เนื้อหาวันที่ : 2012-11-30 15:53:25 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3042 views

บมจ.น้ำประปาไทย ลุยโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน-ขยายธุรกิจน้ำประปาปี 56 ออกหุ้นกู้ 5พันลบ.

เตรียมลงทุนโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มและโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ(ไบโอแมส) รวมทั้งมองหาโอกาสลงทุนโครงการพลังงานลม พร้อมทั้งเดินหน้าขยายธุรกิจน้ำประปา

บมจ.น้ำประปาไทย(TTW) ลุยโครงการพลังงานในปี 56 เตรียมลงทุนโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มและโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ(ไบโอแมส) รวมทั้งมองหาโอกาสลงทุนโครงการพลังงานลม พร้อมทั้งเดินหน้าขยายธุรกิจน้ำประปา คาดว่าจะเข้าซื้อกิจการผลิตน้ำประปาในประเทศ 1 แห่ง ใช้เงินลงทุนราว 1 พันล้านบาท โดยบริษัทมีแผนจะออกหุ้นกู้วงเงินราว 5 พันล้านในปีหน้า เพื่อชดเชยหุ้นกู้ชุดเดิมที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือน ก.พ.56 และอีกส่วนหนึ่งจะใช้เป็นเงินลงทุน

บริษัทตั้งเป้ารายได้ในช่วง 5 ปี (56-60) เติบโตเฉลี่ยปีละ 15% ขณะที่ตั้งงบลงทุนรวมราว 2.38 หมื่นล้านบาท พร้อมทั้งคาดว่าจะได้เห็นการขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ หลังจากศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนในพม่า ลาว และเวียดนามไว้แล้ว

นายสมโพธิ ศรีภูมิ กรรมการผู้จัดการ TTW กล่าวว่า บริษัทฯมั่นใจรายได้ปี 56 เติบโต 15% เพิ่มขึ้นเป็น 6 พันล้านบาท จากปีนี้ 5.3 ล้านบาท เนื่องจากการจ่ายน้ำประปาเพิ่มขึ้น และการปรับขึ้นค่าน้ำประปาประมาณ 3% และคาดว่ากำไรสุทธิในปี 56 จะดีกว่าปี 55 ด้วย เนื่องจากการได้รับประโยชน์จากนโยบายการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% และมีกำไรพิเศษจากการได้ภาษีคืนจากนโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน(BOI) รวมทั้งตั้งเป้าภายใน 5 ปีข้างหน้ารายได้เติบโตปีละ 15% โดยภายในปี 60 บริษัทฯจะสามารถทำรายได้ได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

ด้านเงินลงทุนที่ใช้ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี56-60) ตั้งงบไว้ที่ 2.38 หมื่นล้านบาท โดยจัดสรรเป็นการลงทุนในโครงการน้ำ 40% พลังงาน 30% และสิ่งแวดล้อม 30% ซึ่งแหล่งเงินทุนมาจากการออกหุ้นกู้ใหม่ 5 พันล้านบาท ภายในปี 56 เงินกู้ธนาคาร 1.2 หมื่นล้านบาท หุ้นกู้เดิม 3.5 พันล้านบาท และกระแสเงินสดของบริษัทอีก 3.3 พันล้านบาท

โดยในปี 56 บริษัทจะใช้เงินลงทุน จำนวน 4.5 - 5.0 พันล้านบาท โดยจะนำไปซื้อกิจการผลิตน้ำประปาภายในประเทศอีก 1 แห่ง มูลค่าประมาณ 1 พันล้นบาท โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 20,000-30,000 ลบ.ม./วัน ซึ่งจะได้รับความชัดเจนในปีหน้า และขยายกำลังการผลิตของโรงผลิตน้ำประปาที่ปทุมธานีเป็น 4.8 แสน ลบ.ม./วัน จากเดิม 3.8 แสน ลบ.ม./วัน ส่วนโรงงานผลิตน้ำประปาที่สมุทรสาครที่จะขยายกำลังการผลิต จะเป็นการตั้งโรงงานแห่งใหม่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 2 พันล้านบาท ในการสร้างโรงงานใหม่และซื้อเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้

ส่วนโครงการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (โซล่าร์ ฟาร์ม) มีขนาดกำลังผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ โดยบริษัทเข้าไปถือหุ้นในายสมโพธิ ศรีภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TTW กล่าวว่า บริษัทฯมั่นใจรายได้ปี 56 เติบโต 15% เพิ่มขึ้นเป็น 6 พันล้านบาท จากปีนี้ 5.3 ล้านบาท เนื่องจากการจ่ายน้ำประปาเพิ่ม และการปรับขึ้นค่าน้ำประปาประมาณ 3% และทำให้กำรสุทธิในปี 56 เติบโตตามไปด้วย เนื่องจากการได้รับประโยชน์จากนโยบายการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล 20% และมีกำไรพิเศษจากการได้ภาษีคืนจากนโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน(BOI) และตั้งเป้าภายใน 5 ปีข้างหน้ารายได้เติบโตปีละ 15% โดยภายในปี 60 บริษัทฯจะสามารถทำรายได้ได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท

