เนื้อหาวันที่ : 2012-11-20 11:00:21 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1510 views

สศช.เตือนบาทแข็ง-น้ำมันแพง หนุนเอกชนลงทุนรับมือศก.56

สศช.เตือนบาทแข็ง-น้ำมันแพงแนะธปท.ผ่อนนโยบายการเงินหนุนเอกชนลงทุนรับมือศก.56

สศช.ชี้ไตรมาส 3 ส่งออกติดลบ 3% เป้าทั้งปีฮวบจาก 15% เหลือ 5.5% เตือนปีหน้าระวังบาทแข็งปั๋ง ภัยแล้ง น้ำมันแพง แนะ ธปท.อย่าเข้มงวดนโยบายการเงิน หนุนเอกชนลงทุน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาส 3 ปีนี้ว่า การส่งออกติดลบ 3% เศรษฐกิจในไตรมาส 3 ขยายตัว 3% ชะลอตัวลงจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวได้ 4.4% โดยมีปัจจัยจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ที่ขยายตัวถึง 6.5% เพิ่มขึ้นจาก 5.6% ในไตรมาสที่สอง และการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 13.2% ในไตรมาส 3 ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวได้ 5.5% การส่งออกอยู่ที่ 5.5% การลงทุนรวมเพิ่มขึ้น 12% การบริโภคครัวเรือนเฉลี่ย 5.2% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 3%

 นายอาคมกล่าวว่า ส่วนไตรมาส 4 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวมากกว่า 10% เนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อนจีดีพีติดลบถึง 8.9% จากผลอุทกภัย ส่วนเศรษฐกิจปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.5-5.5% และการส่งออกจะขยายตัวได้ 12.2% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกและการส่งออกดีขึ้น การบริโภคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 4% การลงทุนรวมอยู่ที่ 8.1% อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 2.5-3.5% ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1%

"คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2555 จะอยู่ที่ 5.5% จากเดิมที่ตั้งเป้า 15% อย่างไรก็ตาม ตัวเลขส่งออกที่ปรับลดลงนั้นเนื่องมาจากราคาส่งออกสินค้าที่แต่เดิมต้องปรับขึ้นปีละ 4-5% ไม่ได้เพิ่มขึ้น จึงทาให้ต้องปรับลดการส่งออกลง 5% เศรษฐกิจโลกไม่ได้ขยายตัวตามที่คาดปรับลดตัวเลขอีก 1% การฟื้นตัวของโรงงานที่ได้รับผลกระทบไม่เป็นไปตามคาดปรับลด 1.5% ส่งออกข้าวหดตัว 38% ต้องปรับลดการส่งออกลง 0.4% รวมปรับเป้าส่งออกลดลงประมาณ 8% รวมการส่งออก 9 เดือนแรกปีนี้ส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ติดลบ 0.9%" นายอาคมกล่าว

ทั้งนี้ นโยบายทางการเงินควรให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การเข้มงวดนโยบายการเงินไม่ควรเกิดขึ้นในเวลานี้ เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปีนี้เกิดจากการลงทุนเพื่อการขยายกาลังการผลิตของเอกชนและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ และเป็นปีแรกที่ฟื้นตัวจากเหตุอุทกภัย ส่วนการบริโภคที่พุ่งสูงขึ้นนั้น เนื่องมาจากโครงการรถยนต์คันแรก ดังนั้น หากจะดูปัจจัยที่มาจากเรื่องการลงทุนก็ควรส่งเสริมต่อ และคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจในปีหน้าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมแล้ว

นายอาคมกล่าวว่า  ปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในปี 2556 ต้องดูเรื่องต้นทุนอุตสาหกรรม และราคานามันที่จะปรับสูงขึ้น ปัญหาภัยแล้งในภาคการเกษตร รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาท สภาพคล่องส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกที่เกิดจากมาตรการคิวอี3 อาจทาให้เงินบาทแข็งค่าเร็วกว่าการประมาณการ รวมทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทาให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเงิน

อย่างไรก็ตาม การดาเนินนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2555 และปี 2556 ประกอบด้วยการเร่งรัดการส่งออก ติดตามการแข็งค่าของเงินบาท โดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขยาดย่อย ส่งเสริมให้นักลงทุนไปลงทุนต่างประเทศ เร่งรัดการลงทุนของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนความเป็นจริงและปรับกฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุน เพื่อรับประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนสาคัญๆ