กลุ่มBRICS มีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์มากกว่า 1 ใน 4 ของโลก (ร้อยละ 29.35 ของพื้นที่โลก) โดยมีประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ของประชากรโลก ซึ่งสัดส่วน GDP ของ BRICS ประมาณร้อยละ 20.02 ของ GDP โลก และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณ 45 % ของทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งโลก
BRICS จัดตั้งขึ้นเพื่อแสดงถึงการย้ายศูนย์อำนาจทางเศรษฐกิจของโลก จากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมณี, อิตาลี และญี่ปุ่น มาสู่ประเทศกำลังพัฒนาอย่าง BRICS ซึ่งประกอบด้วย บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน และแอฟริกาใต้ ภายในปี 2027 ซึ่งกลุ่มBRICS มีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์มากกว่า 1 ใน 4 ของโลก (ร้อยละ 29.35 ของพื้นที่โลก) โดยมีประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ของประชากรโลก ซึ่งสัดส่วน GDP ของ BRICS ประมาณร้อยละ 20.02 ของ GDP โลก และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศประมาณ 45 % ของทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งโลก
ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า การค้ายางพาราของ BRICS นั้น ในปี 2554 มีการนำเข้าสินค้ายางพารา ร้อยละ 56 ของการนำเข้า-ส่งออกสินค้ายางพาราทั้งหมดของ BRICS แหล่งนำเข้าที่สำคัญคือ ไทย, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ตามลำดับ ซึ่งสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นกลางน้ำร้อยละ 64 ของการนำเข้าสินค้ายางพาราทั้งหมด โดยสินค้าที่นำเข้ามากที่สุดได้แก่ ยางแท่ง (ทีเอสเอ็นอาร์)39.24 %, ยางสังเคราะห์ 31.46 % และยางคอมพาวนด์ 17.29 % ตามลำดับ และขั้นปลายน้ำ ร้อยละ 36 ของการนำเข้าสินค้ายางพาราทั้งหมด โดยสินค้าที่นำเข้ามากที่สุดได้แก่ ยางยานพาหนะ 48.73 %, อื่นๆ 16.20% และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 15.16 % ตามลำดับ
ด้านการส่งออกสินค้ายางพารา มีการส่งออกร้อยละ 44 ของการนำเข้า–ส่งออกสินค้ายางพาราทั้งหมด BRICS แหล่งส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา, เยอรมนี, อังกฤษ ตามลำดับ ซึ่งสินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นปลายน้ำ ร้อยละ 80 ของการส่งออกสินค้ายางพาราทั้งหมด โดยสินค้าที่ส่งออกมากที่สุดได้แก่ ยางยานพาหนะ 69.38 % และขั้นกลางน้ำ ร้อยละ 20 ของการส่งออกสินค้ายางพาราทั้งหมด โดยสินค้าที่ส่งออกมากที่สุดได้แก่ ยางสังเคราะห์ 87.30 %, ยางคอมพาวนด์ 3.52 % และยางแท่ง(ทีเอสเอ็นอาร์) 2.52 % ตามลำดับ
กลุ่มประเทศใน ASEAN มีการส่งออกสินค้ายางพาราไปยัง BRICS ร้อยละ 92 ของการนำเข้า-ส่งออกสินค้ายางพาราทั้งหมดของ ASEAN และนำเข้ามาเพียงร้อยละ 8 แต่ทั้งนี้ทั้งการนำเข้าและส่งออกก็ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2552 ถึงปี 2554 ซึ่งในปี 2554 สินค้าที่ASEANส่งออกไปเป็นสินค้าในขั้นกลางน้ำ ร้อยละ 92 ของการส่งออกสินค้ายางพาราทั้งหมด ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญคือ ยางแท่ง(ทีเอสเอ็นอาร์) 59.11 %, ยางคอมพาวนด์ 21.79 %และยางแผ่นรมควัน 8.76 % ตามลำดับ ในขั้นปลายน้ำ คิดเป็นร้อยละ 8 ของการส่งออกสินค้ายางพาราทั้งหมด ซึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของกลุ่มนี้คือยางยานพาหนะ 30.73 % เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการส่งออกสินค้ายางพาราของASEAN กับประเทศอื่นๆแล้ว ASEAN ถือเป็นแหล่งนำเข้าสินค้ายางพาราที่สำคัญของ BRICS คิดเป็นร้อยละ 47 ของการนำเข้าสินค้ายางพาราทั้งหมดของ BRICS ซึ่งประเทศที่ส่งออกสินค้ายางพาราไปยัง BRICS ในขั้นกลางน้ำ ที่สำคัญคืออินโดนีเซีย, ไทย และมาเลเซีย ตามลำดับ และประเทศที่ส่งออกสินค้ายางพาราในขั้นปลายน้ำ ที่สำคัญคือ ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และมาเลเซีย ตามลำดับ
