เนื้อหาวันที่ : 2013-09-17 13:12:30 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1600 views

ความน่าดึงดูดใจของประเทศไทย เพื่อจุดหมายด้านการลงทุน

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังคงมีมุมมองเป็นบวก โดยยังคงคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตในปี 2556

บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้มีการจัดงานสัมมนาให้กับนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ในหัวข้อเรื่อง Thailand’s Attractiveness As An Investment Destination โดยได้เชิญประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ประจำอาเซียนและเอเชียใต้ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) ผู้ช่วยผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT) และ กรรมการผู้จัดการบริษัทไทคอน (TICON) มาเป็นผู้ร่วมอภิปราย โดยมีคุณ สุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย เป็นผู้ดำเนินรายการ

ทั้งนี้ จากความเห็นของผู้อภิปรายทั้ง 4 ท่าน ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของ นักลงทุนญี่ปุ่น ผู้ประกอบการธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมของรัฐ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และ ผู้ประกอบการธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมของเอกชน ได้ข้อสรุปตรงกันว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงมั่นใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะ นักลงทุนญี่ปุ่น ในขณะที่นักลงทุนจีนเป็นกลุ่มใหม่ที่มีการเติบโตสูงน่าจับตา ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ และ นิคมอุตสาหกรรมยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตดีในระยะยาว ส่วน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ ภาวะอุปทานตึงตัวของนิคมอุตสาหกรรม ปัญหาแรงงาน และ ความล่าในเรื่องขบวนการ EIA และ HIA

สรุปสาระสำคัญจากการสัมมนาคือ สำหรับนักลงทุนญี่ปุ่น โดยอ้างอิงจากผลการสำรวจของหอการค้าญี่ปุ่น (ซึ่งได้จัดทำมาเป็นเวลากว่า 29 ปีแล้ว) พบว่านักลงทุนชาวญี่ปุ่นส่วนมากยังคงมุมมองเชิงบวกต่อประเทศไทย โดยการเคลื่อนไหวของค่าเงินนั้นไม่ได้เป็นปัจจัยใช้พิจารณาในการลงทุน นักลงทุนบางรายมีแผนที่จะทำการลงทุนเพิ่มเติม ผลตอบรับที่เป็นบวกนี้ได้ส่งผ่านมายังการขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ (BOI) ของนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นกว่า 18.2% ใน 1H56 จากผลการสำรวจ นักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบถนน (62% ของผู้ตอบแบบสำรวจ) การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน (38%) การพัฒนาระบบรถไฟ (37%) และการศึกษา (33%). ความสามารถของแรงงานนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการนั้นกังวลเสมอมา (36%) ธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์จะยังคงเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของการลงทุนของชาวญี่ปุ่น แต่ผู้ประกอบการ SME ชาวญี่ปุ่นก็เริ่มเข้ามาทำการลงทุนมากขึ้น ตามคำบอกกล่าวของ TICON และ IEAT

ด้านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังคงมีมุมมองเป็นบวก โดยยังคงคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตในปี 2556 สนับสนุนโดย 1) เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว 2) ตลาดคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์โลกที่กำลังฟื้นตัว 3) การขยายตัวของภาคการบริโภคจากการขยายตัวของภาคการผลิต 4) การใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสำหรับการลงทุน และ 5) ความกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงต่ำ โดย FTI ได้ทำการจัดกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมออกเป็น 11 กลุ่มด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนา วางแผน เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันไว้ กลุ่มกระดาษ/ บรรจุภัณฑ์ดูจะมีข้อได้เปรียบ เนื่องจากอุปสงค์ยังคงสูงจากการขยายตัวของภาคการผลิต โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร ซึ่ง TICON ยังพบว่าการขยายตัวของธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มอย่างธุรกิจอาหารและเครื่องปรุงอาหารยังคงเพิ่มขึ้นย่างต่อเนื่องในนิคมอุตสาหกรรม
 
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้มีการจัดงานสัมมนาให้กับนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ในหัวข้อเรื่อง Thailand’s Attractiveness As An Investment Destination โดยได้เชิญประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ประจำอาเซียนและเอเชียใต้ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) ผู้ช่วยผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT) และ กรรมการผู้จัดการบริษัทไทคอน (TICON) มาเป็นผู้ร่วมอภิปราย โดยมีคุณ สุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัย เป็นผู้ดำเนินรายการ

ทั้งนี้ จากความเห็นของผู้อภิปรายทั้ง 4 ท่าน ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของ นักลงทุนญี่ปุ่น ผู้ประกอบการธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมของรัฐ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และ ผู้ประกอบการธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมของเอกชน ได้ข้อสรุปตรงกันว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงมั่นใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะ นักลงทุนญี่ปุ่น ในขณะที่นักลงทุนจีนเป็นกลุ่มใหม่ที่มีการเติบโตสูงน่าจับตา ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ และ นิคมอุตสาหกรรมยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตดีในระยะยาว ส่วน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ได้แก่ ภาวะอุปทานตึงตัวของนิคมอุตสาหกรรม ปัญหาแรงงาน และ ความล่าในเรื่องขบวนการ EIA และ HIA

สรุปสาระสำคัญจากการสัมมนาคือ สำหรับนักลงทุนญี่ปุ่น โดยอ้างอิงจากผลการสำรวจของหอการค้าญี่ปุ่น (ซึ่งได้จัดทำมาเป็นเวลากว่า 29 ปีแล้ว) พบว่านักลงทุนชาวญี่ปุ่นส่วนมากยังคงมุมมองเชิงบวกต่อประเทศไทย โดยการเคลื่อนไหวของค่าเงินนั้นไม่ได้เป็นปัจจัยใช้พิจารณาในการลงทุน นักลงทุนบางรายมีแผนที่จะทำการลงทุนเพิ่มเติม ผลตอบรับที่เป็นบวกนี้ได้ส่งผ่านมายังการขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ (BOI) ของนักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นกว่า 18.2% ใน 1H56 จากผลการสำรวจ นักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบถนน (62% ของผู้ตอบแบบสำรวจ) การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน (38%) การพัฒนาระบบรถไฟ (37%) และการศึกษา (33%). ความสามารถของแรงงานนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการนั้นกังวลเสมอมา (36%) ธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์จะยังคงเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของการลงทุนของชาวญี่ปุ่น แต่ผู้ประกอบการ SME ชาวญี่ปุ่นก็เริ่มเข้ามาทำการลงทุนมากขึ้น ตามคำบอกกล่าวของ TICON และ IEAT

ด้านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยยังคงมีมุมมองเป็นบวก โดยยังคงคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตในปี 2556 สนับสนุนโดย 1) เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว 2) ตลาดคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์โลกที่กำลังฟื้นตัว 3) การขยายตัวของภาคการบริโภคจากการขยายตัวของภาคการผลิต 4) การใช้จ่ายของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสำหรับการลงทุน และ 5) ความกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงต่ำ โดย FTI ได้ทำการจัดกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมออกเป็น 11 กลุ่มด้วยกัน เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนา วางแผน เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันไว้ กลุ่มกระดาษ/ บรรจุภัณฑ์ดูจะมีข้อได้เปรียบ เนื่องจากอุปสงค์ยังคงสูงจากการขยายตัวของภาคการผลิต โดยเฉพาะธุรกิจอาหาร ซึ่ง TICON ยังพบว่าการขยายตัวของธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มอย่างธุรกิจอาหารและเครื่องปรุงอาหารยังคงเพิ่มขึ้นย่างต่อเนื่องในนิคมอุตสาหกรรม