ผู้บริหารระดับสูงทั่วเอเชียแปซิฟิกต่างพยายามทําความเข้าใจและหาวิธีการพัฒนาเพื่อสร้างความหยั่งถึงทางธุรกิจ หรือที่เรียกว่าระบบธุรกิจอัจฉริยะ
ในขณะที่แนวโน้มของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่าง ๆ ทั่วเอเชียแปซิฟิกต่างพยายามทําความเข้าใจและหาวิธีการพัฒนาเพื่อสร้างความหยั่งถึงทางธุรกิจ หรือที่เรียกว่าระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence – BI) ให้กับองค์กรของตนในปัจจุบัน ผลสำรวจต่างๆ มากมายได้แสดงให้เห็นว่าความต้องการดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานหลายปีแล้ว ด้วยเหตุผลหลักๆก็คือองค์กรหลายแห่งยังคงประสบปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรข้อมูลที่มีอยู่รวมถึงการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการผลักดันการตัดสินใจทางธุรกิจ |
. |
จากผลการสำรวจของ BetterManagement.com (เว็บไซต์ที่ทำการวิจัยหาแนวทางพัฒนาการจัดการและตัดสินใจด้านธุรกิจแก่องค์กรทั่วโลก) แสดงให้เห็นว่ากว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารระบุว่าพวกเขาไม่เคยหรือแทบจะไม่ได้รับข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์และช่วยเสริมประสิทธิภาพของการตัดสินใจทางธุรกิจเลย หรือในบางครั้งได้รับข้อมูล แต่ก็ไม่ใช่ข้อมูลที่สามารถสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจเพื่อสร้างกลยุทธ์แก่พวกเขาได้ |
.. |
สาเหตุดังกล่าว เริ่มขึ้นจากการขาดความเข้าใจในการสร้างและกระจายความหยั่งถึงทางธุรกิจไปในระดับองค์กร และมีการใช้งานในระบบดังกล่าวอย่างไม่ต่อเนื่องจึงก่อให้เกิดการทับถมของข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้องค์กรมากมายยังประสบปัญหาในบริหารจัดการและสร้างมาตรฐานระบบธุรกิจอัจฉริยะในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะให้สามารถกระจายใช้ประโยชน์ได้ในหลาย ๆ แผนกตามความต้องการ |
. |
มีองค์กรเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่กำลังทำสิ่งที่จำเป็นในการจัดระเบียบข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดเป็นข้อมูลที่พวกเขาต้องการจริง ๆ ต่อไป |
. |
จุดนี้เองคือปัญหาที่เรียกว่าการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรที่หลายๆแห่งประสบ เมื่อต้องปฏิบัติเสมือนว่าข้อมูลเป็นทรัพย์สินระยะยาวของบริษัทเพื่อสร้างกลยุทธ์ และสร้างความแตกต่างทางธุรกิจเหนือองค์กรอื่นๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนจากเดิมที่องค์กรสามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของความรู้สึกหรือความเข้าใจที่มีต่อตลาดได้อย่างเดียว |
. |
สร้างความแตกต่างทางธุรกิจด้วย BICC (Business Intelligence Competency Center) |
ในฐานะผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบัน คุณจำเป็นต้องวางแผนการตัดสินใจระยะยาวซึ่งจะส่งผลลัพธ์เชิงบวกแก่ธุรกิจ และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านั้นก็คือ ต้องเข้าใจกระบวนการความหยั่งถึงทางธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร ซึ่งจะสนับสนุนประสิทธิภาพในการตัดสินใจโดยผ่านข้อมูลอ้างอิงที่ถูกต้อง |
. |
ในความเป็นจริงแล้ว องค์กรจะสามารถสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่งได้นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ "คุณภาพของการกระจายการหยั่งถึงข้อมูลทางธุรกิจไปยังองค์กร" และ "คุณภาพของบุคคลากรในองค์กรที่จะสามารถใช้ เรียกดู และวิเคราะห์ข้อมูลหยั่งรู้นี้ให้กลายเป็นอาวุธชั้นดีในชี้นําธุรกิจขององค์กรได้ |
. |
ในความหมายที่แท้จริงของ Business Intelligence หรือความหยั่งรู้ทางธุรกิจนั้น หมายถึง การได้ข้อมูลสําคัญทางธุรกิจที่ถูกต้อง และส่งมอบให้แก่บุคคลากรที่เป็นเป้าหมายเพื่อการวิเคราะห์ได้ และต้องอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม ทันสถานการณ์เพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้พวกเขาสามารถสร้างผลลัพธ์ที่เหนือคู่แข่งจากการตัดสินใจที่ถูกต้อง แม่นยํายิ่งขึ้น |
. |
การที่องค์กรจะได้มุมมองโดยกว้างของภาพรวมทางธุรกิจนั้นจะต้องได้รับข้อมูล ที่สําคัญ 4 ด้านคือลูกค้า การเงิน การปฏิบัติการ และความเสี่ยงในธุรกิจ เมื่อได้ข้อมูลธุรกิจที่สําคัญทั้ง 4 ด้านดังกล่าวองค์กรก็ต้องการหน่วยงานที่มาเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาและขับเคลื่อนความหยั่งรู้ทางธุรกิจให้ไหลไปในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล BICC จึงเข้ามามีบทบาทสําคัญในองค์กร |
.. |
ซึ่งองค์กรทั้งหลายต่างตระหนักดีว่า การยกระดับความหยั่งรู้ทางธุรกิจได้กลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญมากกว่าการใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว เฉกเช่นเดียวกับความหมายของคำว่า Business Intelligence (BI) BICC นั้นก็มีมุมมองที่เป็นมิติลึกไปกว่านั้น ซึ่งในแง่กลยุทธ์นั้น BICC จะเน้นเพิ่มไปที่ บุคคลากร กระบวนการ ระบบโครงสร้าง และวัฒนธรรมองค์กร |
. |
การประเมินและการริเริ่ม BICC |
ในลำดับแรกของการเริ่มต้นก่อตั้ง BICC นั้น คุณจำเป็นที่จะต้องเข้าใจว่าอะไรคือ Intelligence หรือข้อมูลธุรกิจสําคัญที่คุณต้องการ และการระบุว่าการตัดสินใจทางธุรกิจดังกล่าวจะต้องถูกกระทำใน รายวัน รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ในระดับการตัดสินใจของพนักงานในองค์กรที่มีลำดับตำแหน่งบริหารที่แตกต่างกันออกไป หลังจากนั้นคุณจะต้องมองว่าจะสามารถส่งมอบ Intelligence ที่ต้องการได้อย่างไรซึ่งแต่ละองค์กรก็ล้วนมีวิธีการที่จะทำให้เกิด Intelligence ที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีปัจจัยเฉพาะต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการสร้าง Intelligence ไม่ว่าจะเป็น ขนาดและโครงสร้างขององค์กร รูปแบบของข้อมูล ฯลฯ |
.. |
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดและจะต้องคำนึงถึงเสมอก็คือ ความเข้าใจระดับวุฒิภาวะขององค์กรในด้านขีดความสามารถของการสร้างและส่งมอบ Intelligence และในจุดนี้เองโมเดลที่มีชื่อว่า Information Evolution Model (IEM) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยบริษัท แซส ซอฟท์แวร์ จำกัด จึงกลายเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างแนวทางเพื่อประเมินระดับความพร้อมขององค์กรรวมไปถึงการวางแผนกลยุทธ์เพื่อช่วยให้องค์กรของคุณสามารถพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ โดยระบบ SAS – IEM เป็นการรวบรวมปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไปถึง 5 ระดับซึ่งจะถูกสร้างซ้อนกันขึ้นไป ได้แก่ |
.. |
· ขั้นปฏิบัติการ (Operate) – เพ่งไปที่ตัวบุคคล ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับบุคคลแต่ละราย · การรวบรวม (Consolidate) – ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในระดับส่วนงาน · การผสมผสาน (Integrate) – มาตรฐานในระดับองค์กรจะถูกนำมาใช้แทนที่ · การใช้ให้เหมาะสม (Optimize) – ข้อมูลจะต้องถูกเตรียมพร้อมสำหรับการวัด จัดวางให้เหมาะสม และ ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น · การสร้างนวัตกรรม (Innovation)– การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและการปรับปรุงสิ่งใหม่เพื่อแทนที่สิ่งเดิม |