การส่งออกยางพาราของไทยไปยังตลาด BRICS เป็นสินค้ายางพาราขั้นกลางน้ำ ร้อยละ 92 ของการส่งออกสินค้ายางพาราทั้งหมดของไทย ซึ่งสินค้าส่งออกส่วนใหญ่คือ ยางแท่ง(ทีเอสเอ็นอาร์) 45.12 %, ยางคอมพาวนด์ 22.55 % และยางแผ่นรมควัน 15.43 % ตามลำดับ ส่วนในกลุ่มของสินค้ายางพาราขั้นปลายน้ำ คิดเป็นร้อยละ 8 ของการส่งออกสินค้ายางพาราทั้งหมดของไทย โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญคือ ยางยานพาหนะ46.53 %, ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ 28.88 % และ ถุงมือ 9.90% ตามลำดับ
ดร.สมชาย กล่าวอีกว่า ความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกยางพาราของไทยไปยังตลาด BRICS เกณฑ์ที่ 1 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบเพิ่มขึ้นคือ ยางธรรมชาติที่กำหนดไว้ในทางเทคนิค(ทีเอสเอ็นอาร์) 41.35 %, ยางผสม(คอมพาวนด์)ที่มีลักษณะเป็นชนิดอื่นๆเช่นที่มีลักษณะเป็นน้ำยาง 14.57 % และยางที่ผสมกับคาร์บอนแบล็กหรือซิลิกา จนเป็นยางผสม(คอมพาวนด์)5.68%ตามลำดับ เกณฑ์ที่ 2 กลุ่มที่มีแนวโน้มได้เปรียบลดลง คือ ยางแผ่นรมควัน 14.20 %, น้ำยางธรรมชาติ10.05 % และยางธรรมชาติในลักษณะอื่นๆ 3.32 % เกณฑ์ที่ 3 กลุ่มแนวโน้มเสียเปรียบเพิ่มขึ้น คือ ยางสไตรีนบิวทาไดอีน(เอสบีอาร์)และยางคาร์บอกซิเลเต็ดสไตรีนบิวทาอีน(เอกซ์เอสบีอาร์) ในชนิดอื่นๆนอกจากน้ำยาง 0.45 %, ปะเก็น แหวนรองและซีลอื่นๆ0.17% และหลอดหรือท่อที่เสริมให้แข็งแรงหรือมีวัตถุอยู่ด้วยเท่านั้น ที่มีอุปกรณ์ติดตั้ง 0.01 % เกณฑ์ที่ 4 กลุ่มที่มีแนวโน้มเสียเปรียบลดลง คือ หลอดหรือท่อที่เสริมให้แข็งแรงหรือมีวัตถุอื่นอยู่ด้วย ที่มีอุปกรณ์ติดตั้ง 0.03 %, ไข่มุกยางไอโซบิวทีนไอโซพรีน (บิวทิล) (ไอไออาร์) 0.01 % และยางเอทิลีน-โพรพิลิน-น็อน-คอนจุเกเต็ดไดอีน(อีพีดีเอ็ม) 0.01 % ตามลำดับ
พิจารณาความสามารถในการค้ายางพาราของประเทศ ASEAN ในตลาด BRICS ซึ่ง ไทยและมาเลเซียมีแนวโน้มได้เปรียบเพิ่มขึ้นทั้งในสินค้ายางพาราขั้นกลางน้ำและขั้นปลายน้ำ ส่วนอินโดนีเซียในขั้นกลางน้ำมีแนวโน้มได้เปรียบลดลงและขั้นปลายน้ำมีแนวโน้มเสียเปรียบลดลง ส่วนฟิลิปปินส์ในขั้นกลางน้ำมีแนวโน้มเสียเปรียบลดลง และขั้นปลายน้ำมีแนวโน้มเสียเปรียบเพิ่มขึ้น และสิงคโปร์มีแนวโน้มเสียเปรียบเพิ่มขึ้นในทั้งสินค้ายางพาราขั้นต้นน้ำและปลายน้ำ
ซึ่งเมื่อพิจารณาค่า RCA ตั้งแต่ปี 2551-2554 จะเห็นว่าทั้งไทย, มาเลเซียและอินโดนีเซีย มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ โดยที่ ไทยและมาเลเซียมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเหมือนกัน แต่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากกว่าซึ่งพิจารณาจากค่า RCA ที่มากกว่าของมาเลเซียอยู่เกือบเท่าตัว ในส่วนของมาเลเซียและอินโดนีเซียก็ยังมีความสามารถในการแข็งขันพอๆ กันอยู่ ส่วนสิงคโปร์และฟิลิปปินส์นั้นความสามารถในการแข่งขันยังน้อยกว่าประเทศอื่นๆใน ASEAN อยู่มากเนื่องจากไม่มีความได้เปรียบเทียบทางสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้มีการเร่งยุทธศาสตร์การพัฒนายางพาราให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราขึ้นในรูปแบบสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพาราของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดยจะเป็นหน่วยงานหลักในการวิจัยและพัฒนา เพื่อสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ยางและไม้ยางพารา