ผลพวงจากการที่ผู้ว่าฯ กทม. "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ตั้งเป้ารายจ่ายประจำปี 2551 ไว้สูงถึง 60,065 หมื่นล้านบาท ทำให้ กทม.ต้องปรับเป้ารายได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย คนกรุงเทพฯ เตรียมควักกระเป๋าจ่ายภาษีไว้ล่วงหน้า
ผลพวงจากการที่ผู้ว่าฯ กทม. "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" ตั้งเป้ารายจ่ายประจำปี 2551 ไว้สูงถึง 60,065 หมื่นล้านบาท ทำให้ กทม.ต้องปรับเป้ารายได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย |
. |
โดยปีหน้าเป้าหมายที่ฝ่ายผู้บริหารวางกรอบไว้ ฝ่ายรายได้ของ กทม.จะต้องจัดเก็บรายได้ให้ได้ 45,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ในส่วนที่ กทม.ต้องเก็บเอง 11,000 ล้านบาท ส่วนอีก 34,000 ล้านบาท จะจัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง |
. |
นับว่าเป็นภาระหนักอึ้งที่ กทม.ต้องใช้ความพยายามจัดเก็บภาษีให้ได้เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ถึง 6,000 ล้านบาท ขณะที่ปี 2550 กทม.ตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 39,000 ล้านบาท วิธีการที่จะนำมาใช้เพื่อให้การจัดเก็บรายได้เป็นไปตามเป้า นอกจากจะขอความร่วมมือจากทุกเขตให้ความร่วมมือในการจัดเก็บภาษีให้ได้ทุกหลังคาเรือนแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดจะต้องหาฐานภาษีรายใหม่ที่หลงเหลืออยู่ให้มากที่สุด อีกทั้งให้ตรวจสอบการจัดเก็บภาษีป้ายให้เข้มงวดมากขึ้น |
. |
ตามแผนที่วางไว้ในปี 2551 สำนักการคลังจะของบประมาณจำนวน 3 ล้านบาทเศษ เพื่อว่าจ้างผู้ที่จบปริญญาตรีประมาณ 50 คน ลงพื้นที่ทั้ง 50 เขต ทำหน้าที่ตรวจสอบการจัดเก็บภาษีในแต่ละหลังคาเรือนในแต่ละพื้นที่ |
. |
โดยตั้งเป้าหมายว่าการใช้วิธีการนี้จะทำให้ กทม.จัดเก็บภาษีได้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น เพราะจะมีการเข้าไปตรวจสอบทุกหลังคาเรือน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ จากเดิมมีผู้เสียภาษีจำนวนมากที่หลีกเลี่ยงการเสียภาษี เนื่องจาก กทม.ใช้เพียงแค่แผนที่ภาษี ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีทำได้ไม่ครบถ้วน |
. |
เดินแผนรัดกุมขนาดนี้ คนกรุงเทพฯคงต้องเตรียมควักกระเป๋าจ่ายภาษีไว้ล่วงหน้า |
. |
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ |