เนื้อหาวันที่ : 2012-10-15 07:56:44 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2676 views

แผนผนึกพลังงานในกลุ่มประเทศอาเซียน

เสียงสะท้อนจากตัวแทนผู้นำพลังงานภาครัฐและเอกชน ระหว่างไทยกับอาเซียนถึงแนวทางการสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางพลังงาน มีเป้าหมายเพื่อขยายการลงทุนภาคเอกชน

เสียงสะท้อนจากตัวแทนผู้นำพลังงานภาครัฐและเอกชน ระหว่างไทยกับอาเซียนถึงแนวทางการสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางพลังงาน มีเป้าหมายเพื่อขยายการลงทุนภาคเอกชน การจัดการภายในประเทศ การแข่งขันด้านแหล่งทรัพยากร เป้าหมายความร่วมมือเพื่อใช้โครงการพื้นฐานที่มีอยู่ และการใช้พลังงานทางเลือก การประหยัดและเก็บรักษาพลังงานเพื่อให้สมดุลกับความต้องการใช้

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558 เป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ ความร่วมมือด้านพลังงานไม่ได้เกิดขึ้นง่าย สิ่งที่จะต้องทำคือ ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และตลาดเดียวกัน ต้องจุดประกายให้เกิดการแบ่งปัน ใส่ใจอนุรักษ์ มีศักยภาพ

เพราะพลังงานทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติต้องอาศัยการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งไทยกับอาเซียนพยายามเดินหน้าโครงการความมั่นคงทางพลังงาน 2 เมกะโปรเจ็กต์คือ Trans-Asia Gas Pipeline กับ ASEAN Power Grid ระบบโครงข่ายเชื่อมโยงการขนส่งและระบบท่อส่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องกลไกราคา เทคโนโลยีการเชื่อมโยง โครงสร้างพื้นฐานทั้งท่อก๊าซและกริด

ซึ่งเป็นโครงการการกระจายทรัพยากรซึ่งกันและกันนั้น จะต้องใช้พลังทางเทคนิคมหาศาล ประสานความร่วมมือ บวกกับบูรณาการภารกิจเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง โดยจัดลำดับความสำคัญ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นและชาติ ปัจจุบันบางประเทศหันมาพัฒนาพลังงานสะอาด ซึ่งในอนาคตปัจจัยที่จะเป็นตัวเร่งให้แต่ละประเทศเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานคือ อัตราการเติบโตของประชากรปีละ 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ความต้องการใช้พลังงานพุ่งขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 3 แสนตัน

สมาคมพลังงานอาเซียนจึงจัดทำนโยบายพลังงานขึ้นมารองรับนั่นคือ วางแผนเพิ่มขีดความสามารถรวมกำลังการผลิตกำหนดโดยรัฐกับกลุ่มอาเซียน เกื้อกูลกับทรัพยากรทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ลม และอื่นๆ และการลงทุนจะเกิดขึ้นได้รับความสนใจต่อเมื่อรัฐบาลประเทศนั้นๆ ให้ความมั่นใจทางการเงิน

บทบาทการทำสัญญาตรงไปตรงมาในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า พัฒนาโครงการแยกและผลิตก๊าซ ดูแลการค้าในภูมิภาค ศักยภาพของกฎเกณฑ์ กฎหมายจำเป็นมาก โดยเฉพาะสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในประทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางนโยบาย การลงทุนจะหยุดชะงัก เพราะอาเซียนและเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญกับผู้ค้าน้ำมัน และต้องมุ่งพัฒนาพลังงานทางเลือก

ซึ่งไทยโดดเด่นด้านการขยายโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (solar cell) โซลาร์เซลล์เป็นพลังงานทางเลือกที่ถูกจับตามาก ความต้องการใช้จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 4.5 เปอร์เซ็นต์ใกล้เคียงกับการเพิ่มของประชากร แยกการใช้เป็น 2 ตลาด คือ ชนบทใช้น้อย ในเมืองใช้มาก จึงต้องรีบกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับเปอร์เซ็นต์ปริมาณการใช้ทั้งภูมิภาค

แผนพัฒนาพลังงานในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทางเลือกเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการรับซื้อค่าไฟฟ้าคืน (adder) ต้องชัดเจน ไทยและอาเซียนต้องช่วยกันคิดถึงการส่งต่อเรื่องพลังงานสะอาดสู่คนรุ่นใหม่ในอนาคต โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซียได้สนับสนุนนโยบายการเชื่อมโยงพลังงานอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับแหล่งพลังงานใหม่ในประเทศกัมพูชา พม่า เวียดนาม ฯลฯ ทั้งถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และจีโอเทอร์นอล ซึ่งโครงการ ASEAN Power Grid จะเกิดขึ้นได้เมื่อทุกประเทศร่วมแก้ปัญหาภายในด้วยกัน และก่อนจะเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ควรช่วยคนภายในให้ได้ก่อนจึงค่อยขยายการส่งออกไปยังเพื่อนบ้าน

ดังนั้น อาเซียนทุกประเทศควรเร่งสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการทำความร่วมมือทวิภาคีและอื่นๆ กำหนดเงื่อนไขแล้วร่วมกันปฏิบัติ ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สร้างเสถียรภาพการทำงานเกี่ยวกับกฎหมาย ประกาศนโยบายความมั่นคงพลังงานระดับชาติ และบริหารความเสี่ยงพลังงานกับเศรษฐกิจให้สมดุลในทุกวิกฤต

เรียบเรียงโดย พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์
ส่วนการประชาสัมพันธ์ สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์