นิคมอุตสาหกรรมกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ใน 5 พื้นที่ ได้แก่ ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี ขอนแก่น และนครราชสีมา
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เผยผลการวิจัย “นิคมอุตสาหกรรมกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์” ใน 5 พื้นที่ ได้แก่ ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี ขอนแก่น และนครราชสีมา ระบุ นิคมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักลงทุนญี่ปุ่นและจีน ส่งผลให้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมราคาต่ากว่า 1.5 ล้านบาท มีอุปทานที่ตรงกับความต้องการซื้อสูงสุด เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ทำงานในนิคมฯ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักลงทุนที่นิยมซื้อไว้ปล่อยให้เช่า ส่วนบ้านเดี่ยวกับทาวน์เฮาส์ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ยังขายได้ดี
นายภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติกรรมการผู้จัดการบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(Mr. Poomipak Julmanichoti, Managing Director, Plus Property Company Limited) ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่า “ภาคอุตสาหกรรม ถือเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) รายงานยอดรับการส่งเสริมการลงทุน ณ เดือนสิงหาคม 2556 มีมูลค่าสูงถึง 7 แสนล้านบาท ขยายตัว 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีกลุ่มนักลงทุนจากญี่ปุ่นและจีนเข้ามาลงทุนมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่ามูลค่ารวมของภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณสูงถึง 3.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 35% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทั้งนี้ ประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนทั้งในเรื่องทำเลที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางอาเซียน มีความพร้อมด้านแรงงานที่มีประสิทธิภาพ และมีระบบ โลจิสติกส์ที่ทันสมัยทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ปัจจัยดังกล่าวสามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนจัดตั้งบริษัท สร้างฐานการผลิต และเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย”
จากข้อมูลการวิจัยหัวข้อ “นิคมอุตสาหกรรมกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์” โดยฝ่ายวิจัยและพัฒนา ของพลัส พร็อพเพอร์ตี้ ทำการสำรวจ ใน 5 พื้นที่ ได้แก่ ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี ขอนแก่น และนครราชสีมา เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวจัดอยู่จังหวัดรอบนอกที่ยังมีการการลงทุนและพัฒนาในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบจำนวนอุปทาน รวม 40,000 ยูนิต มีอัตรายอดขายสูงถึง 70% เป็นที่น่าสังเกตว่าตลาดคอนโดมิเนียม มีอุปทานที่ตรงกับความต้องการซื้อสูงสุด โดยเฉพาะคอนโดฯ ราคาต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท เนื่องจากกลุ่มอุปสงค์หลักเป็นแรงงานที่ทางานในนิคมฯ ซึ่งมีรายได้ไม่สูงนัก อีกทั้งยังมีความเสี่ยงในการเคลื่อนย้ายสถานที่ทำงานสูง จึงนิยมซื้อที่อยู่อาศัยราคาถูก นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักลงทุนที่นิยมซื้อไว้ปล่อยให้เช่าอีกจำนวนหนึ่ง และยังพบว่าบ้านเดี่ยวกับทาวน์เฮาส์ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท อุปสงค์มีความต้องการเช่นกัน ส่วนอุปทานแนวราบที่มีราคาระดับกลาง กลุ่ม 3-5 ล้านบาท ยังไปได้ดีในบางพื้นที่
นอกจากอุปสงค์ที่อยู่อาศัยในพื้นที่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมสามารถตอบรับอุปทานได้ดีแล้ว ยังมีปัจจัยการลงทุนโครงการเมกกะโปรเจ็กต์จากภาครัฐที่สนับสนุนให้เกิดการลงทุนรองรับการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 อาทิ โครงการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมสายใหม่อย่างถนนสาย R1 โครงการถนนสายกรุงเทพฯ -พนมเปญ -โฮจิมินต์ซิตี้ –วังเตา (กรุงเทพฯ -ฉะเชิงเทรา -กบินทร์บุรี – อรัญประเทศ) , R2 โครงข่ายถนนเชื่อมโยงแนวตะวันออก – ตะวันตก ไทย -ลาว -เวียดนาม (แม่สอด –มุกดาหาร) และ R3 โครงการถนนสายเชียงราย –คุนหมิงผ่านลาวและพม่า (เชียงราย – เชียงของ) โครงการขยายสนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง (คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2557) โครงการขยายท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 (คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ภายในปี 2564) โครงการรถไฟความเร็วสูงไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ รวมถึงแนวทางการพัฒนาเมืองใหม่ในรัศมี 6-10 ตารางกิโลเมตรรอบสถานี (ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาร่วมกันระหว่างสานักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกรมโยธาธิการและผังเมือง) เมื่อโครงการแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการปัจจัยเหล่านี้จะเป็นสิ่งดึงดูดนักลงทุนได้เป็นอย่างดี จากความพร้อมของประเทศด้านระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัยประกอบกับทำเลที่ตั้งและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการลงทุน
นายภูมิภักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีการขยายฐานการผลิตไปยังจังหวัด หัวเมืองหลักที่มีสภาพเอื้ออำนวยต่อการลงทุน ส่งผลให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดอุปสงค์โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ได้รับอานิสงค์จากการขยายการลงทุนอุตสาหกรรมในภูมิภาค โดยตลาดที่เติบโตก่อน ในช่วงแรกคือตลาดเช่าอย่างอพาร์ตเมนต์หรือบ้านเช่าจะเป็นตัวเลือกที่สาคัญและสามารถตอบสนองความต้องการของแรงงานที่เป็นประชากรแฝงได้ดีที่สุด เมื่อประชากรเหล่านี้เริ่มเกิดความเชื่อมั่นในระยะ 2-3 ปี จะเกิดความต้องการการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการแข่งขันหรือการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัยในนิคมฯ อยู่บ้าง อาทิ ผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณนิคมฯ นั้น ส่วนใหญ่เป็นแรงงานแฝงที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรม การย้ายฐานการผลิตของบริษัทขนาดใหญ่ในนิคมฯ จะส่งผลโดยตรงต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก รวมถึงการแข่งขันของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอง ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของนิคมฯ หรือเป็นการร่วมทุนระหว่างเจ้าของนิคมฯ กับเอกชนหรือการเคหะจากภาครัฐ ซึ่งมีความได้เปรียบด้านต้นทุนราคาที่ดินที่ต่ำกว่ารายอื่น อีกทั้งบริษัทในนิคมฯ บางแห่งยังมีการสร้างบ้านพักสวัสดิการไว้รองรับพนักงานอีก รวมถึงปัจจัยภายนอกที่ควรติดตามโดยเฉพาะสภาพเศรษฐกิจและการส่งออกซึ่งส่งผลโดยตรงกับภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ อาจทำให้เกิดการชะลอตัวของจำนวนอุปสงค์และรายได้ประชากร”