สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สพว.) เร่งยกระดับมาตรฐานและการยอมรับแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ SMEs ไทย เตรียมต่อยอดสร้างแบรนด์ SMEs ให้แข็งแกร่ง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่ SMEs/OTOP ทั้งตลาดในและต่างประเทศ
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สพว.) เร่งยกระดับมาตรฐานและการยอมรับแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ SMEs ไทย เตรียมต่อยอดสร้างแบรนด์ SMEs ให้แข็งแกร่ง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่ SMEs/OTOP ทั้งตลาดในและต่างประเทศ |
. |
นายอยุทธ์ เตชะสุกิจ ผู้อำนวยการศูนย์เพิ่มมูลค่าผลผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ SMEs สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สพว.) หน่วยงานชำนาญการสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาตราสินค้า ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงนโยบายในการผลักดันสินค้า SMEs / OTOP ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากลว่า ปัจจุบันการแข่งขันในภาคธุรกิจมีความรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ผลิตโดย SMEs / OTOP ที่มีรูปลักษณ์และคุณภาพที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น การมีแบรนด์หรือตรายี่ห้อเป็นที่รู้จักและจดจำของผู้บริโภคจะช่วยเสริมศักยภาพทางการตลาด รวมทั้งเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ได้ แต่ปัจจุบันสินค้าที่มีแบรนด์ส่วนใหญ่เป็นของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่หรือต่างชาติ เพราะการสร้างแบรนด์ต้องใช้ความรู้ความชำนาญและความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งงบประมาณที่สูง และยังไม่มีต้นแบบเฉพาะสำหรับการสร้างแบรนด์ ซึ่งพัฒนาขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ SMEs |
. |
เพื่อต่อยอด/สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับ SMEs/OTOP สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจนาดกลางและขนาดย่อม จึงได้กำหนดนโยบายในการสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวก และกิจกรรมด้านการตลาดภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4 “การพัฒนาปัจจัยเอื้อในการดำเนินธุรกิจ” และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาตราสินค้าSMEs (
|
. |
ผู้อำนวยการศูนย์เพิ่มมูลค่าฯ กล่าวต่อว่า โครงการพัฒนาตราสินค้ามีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ SMEs/OTOP ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับ ด้วยการพัฒนาต้นแบบการสร้างแบรนด์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพขึ้น โดยรวบรวมแนวคิดและต้นแบบการสร้างแบรนด์ต่างๆ มาพัฒนา และสร้างต้นแบบที่เหมาะสมที่สุดมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มต่างๆ โดยเน้นความหลากหลาย ทั้งประเภทของผลิตภัณฑ์ ขนาดและรูปแบบของธุรกิจ ตลอดไปจนถึงพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้เกิดตัวอย่างของการใช้งานที่กว้างขวาง และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการมีแบรนด์สินค้าที่เข้มแข็ง เพื่อพัฒนาต่อยอดการสร้างแบรนด์ให้กับสินค้า SMEs/OTOP ไทย อันจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น |
. |
ทั้งนี้ การคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการพัฒนาตราสินค้านั้น สถาบันได้กำหนดหลักเกณฑ์การรับสมัครเบื้องต้น สำหรับผู้ประกอบการ OTOP จะต้องยอดขายไม่ต่ำกว่าปีละ 3 ล้านบาท และ SMEs ยอดขายไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจในกลุ่มผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ / บริการสปา ของตกแต่งศิลปะ-หัตถกรรม ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง (รัศมีไม่เกิน 100 กม.) เข้ารับการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ โดยผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก 10 ราย จะได้รับการสนับสนุนบริการการสร้างแบรนด์ รวมทั้งการออกแบบพัฒนาระบบภาพลักษณ์ภายใต้การดูแลของที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นและความสำเร็จขั้นแรกของการสร้างแบรนด์ SMEs ไทย ผู้ประกอบการที่สนใจเข้ารับการพิจารณาสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์เพิ่มมูลค่าผลผลิตและออกแบบผลิตภัณฑ์ SMEs โทรศัพท์ 0 2564 4000 ต่อ 7201-4 ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2550 นี้ |