความพร้อมด้านแรงงาน วัตถุดิบ และตลาดรองรับสินค้า ทั้งนี้ เพื่อผลักดันการเติบโตอย่างยั่งยืนของภาคการส่งออกซึ่งเป็นความหวังในฐานะตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญด้วยสัดส่วนกว่า 60% ของ GDP ขณะที่กลไกด้านการบริโภคและการลงทุนอยู่ในภาวะชะลอตัว