.. |
ขั้นตอน 5 ประการของโมเดลพัฒนาการ |
การเข้าใจในโมเดลดังกล่าวจะไล่ระดับของความเข้าใจตั้งแต่ บุคคลากร กระบวนการ ระบบโครงสร้าง และวัฒนธรรมองค์กรถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และสิ่งเหล่านี้เองที่เป็นพื้นฐานของ BICC ซึ่งจะสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้แก่องค์กรของคุณต่อไป ความสามารถในการสร้าง BICC นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับความพร้อมขององค์กรของคุณ แต่เกิดจากวัตถุประสงค์ของการสร้าง Intelligence ที่จะสามารถกำหนดโครงสร้างของ BICC ของคุณได้ต่อไป |
... |
พื้นฐานในการดำเนินการ BICC บางแห่งอาจเริ่มจากระบบสนับสนุนขั้นต้นเท่านั้น แต่แซสมีข้อแนะนำเพื่อให้องค์กรสามารถเพิ่มเติมมุมมองเพื่อการริเริ่ม Business Intelligence อย่างสมบูรณ์แบบ ได้แก่ |
.. |
· โปรแกรม Business Intelligence: การเลือกว่าระบบโปรแกรม BI ใดที่สมควรต้องถูกใช้งานควบคู่ไปกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ · การให้บริการข้อมูล: คุณภาพของข้อมูล (Data Quality) ระบบการจัดการ และนโยบายจะถูกควบคุมโดย BICC · การได้มาซึ่งข้อมูล: การรวบรวมข้อมูล (Data Integration) และจัดเก็บข้อมูล (Storage) · การวิเคราะห์ขั้นสูง · การสนับสนุน: การสนับสนุน และบริการที่ดีเลิศสำหรับผู้ใช้งานทางธุรกิจ ·การผึกอบรม:การจัดการความเปลี่ยนแปลง การบริหารโครงการ และกระบวนการ ผสมผสานการผึกอบรมเพื่อส่งมอบผลลัพธ์ Intelligence ให้มีประสิทธิภาพ · การบริหารจัดการสัญญากับผู้ให้บริการระบบ |
.. |
.. |
พื้นฐานของ BICC |
เนื่องจาก BICC ถือเป็นเป้าหมายที่เป็นกลยุทธ์ระดับองค์กร จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรวมทั้ง 2 ส่วนหน่วยงานในการทํางานควบคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเทคโนโลยี และหน่วยงานทางธุรกิจ และควรต้องขึ้นตรง รายงานผลกับผู้บริหารระดับสูงสุด ไม่ว่าจะเป็น CFO CIO หรือแม้แต่ CEO ที่สำคัญที่สุด BICC ควรกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างองค์กร ที่มีหน้าที่ในการผสมผสานบทบาทเชิงธุรกิจเข้ากับคนไอที บทบาทเชิงธุรกิจดังกล่าวได้แก่ ผู้วิเคราะห์ธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอุตสาหกรรม และ ผู้จัดการโครงการ ส่วนตัวอย่างของบทบาทเชิงเทคโนโลยีได้แก่ ผู้ควบคุมด้านเทคนิค ผู้ดูแลเหมืองข้อมูล นักออกแบบคลังข้อมูล ที่ปรึกษาด้านคลังข้อมูล และนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น เป็นต้น |
.. |
นอกเหนือจากหน้าที่เหล่านี้แล้วเรายังต้องการความชำนาญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงและสื่อสารความเปลี่ยนแปลงนั้นออกไปเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการสร้าง Intelligence BICC ควรได้รับการควบคุมการทำงานโดยบุคลากรซึ่งได้รับการระบุว่าจะกลายเป็นผู้บริหารในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่า BICC จะสามารถทำงานในฐานะจุดเริ่มต้นของการสร้างแนวคิดและแนวทางปฏิบัติสำหรับพวกเขาเหล่านั้นเพื่อให้ได้รับภาพรวมขององค์กรทั้งหมดอย่างครบถ้วน |
.. |
