ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี จับมือ เทคโนโลยีราชมงคล ร่วมพัฒนางานซ่อมบำรุงเครื่องจักร มุ่งสร้างหลังบ้านอุตสาหกรรมไทยให้แข็งแกร่ง สามารถขับเคลื่อนศักยภาพการแข่งขัน ทั้งตลาดภายในและนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด และช่วยลดต้นทุนพร้อมเพิ่มผลผลิตได้
. |
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี จับมือ เทคโนโลยีราชมงคล ร่วมพัฒนางานซ่อมบำรุงเครื่องจักร มุ่งสร้างหลังบ้านอุตสาหกรรมไทยให้แข็งแกร่ง เพื่อขับเคลื่อนศักยภาพการแข่งขันอย่างต่อเนื่องผลักดันอุตสาหกรรมไทยให้สามารถขับเคลื่อนศักยภาพการแข่งขัน ทั้งตลาดภายในและนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด และช่วยลดต้นทุนพร้อมเพิ่มผลผลิตได้ |
. |
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ได้จัดพิธีลงนามความร่วมมือใน “โครงการส่งเสริมและสนับสนุนงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างเป็นระบบของอุตสาหกรรมไทย (Total Productivity Maintenance: TPM)” ระหว่างศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี โดย ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดย รศ.ดวงสุดา เตโชติรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร เป็นผู้ให้การลงนาม |
. |
โดยการลงนามความร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมในด้านงานบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มีคุณภาพและมาตรฐาน รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในเครือ ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศให้มีศักยภาพในการให้คำปรึกษาแนะนำงานบำรุงรักษาเครื่องจักรแก่ภาค อุตสาหกรรมได้อย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน โดยอาจารย์ นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ |
. |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อเป็นคณะผู้เชี่ยวชาญในด้านงานซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรในโครงการ TPM แล้ว จะเข้าไปขยาย การให้ความช่วยเหลือในด้านงานบำรุงรักษาเครื่องจักรแก่ภาคอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมให้มีความแข็งแกร่งในงานบำรุงรักษาเครื่องจักร ได้แก่ การให้ความรู้ในงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร การฝึกสอนให้ทราบถึงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องจักรอย่างถูกต้อง การแนะนำให้รู้จักชิ้นส่วนแต่ละชิ้นของเครื่องจักร ตลอดจนสามารถจัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับโรงงานต่อไปได้ |
. |
"การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตเครื่องจักรอันเปรียบเสมือนเป็นหลังบ้านที่ภาคอุตสาหกรรมไทยยังขาดแคลนนั้น ทั้งที่ตามจริงแล้วเครื่องจักรเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญยิ่งที่จะผลักดันอุตสาหกรรมไทยให้สามารถขับเคลื่อนศักยภาพการแข่งขัน ทั้งตลาดภายในและนอกประเทศอย่างต่อเนื่อง ไม่มีสะดุด และช่วยลดต้นทุนพร้อมเพิ่มผลผลิตได้" |
. |
ทั้งนี้ โครงการ TPM ริเริ่มจากการที่โครงการ ITAP ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี ได้ให้การสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีแก่อุตสาหกรรมไทยในบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แล้วพบว่า มีบริษัทจำนวนมากที่ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การเลือกใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์และเครื่องจักรไม่เหมาะสม ระบบการบริหารจัดการ การบริหาร การผลิต และการดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องจักรยังไม่ดีพอ การสูญเสียหรือใช้งานเครื่องจักรไม่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ปัญหาพื้นฐานที่มักถูกมองข้ามไป คือ งานบำรุงรักษาเครื่องจักร และจากกลไกการเข้าเยี่ยมและวินิจฉัยปัญหาที่โรงงาน ทำให้ทราบว่า บริษัทส่วนมากมักประสบปัญหางานบำรุงรักษาและการเพิ่มผลผลิต จากสาเหตุพื้นฐาน เช่น ไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ด้านเทคนิคที่ถูกต้อง ไม่มีแผนกซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร หากแต่กรณีที่มีระบบที่มีอยู่ก็ยัง ไม่เหมาะสม รวมทั้งพนักงานไม่มีโอกาสได้รับการพัฒนาความรู้และเทคนิค และขาดที่ปรึกษา ให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เป็นต้น |
. |
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานแก่อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง จึงได้ริเริ่มโครงการ TPM ขึ้น สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีความสนใจ เห็นความสำคัญ และมุ่งมั่นในการพัฒนางานซ่อมบำรุงเครื่องจักร สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โครงการ iTAP โทรศัพท์ 0-2564-7000 ต่อ 1367 |