คาซัคสถาน ประเทศที่อุดมไปด้วยน้ำมันปฏิเสธการใช้พลังงานทดแทนในขณะนี้ โดยระบุว่า คาซัคสถานจะยังคงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ
คาซัคสถาน ประเทศที่อุดมไปด้วยน้ำมันปฏิเสธการใช้พลังงานทดแทนในขณะนี้ โดยระบุว่า คาซัคสถานจะยังคงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ
ทิเมอร์ คูลิบาเยฟ (Timur Kulibayev) ประธานสมาคมคาซเอ็นเนอร์จี (KAZENERGY Association) กล่าวกับสื่อมวลชนภายหลังการประชุม KazEnergy Eurasian Forum ครั้งที่ 7 ว่า คาซัคสถานมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการพลังงานของประเทศให้ได้ 10% ด้วยพลังงานทดแทน
นาย ทิเมอร์ คูลิบาเยฟ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การพูดถึงเรื่องพลังงานทดแทนถือเป็นเรื่องที่นิยมกันมาก เราจะหาพลังงานทดแทน เมื่อต้นทุนการผลิตต่ำกว่า และเป็นไปได้”
ข่าวที่เผยแพร่โดย คาซเอ็นเนอร์จี ระบุว่า การผลิตกระแสไฟฟ้า 80% ของคาซัคสถานผลิตขึ้นจากถ่านหิน คาซัคสถานเป็นหนึ่งในแหล่งทรัพยากรถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) รองจากรัสเซียกกำลังมองหาเป้าหมายทางการเงินในปัจจุบันมากกว่าเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
ลักษณะภูมิประเทศที่ไม่ติดทะเลเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมในการเป็นผู้ผลิตพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่ แต่ทิเมอร์ คูลิบาเยฟ กล่าวว่า คาซัคสถานควรจะรอให้ภาคการผลิตพลังงานดังกล่าวมีต้นทุนที่ถูกลง คาซัคสถานไม่เพียงแต่มีช่องแคบระหว่างภูเขาหลายแห่งที่ทำหน้าที่เป็นช่องลมเท่านั้น แต่ทางตอนใต้ของประเทศยังมีแดด 300 วันต่อปี
นาย ทิเมอร์ คูลิบาเยฟ อยู่ในระดับแถวหน้าของการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการผลิตพลังงาน และน้ำมันของประเทศเอเชียกลางมาตั้งแต่ 15 ปีที่แล้วการแถลงการณ์ของเขาเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนชาวต่างชาติที่กำลังจะเข้ามาตักตวงจากภาคอุตสาหกรรมถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมัน
งานประจำปีระยะเวลา 2 วัน สามารถดึงดูดเหล่าตัวแทนมากกว่า 900 ราย ซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำทางการเมือง นักการทูต ผู้นำในอุตสาหกรรมก๊าซ และน้ำมัน และผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทผลิตปิโตรเลียมชั้นนำจากทั่วโลก องค์กรร่วมปิโตรเลียมโลก (World Petroleum Council) ยังได้จัดการประชุมขึ้นเป็นระยะเวลา 3 วัน ใกล้กับการประชุมนี้ด้วย
เจ้าหน้าที่รัฐบาลคาซัคสถานยังกล่าวอีกว่า พวกเขาจะไม่จำหน่ายน้ำมันเพิ่มเติมให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านรายใหญ่อย่างจีน เนื่องจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอ่าวเปอร์เซียน ซึ่งอาจนำความตกต่ำมาสู่อุปทานน้ำมันทั่วโลก อินเดีย และจีน จะได้รับผลกระทบที่เป็นลบจากผู้จำหน่ายน้ำมัน หากมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในอ่าวเปอร์เซีย
