รัฐ-เอกชนปั้นนิคมเชิงเวศน์ กลไกใหม่ขยายโรงงานอุตสาหกรรม ลดแรงต้านชุมชน
รัฐ-เอกชนปั้นนิคมเชิงเวศน์ กลไกใหม่ขยายโรงงานอุตสาหกรรม ลดแรงต้านชุมชน ชาวบ้านค่าย ระยอง ยังค้าน ขอคืนพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติภาพลบของโรงงานอุตสาหกรรมมี่ติดตาชาวบ้าน ทำให้เกิดกระแสต่อต้านการขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง ที่กลุ่มชาวบ้านรวมตัวตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้น หลังผ่านบทเรียนมาอย่างโชกโชน
งผลให้ภาครัฐ และเอกชนต่างต้องค้นหาทางออกให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและขยายตัวออกไป เนื่องจากพบว่าพื้นที่มาบตาพุดยังสามารถขยายโรงงานอุตสาหกรรมได้อีกตามผลการศึกษาเบื้องต้นถึงศักยภาพในการรองรับอุตสาหกรรมของพื้นที่มาบตาพุด (Carryinh Capacity) ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)เมื่อเดือนมี.ค.2554 ซึ่งได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว
โดยผลการศึกษา ระบุว่า มาบตาพุดสามารถขยายอุตสาหกรรมได้บ้าง โดยเหลือพื้นที่ยังไม่ได้ปลูกสร้าง 20,832 ไร่ เป็นพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม 8,233 ไร่ ซึ่งเหลือพื้นที่ขาย 939 ไร่ และพื้นที่นอกเขตนิคมฯ 12,599 ไร่
อย่างไรก็ตามจากการศึกษา พบว่า มลพิษทางอากาศในพื้นที่มาบตาพุดยังมีอยู่ โดยเฉพาะปัญหาอินทรีย์ระเหยง่าย ได้แก่สารเบนซิน 1,2-ไดคลอโรอีเทน และ 1,3-บิวทาไดอีน ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากอุตสาหกรรมปิโตเคมี โรงกลั่นน้ำมัน รวมถึงยานพาหนะซึ่งใช้น้ำมันเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวน
ส่วนคุณภาพน้ำมันผิวดินมีการปนเปื้อนแบคทีเรียและโลหะหนักทั้งที่ไหลผ่านพื้นที่ในและนอกนิคมอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามค่าที่วัดได้จะมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาและ ในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะการปนเปื้อนของสาร VOCs ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับสารหนู เหล็ก สังกะสีและแมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่พบมากในดิน และปนเปื้อนในน้ำใต้ดินของประเทศไทยอยู่แล้ว
ส่วนคุณภาพน้ำทะเลบางจุดมีปัญหา ซึ่งจากการจัดเก็บตัวอย่างน้ำทะเล ในพื้นที่ (รวมปากคลองชากหมาก)เมื่อเดืทอนมี.ค.2553 พบพารามิเตอร์ที่มีค่าสูงเกินมาตราฐาน ได้แก่ แอมโมเนีย แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโค ลิฟอร์ม และโลหะหนัก 3 ชนิด คือ สารหนู แมงกานีส และซิลิเนียม
นอกจากนี้ บริเวณปากคลองชากหมาก ที่เป็นคลองรองรับการระบายน้ำทิ้งของการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย(กนอ.) พบสารปิโตเลียมไฮโดรคาร์บอนเกินค่ามาตราฐาน มีปัญหาตะกอนดินสีดำ มีกลิ่นเหม็นคล้ายก๊าซไข่เน่า ทำให้น้ำทะเลในอ่าวประดู่มีสีดำและพบการปนเปื้อนของโลหะหนัก บางครั้ง คือปรอท และสังกะสี
ดังนั้นภายใต้ขีดจำกัดของทรัพยากร สศช.จึงเสนอให้จำกัดการขยายอุตสาหกรรมบางประเภทในพื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียงเป็นเวลาประมาณ 3 ปี เพื่อฟื้นฟูแลปรับสภาพพื้นที่ให้กลับสู่ภาวะปกติและให้เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Town)พร้อมเสนอให้จัดตั้ง "ศูนย์อำนวยการฟื้นฟูสภาพพื้นที่มาบตาพุดที่จังหวัดระยอง"เพื่อควบคุมอุตสาหกรรม และกิจกรรมที่เป็นแหล่งกำเนินมลพิษให้ดำเนินการตามมาตราการควบคุมมลพิษมรามีอยู่อย่างเข้มงวด และจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาสารอินทรีย์ระเหยง่าย เป็นต้นในการ
รวมทั้งกำกับให้โรงงานหรือกิจกรรมทุกประเภทปฏิบัติตามมาตราการที่กำหนดไว้ ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและกฏระเบียบที่เกี่ยข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายร่วมกันเฝ้าระวังการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมไห้เกินค่ามาตราฐาน พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ในการเฝ้าระวังและสร้างความรู้ความเข้าใจให้เครือข่าย
อย่างไรก็ตามยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในส่วนของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ โดยภาครัฐอย่างกระทรวงอุตสาหกรรม วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวง บอกว่า อุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์นั้น หมายถึงการพัฒนาอย่างสมดุล โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเขาบอกว่า หากพูดถึงนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์(Eco-Town)เสมอ เพราะโรงงานและชุมชนต้องอยู่ร่วมกัน ซึ่ง Eco Indutrial Estate นั้น เอกชน ที่เป็นเจ้าของพื้นที่สามารถดำเนินการไปได้เลย ขณะที่ Eco-Town เป็นเรื่องที่รัฐต้องมีบทบาท
โดยขณะนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรม กับ กนอ. กำลังนำร่องในหลายพื้นที่ อาทิ นิคมฯมาบตาพุด บางปู อิสเทิร์นซีบอร์ด และอมตะ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เป็นนิคมฯเชิงนิเวศน์ รวมถึงโรงงานนอกนิคมฯ หากไปกำหนดว่า อุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ ต้องหมายถึงการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ หรือกระบวนการผลิตที่ไม่ปล่อยของเสียเลยหรือ Zero Waste นั้นก็จะทำให้นิคมฯหรือโรงงานเก่าไม่สามารถพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ได้เลย แต่หากนิคมฯหรือโรงงานใดทำได้ถึงขั้นนั้น ยิ่งเป็นเรื่องที่ดี" วิฑูรย์ กล่าว
สอดคล้องกับสุกฤตย์ สุรบถโสภณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจปิโตเคมีและการกลั่น บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไม่ว่านักลงทุนจะไปลงทุนที่ใดก็ตาม จะต้องยึดแนวทางอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ เพื่ออุตสาหกรรมใผลกระทบต่อ ชุมชนน้อยที่สุด
พร้อมบอกว่า แนวทางของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์นั้นต้องทำให้ปฏิบัตจริง ซึ่งหมายถึงเป็นที่ตั้งของโรงงานที่มีกระบวนการผลิตที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดใช้พลังงานสูงสุด ทั้งปล่อยมลพิษออกมาให้น้อยที่สุด ที่สำคัญ คือใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ส่วนจะให้ถึงขั้นเป็น Zero Waste นั้น อาจจะเป็นเรื่องยาก
ไม่ต่างกับ เจริญชัย ประเทืองสุขศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ไอแอล 1996 จำกัด ในเอสซีจี เคมิคอลส์ ซึ่งเป็นนิคมฯในเขตมาบตาพุด ที่กล่าวว่า การทำให้เป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ หมายถึงเป็นอุตสาหกรรมที่ดูแลพื้นที่สีเขียว และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโญชน์สูงสุด และนำกลัมใช้ใหม่
ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมในมาบตาพุดที่ตั้งไปแล้วนั้นทางผู้ประกอบการก็พยายามปรับปรุงและดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด ทั้งการลดมลพิษ และการปลูกต้นไม้ ขณะที่กลุ่มชาวบ้าน อย่างยุภา ประทุมชาติ แกนนำ ชาวบ้าน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง กังวลกับ แนวทางนิคมฯอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์เนื่องจากกำลังมีนิคมฯในรูปแบบนี้เกิดนำร่องที่ อ.บ้านค่าย
โดยเขาบอกว่า พื้นที่เกือบทั้งหมดใน อ.บ้านค่ายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและชาวบ้านที่นี้ก็เป็นเกษตรกรรม เพราะสภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวยแต่ระยะหลัง อ.บ้านค่ายก็หนีไม่พ้นการรุกคืบของอุตสาหกรรม โดยบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) กำลังจะก่อสร้างนิคมฯเชิงนิเวศน์ที่นี้โดยมาบอกกับชาวบ้านว่า จะเกิดนิคมฯสีเขียว ของบริษัท ซึ่งที่ตั้งของนิคมฯอยู่กลางพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติ
ที่เรากังวล คือ อ.บ้านค่าย มีลำคลองใหญ่ไหลผ่านกลางพื้นที่เป็นเส้นเลือดสำคัญหล่อเลี้ยงชาวระยองที่อยู่โดยรอบ โดยคนบ้านค่ายทั้งอำเภอก็บริโภคน้ำจากคลองนี้ และคลองนี้ก็ไหลลงทะเลที่อำเภอเมืองระยอง ซึ่งที่ผ่านมาก็มีโรงงานปล่อยน้ำเสียลงคลองแห่งนี้มาตลอดนี้คือผลเสียที่ชาวบ้านได้รับ" ยุภา กล่าวย้ำ
พร้อมบอกว่า รัฐและผู้ลงทุนต้องมาถามชาว ว่าอยากได้ความเจริญหรือไม่ ไม่ใช่มายัดเยียดให้เหมือนที่ผ่านมา และ คำถามของชาวบ้านก็คือ สีเขียวที่เกิดจากอุตสาหกรรมมันจะดีกว่าสีเขียวที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้อย่างไร และอยากถามว่าใครได้รับประโยชน์จากสีที่อ้างว่าเป็นสีเขียวแบบใหม่
ยุภา บอกอีกว่า ข้อสงสัยของเรา คือ ระยองเป็นพื้นที่เกษตรกรรมแต่ทำไมระยองยังคงเป็นพื้นที่ลงทุนอุตสาหกรรมหลัก จนปัจจุบันพื้นที่เกินครึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมและ นิคมฯและกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกๆ เขตของจังหวัดระยอง รวมทั้งในพื้นที่ เรือก สวน ไร่ นา ตอนนี้พื้นที่สีเขียวของระยอง ถูกนิคมและรงงานเข้าไปรุกล้ำโดยไม่เคยมีใครฟังเสียงร้องของของชาวบ้านที่มาอยู่ดั้งเดิม ที่อยากอยู่ท่ามกลางสีเขียวตามธรรมชาติ ทั้งต้องการอากาศที่บริสุทธิ์ เพราะเราไม่ต้องการเป็นแบบมาบตาพุด"