ด้านเงินลงทุนที่ใช้ในช่วง 5 ปีข้างหน้า (56-60) ตั้งไว้ที่ 2.38 หมื่นล้านบาท โดยจัดสรรเป็นการลงทุนในโครงการน้ำ 40% พลังงาน 30% และสิ่งแวดล้อม 30% ซึ่งแหล่งเงินทุนมาจากการออกหุ้นกู้ใหม่ 5 พันล้านบาท ภายในปี 56 เงินกู้ธนาคาร 1.2 หมื่นล้านบาท หุ้นกู้เดิม 3.5 พันล้านบาท และกระแสเงินสดของบริษัทอีก 3.3 พันล้านบาท และแบ่งงบไว้ใช้ในการลงทุนในปี 56 4.5-5 พันล้านบาท โดยจะนำไปซื้อธุรกิจน้ำประปาภายในประเทศอีก 1 แห่ง มูลค่าประมาณ 1 พันล้นบาท โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 20,000-30,000 ลบ.ม./วัน ซึ่งจะได้รับความชัดเจนในปีหน้า และขยายกำลังการผลิตของโรงผลิตน้ำประปาที่ปทุมธานีเป็น 4.8 แสน ลบ.ม./วัน จากเดิม 3.8 แสน ลบ.ม./วัน ส่วนโรงงานผลิตน้ำประปาที่สมุทรสาครที่จะขยายกำลังการผลิต จะเป็นการตั้งโรงงานแห่งใหม่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 2 พันล้านบาท ในการสร้างโรงงานใหม่และซื้อเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้

ส่วนโครงการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (โซล่าร์ ฟาร์ม) จะมีกำลังผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ โดยบริษัทเข้าไปถือหุ้นในบมจ.ซีเค พาวเวอร์ (CPK)สัดส่วน 30% โดย CPK มีเขื่อนน้ำงึม 2 และ มีโซล่าร์ ฟาร์ม 2-3 แห่ง และบริษัทฯเองก็มีแผนที่จะโซล่าร์ ฟาร์มขึ้นเอง

สำหรับการตั้งโรงไฟฟ้าไบโอแมส 1 แห่งในปี 56 เป็นรูปแบบที่บริษัทฯลงทุนเอง ซึ่งต้องมีการเจรจากับทางเทศบาลเกี่ยวกับเรื่องการทำสัญญา และเจรจากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คาดว่าได้ความชัดเจนในปีหน้า โดยพื้นที่เป้าหมายที่ตั้งโรงงานจะต้องมีปริมาณขยะไม่ต่ำกว่า 2,000 ตัน/วัน ซึ่งคงไม่ใช่ในกรุงเทพฯ เนื่องจากสถานที่ตั้งอาจไม่เอื้ออำนวย อาจเป็นหัวเมืองใหญ่ในต่างจังหวัด เช่น พัทยา ที่มีปริมาณขยะเป็นอันดับที่สองรองจากกรุงเทพฯ ประมาณ 5-6 พันตัน/วัน ตอนนี้อยู่ในระหว่างการศึกษา

ส่วนโครงการบำบัดน้ำเสียชุมชนที่บริษัทฯที่มีแผนจะขยายกิจการไว้นั้น นายสมโพธิ กล่าวว่า ปีหน้ายังไม่ได้เห็นโครงการนี้ เนื่องจากยังคงต้องศึกษารูปแบบการทำธุรกิจ เทคโนโลยี และพัฒนาศักยภาพของบุคลลากร แต่คาดว่าจะสามารถเกิดขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า แต่ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นปีใด เนื่องจากกำลังบำบัดน้ำเสีนของประเทศในปัจจุบันไม่เพียงพอกับน้ำเสียที่เกิดขึ้น โดยมีน้ำเสียเกิดขึ้น 3 ล้านลบ.ม./วัน แต่มีกำลังการบำบัดน้ำเสียเพียง 9 แสน ลบ.ม./วัน คิดเป็นประสิธิภาพการบำบัดน้ำเสียเพียง 30% และมีโรงบำบัดน้ำเสียในกรุงเทพฯแค่ 8 แห่ง ต่ำกว่าแผนที่ตั้งไว้ 29 แห่ง จึงเป็นสิ่งที่กดดันให้ผู้นำกทม.ต้องเร่งทำโรงงานบำบัดน้ำเสีย ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริง รูปแบบการลงทุนน่าจะเป็นภาครัฐจะเชิญชวนให้เอกชนมาร่วมลงทุน

ด้านโอกาสในการลงทุนในต่างประเทศ ได้มีการเจรจากับหน่วยงานราชการในประเทศลาว พม่า และเวียดนามไว้แล้ว ในการเข้าไปลงทุนทำธุรกิจน้ำประปา เนื่องจากมองว่าปัจจุบันประเทศในอาเซียนกลุ่มที่เข้าไปลงทุนส่วนมากเป็นกลุ่มสื่อสาร พลังงาน และขนส่ง แต่ด้านน้ำประปายังไม่มีธุรกิจเข้าไปลงทุน ซึ่งนายสมโพธิ คาดว่าในปีหน้าการลงทุนในต่างประเทศจะยังไม่เกิดขึ้นสำหรับบริษัทฯ ยังคงต้องมองไปอีกภายใน 5 ข้างปีข้างหน้า