นายเบอริก โทลัมบาเยฟ (Berik Tolumbayev) รัฐมนตรีช่วยกระทรวงพลังงาน สำหรับน้ำมัน และก๊าซ กล่าวว่า คาซัคสถานไม่สามารถเป็นผู้จำหน่ายน้ำมันรายหลักเพียงรายเดียวของจีนได้ เขากล่าวว่า บริษัทของจีนจำนวนมากได้เข้ามาตั้งสำนักงานในคาซัคสถาน และการลงทุนของจีนถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับคาซัคสถาน อย่างไรก็ตาม การจัดจำหน่ายไปยังจีนได้มาถึงจุดสูงสุดแล้ว
นาย ทิเมอร์ คูลิบาเยฟ กล่าวด้วยว่า การจัดจำหน่ายสู่จีนสามารถเพิ่มขึ้นได้เพียง 20 ล้านตัน จาก 10 ตันต่อปีสำหรับน้ำมันดิบ ตั้งแต่ที่ได้มีการพัฒนาท่อส่งน้ำมันสู่จีน เขากล่าวว่า รัฐบาลพุ่งเป้าไปที่การผลิตก๊าซของเมืองหลัก และเมืองเล็กต่างๆ
การผลิตในปัจจุบันของคาซัคสถานอยู่ภายใต้อำนาจของ 2 บริษัทใหญ่ คือ เทนกิซ (Tengiz) และ คาราชากานัค (Karachaganak) ซึ่งมีปริมาณการผลิตมากกว่า 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นปริมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตทั้งหมดของคาซัคสถาน
นาย ทิเมอร์ คูลิบาเยฟ กล่าวถึงความสำเร็จของการผลิตน้ำมันในสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยแก่การลงทุนภาคก๊าซ และน้ำมันของนักลงทุนชาวต่างชาติว่า “นักลงทุนชาวต่างชาติหาทางนำเงินมาลงทุนในประเทศของเรา เพราะพวกเขาสามารถได้รับเงินคืนในบัญชีกระแสรายวันต่างๆได้ตลอดเวลาตามสกุลเงิน เทงกี ซึ่งเป็นสกุลเงินประจำชาติที่สามารถแลกเป็นสกุลเงินอื่นได้อย่างเต็มที่”
นาย ทิเมอร์ คูลิบาเยฟ แสดงความหวังเกี่ยวกับการริเริ่มการผลิตที่กำลังจะมีขึ้นที่แหล่งผลิตน้ำมัน คาชากัน (Kashagan) ซึ่งถูกค้นพบเมื่อปี 2543 และได้รับการขนานนามว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
แหล่งน้ำมันได้รับการพัฒนาจากลุ่มพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย เชลล์ (Shell), เอ็กซ์ซอน (Exxon), โมบิล (Mobil), โททาล (Total), โคโนโค่ฟิลลิปส์ (ConocoPhillips), คาซมูไนก๊าซ (KasMunaiGas) บริษัทน้ำมันที่ดำเนินกิจการโดยรัฐบาลคาซัคสถาน, อินเป็กซ์ (INPEX) และ อีไน (Eni) บริษัทอีไนมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลในส่วนที่ 1 ของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมัน ขณะที่เชลล์รับผิดชอบในส่วนการควบคุมการผลิต ต้นทุนทั้งหมดของโครงการยังไม่ชัดเจน เนื่องจากความไม่แน่นอนในส่วนของความต้องการทางการเงินของส่วนที่ 2 แต่ในส่วนที่ 1 จะใช้งบประมาณ 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์
ในขณะเดียวกัน องค์กรร่วมปิโตรเลียมโลก ยังได้จัดการประชุมระยะเวลา 3 วันนอกรอบการประชุมด้วยเช่นกันนายโรเบอร์โต้ บาร์ทินี่ (Roberto Bartini) ประธานองค์กรร่วมปิโตรเลียมโลก กล่าวว่า งบประมาณกว่า 20 ล้านล้านดอลลาร์ จะถูกนไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมก๊าซ และน้ำมัน ในอีก 20 ปีข้างหน้า
สมาคมพลังงานนานาชาติ (International Energy Association) ระบุว่า จะต้องใช้งบประมาณอีก 38 ล้านล้านดอลลาร์ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับความต้องการพลังงานในอนาคตภายในปี 2578 นายอุลริช เบนเตอร์บัสช์ (Ulrich Benterbusch) พนักงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (IEA) กล่าวว่า การพึ่งพาน้ำมัน เพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคตจะลดลงจากที่ปัจจุบันมีอยู่ 35% สู่ 27% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า