ส.อ.ท. จับมือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ ม. แม่ฟ้าหลวง ออกแบบหลักสูตรมาตรฐานการบริหารจัดการด้านลอจิสติกส์เพียงพอกับความต้องการในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ทำให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการแข่งขัน ลดต้นทุนสูงในการดำเนินธุรกิจ
ส.อ.ท. จับมือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ ม. แม่ฟ้าหลวง ออกแบบหลักสูตรมาตรฐานการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์เพียงพอกับความต้องการในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่การขาดแคลนบุคลากรที่เหมาะสม |
. |
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้จัดให้มีพิธีลงนามในสัญญาการออกแบบหลักสูตรการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งหลังเสร็จสิ้นการลงนามในสัญญา นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.คณิต เฉลยจรรยา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยูร โตสงวน คณบดีสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้เปิดเผยถึงความเป็นมาของความร่วมมือในครั้งนี้ว่า เกิดจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกันสนับสนุนโครงการพัฒนาขีดความสามารถ SMEs ด้านโลจิสติกส์ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้ดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากที่สุดในด้านโลจิสติกส์ โดย ส.อ.ท.ได้คัดเลือกผู้ออกแบบหลักสูตรการบริหารจัดการโลจิสติกส์จากสถาบันการศึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ ซึ่งได้ออกแบบ 3 หลักสูตรด้วยกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในภาคอุตสาหกรรม SMEs |
. |
กรอบความร่วมมือตามสัญญานี้ ประกอบด้วย การออกแบบหลักสูตร 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรการบริหารจัดการโลจิสติกส์เบื้องต้น หลักสูตรการบริหารจัดการโลจิสติกส์แบบบูรณาการ และหลักสูตรการจัดจ้างด้านโลจิสติกส์ (Outsourcing) เพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs โดยจะมีการอบรมทั้ง 3 หลักสูตร ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายนนี้ ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่สนใจ |
. |
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ในหลายสาขายังขาดแคลนบุคลากรในงานด้านโลจิสติกส์ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับธุรกิจและอุตสาหกรรมนั้นๆ เพราะสถาบันการศึกษาในระบบมาตรฐานยังไม่สามารถผลิตผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านโลจิสติกส์ให้เพียงพอกับความต้องการในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการได้ การขาดแคลนบุคลากรที่เหมาะสมในงานโลจิสติกส์ ทำให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกิจกรรมโลจิสติกส์ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต ได้แก่ การเก็บสินค้าคงคลังมากเกินความจำเป็น หรือในบางช่วงเวลามีสินค้าคงคลังไม่เพียงพอ การรายงานสินค้าคงคลังผิดพลาด ขาดการวางแผนงานและการวางระบบงานโลจิสติกส์ที่ดีในระดับต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการแข่งขันลดลง มีต้นทุนสูงในการดำเนินธุรกิจ |
. |
การอบรมในโครงการพัฒนาขีดความสามารถ SMEs ด้านโลจิสติกส์ ในหลักสูตรการบริหารจัดการ โลจิสติกส์แบบบูรณาการ จะจัดอบรมไปตามภูมิภาคต่างๆ พร้อมเยี่ยมชมสถานประกอบการ 5 จังหวัดด้วยกัน คือ กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม 2550 จังหวัดลำปาง วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม 2550 จังหวัดระยอง วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2550 จังหวัดสงขลา วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2550 และจังหวัดนครราชสีมา วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2550 ด้านหลักสูตรการจัดจ้างด้านโลจิสติกส์ จะจัดอบรมที่กรุงเทพมหานคร ในวันพฤหัสบดีที่ 19 และ 26 กรกฎาคม นี้ และหลักสูตรการบริหารจัดการโลจิสติกส์เบื้องต้น จะจัดอบรมที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 3, 9, 16, 23, 30 สิงหาคม และวันที่ 6 กันยายน 2550 องค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาขีดความสามารถ SMEs ด้านโลจิสติกส์ |