แพทย์ เพรียว แอนด์ ไบร์ท คลินิค แนะคนไทยรุ่นใหม่กับ โรคทนอาหารไม่ได้
ผศ.ดร.พญ.บริสุทธิ์ แสนมโน หาญพานิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเวชศาสตร์วัยยุวัฒน์และ สุขภาพความงาม เพรียว แอนด์ ไบร์ท คลินิก (Pure'n Bright Med Dent Clinic ) กล่าวว่า “คนไทยคนรุ่นใหม่สมัยนี้ที่ทำงานหนักตลอดเวลา หรือทำงานมากขึ้นในแต่ละวัน เมื่ออายุมากขึ้น ตั้งแต่วัย 30 ปีขึ้นไป อาจเสี่ยงเป็นโรคทนอาหารไม่ได้ หรือ อยู่ในภาวะทนอาหารไม่ได้( Food intolerance) ซึ่งเป็นโรคเกิดขึ้นจากหลายๆ ปัจจัยจากการรับประทานอาหาร บวกกับการดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล
การนั่งทำงานตลอดเวลา การพักผ่อนน้อยไม่เพียงพอ การออกกำลังกายน้อยหรือไม่ได้ออกเลย รวมถึงเรื่องอาหารการกินก็เป็นสิ่งใกล้ตัว ที่เราอาจจะยังไม่เคยสังเกตุ บางครั้งการรับประทานอาหารแม้ว่าจะเป็นเมนูเดิมๆ กลับมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ หรือบางช่วงทานอะไรก็มีอาการท้องเสียง่ายๆ แบบหาสามเหตุไม่ได้ จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าอาการเหล่านี้จะเกิดในแต่ละคนต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ทั้งยีนส์ กรรมพันธุ์ สุขภาพ ฯลฯ
ภาวะเหล่านี้เราเรียกว่าภาวะ “ทนอาหารไม่ได้” หรือ “Food intolerance” ค่ะ จากข้อมูลทางการแพทย์ที่มีการวิจัยพบว่า Food intolerance หรือ ภาวะ “ทนอาหารไม่ได้” เกิดจากบางส่วนของโมเลกุลอาหารที่เรารับประทาน ไปกระตุ้นอาการต่างๆ ผ่านทางระบบการย่อยอาหาร และผ่านทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งโมเลกุลของอาหาร หรือ bioactive molecules หรือ food chemicals จะถูกส่งผ่านผนังลำใส้ได้ง่ายหากร่างกายอ่อนแอ แต่หากร่างกายแข็งแรงปกติ โมเลกุลของอาหารเหล่านี้จะผ่าเข้าไปไม่ได้ค่ะ
หลังจากนั้นโมเลกุลจะซึมผ่านเข้ามาจะมุ่งหน้าไปกระตุ้นเซลล์ของะบบภูมิคุ้มกันที่ชื่อ Mast cells และเซลล์ชนิดนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะเห็นได้ว่าส่วนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็นเพียงบางส่วนของอาหาร ดังนั้น หลายครั้งอาการ Food intolerance จะไม่สามารถหาสาเหตุได้ แต่ก็จะสามารถจำกัดกลุ่มของอาหารที่เป็นปัญหาอยู่บ่อยครั้งได้ เช่น กลุ่มอาหารที่มีรสเผ็ด (spices), กลุ่มอาหารหมักด้วยยีสต์ (yeast extract), ชา (tea), ถั่ว (nuts), เบียรหรือไวน์์ (beer and wine), เนยแข็ง (cheese), ช๊อคโกแลต (chocolate) เป็นต้น ซึ่งเราจำเป็นต้องหมั่นสังเกตุว่าเมื่อรับประทานอาหารประเภทใดแล้วก่อให้เกิดปัญหาก็ควรหลีกเลี่ยง
นอกจากภาวะ Food intolerance จะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารแล้ว บางกรณีอาจจะมีอาการร่วมมากกว่า 1 ระบบ เช่น อาการผื่นผิวหนังอักเสบ, อาการคล้ายภูมิแพ้ น้ำมูกไหล, บางท่านอาจจะมีอาการวิงเวียนศรีษะ หรือรู้สึกปัสาวะขัดๆ (cramping back pain by uterine contraction) เป็นต้นค่ะ หากคุณรู้สึกไม่แน่ใจว่าจะมีภาวะ Food intolerance หรือไม่ อันอับแรกสุด เก็บข้อมูลด้วยตัวคุณเองให้มากที่สุด เช่น อาการเกิดอะไร เมื่อรับประทานอะไร บ่อยแค่ไหน จากนั้น ควรรีบพบแพทย์พร้อมแจ้งอาการให้ทราบ หากแพทย์วินิจฉัยเห็นว่ามีความเป็นไปได้ว่าคุณเกิดภาวะ Food intolerance แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด พร้อมส่งผลตรวจไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์เชิงลึกต่อไป
แนวทางการรักษา เนื่องจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิยาของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นอันดับแรกสุด เราต้องหยุดอาการเหล่านี้เสียก่อน แพทย์อาจวินิจฉัยให้คุณหยุดรับประทานอาหารชนิดที่สงสัยว่าจะก่อให้เกิดการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของคุณในระยะหนึ่ง และระหว่างนี้ แพทย์อาจสั่งยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ โดยทั่วไปหากเป็นแค่ภาวะ Food intolerance คุณอาจจะต้องหยุดอาหารที่สงสัยว่าจะก่อให้เกิดอาการประมาณ 3-6 เดือน ขึ้นกับระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น
จากนั้นเมื่อร่างกายฟื้นตัวเต็มที่ แล้ว คุณสามารถทานอาหารชนิดนั้นๆ ได้อีก แต่ต้องเป็นการเริ่มรับประทานในปริมาณน้อยๆ เพื่อให้ร่างกายเริ่มสร้างภาวะ Food challenging จากนั้น จึงค่อยๆเพิ่มปริมาณจนเป็นขนาดที่เรารับประทานปกติค่ะ ดังนั้นคนรุ่นใหม่ที่มีเวลาสำรวจตัวเองน้อย ลองปรับเวลาสักนิด ให้เวลากับสุขภาพตัวเองมากขึ้น ไม่งั้นโรคที่เราคาดไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้นกับเราได้นะคะ ก่อนที่คนไทยคนรุ่นใหม่จะเป็นโรคต่างๆที่เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้นไปกว่านี้ค่ะ ”