ขนาดของ BICC มีความหลากหลายตั้งแต่ขนาดจำนวน 12 คนไปจนถึงนับร้อยๆ คน ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท อาทิเช่น บริษัทประกันภัยชั้นนำในแอฟริกาใต้ได้ตั้ง BICC สำหรับคนจำนวน 10 ถึง 20 คน โดยในความพยายามที่จะสร้าง Intelligence แก่องค์กรนั้น บริษัทดังกล่าวได้ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อสนับสนุนความพยายามในการบริหารระบบจัดการข้อมูลใหม่ ส่วนในประเทศญี่ปุ่น NTT DoCoMo ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำทางด้านการโทรคมนาคมระดับโลกได้สร้าง BICC ซึ่งประกอบไปด้วยพนักงานกว่า 100 คน องค์กรทั้งสองต่างได้ทำการตัดสินใจซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อธุรกิจว่าการสร้าง Intelligence คือหัวใจหลักสำคัญที่ต้องได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรกหลังจากนั้นจึงค่อยมุ่งสร้างองค์กรให้เกื้อหนุนการทำงานของ Intelligence ต่อไป |
... |
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม หากคุณเข้าใจถึงข้อกำหนดพื้นฐานทางธุรกิจและขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันของคุณโดยมี Intelligence ที่องค์กรของคุณต้องการเป็นสิ่งผลักดัน คุณก็จะสามารถเห็นได้อย่างกระจ่างชัดว่าคุณต้องทำอะไรต่อไปเพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณด้วยการใช้ BICC เป็นบันไดสนับสนุนการตัดสินใจ และเมื่อด้วย BICC คุณจะสามารถยกระดับองค์กรของคุณให้เติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคงทั้งในด้าน กระบวนการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร บุคลากร และโครงสร้างทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มรายรับทางธุรกิจที่เป็นเป้าหมายสำคัญของทุกองค์กรให้แก่บริษัทของคุณอีกด้วย |
.. |
.. |
บุคคลากรประเภทไหนที่ BICC ต้องการ? ต้องมีความเชี่ยวชาญ ความรู้ และคุณสมบัติแบบใด? อย่างน้อยที่สุด BICC ควรจะประกอบด้วย ผู้จัดการ BICC นักวิเคราะห์ธุรกิจ หัวหน้าส่วนดูแลข้อมูล และ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี หลังจากการก่อตั้งได้สักระยะแล้ว BICC สามารถที่จะขยายบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างตัวอย่างในภาพ ซึ่งใน BICC ขนาดใหญ่ จะรวมถึง ผู้จัดการโครงการ นักสื่อสารภายในองค์กร นักออกแบบแอพพลิเคชั่น ที่ปรึกษาด้านระบบคลังข้อมูล พนักงานดูแล license นักสถิติ และที่ปรึกษาให้การอบรม |
.. |
โรเบิร์ต – นักออกแบบแอพพลิเคชั่น |
ดูแลโครงสร้างของโซลูชั่นทั้งหมด รวมถึงการพิจารณาประสิทธิภาพ การเลือกการจัดเก็บ storage การจัดการและออกแบบ data model |
.. |
คลาวเดีย - ที่ปรึกษาด้านการวิเคราะห์ |
มีความเข้าใจใน model และรายงานการวิเคราะห์ พร้อมทั้งมีความสามารถในการพัฒนาปรับปรุงผลที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงสถิติไปใช้ในการดูปัญหาของธุรกิจได้ ช่วยการพัฒนาและจัดตั้งโซลูชั่น BI และช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้งานในระดับแอดวานซ์ที่พวกเขาไม่สามรถทําได้เอง |
.. |
แอนนา – ผู้จัดการ BICC |
โปรโมทความสําคัญของ BICC ในองค์กร และดูแลโครงการ BI เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร |
.. |
ยวน – หัวหน้าส่วนดูแลข้อมูล |
บ่งชี้ และบริหารปัญหาข้อมูลภายในองค์กร โปรโมตและช่วยในการบริหารงานส่วนข้อมูลทั้งหมดเพื่อที่จะก่อให้เกิด BI ในองค์กร |
.. |
เดวิด - นักวิเคราะห์ธุรกิจ |
เข้าใจในกฏเกณฑ์ และขั้นตอนของธุรกิจในองค์กร และทราบว่าองค์กรต้องใช้ข้อมูลอย่างไร รวมถึงการปรับเปลี่ยนกฏเกณฑ์หรือขั้นตอนให้สอดคล้องกับข้อมูล |
.. |
อิโลน่า – ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี |
ดูแล และสร้างความมั่นใจในการติดตั้งระบบ BI ทางเทคนิค ให้คําปรึกษาทีมที่ดูแลโครงการในส่วนของการเชื่อมต่อ ระบบความปลอดภัย หรือ ตอบคําถามด้านเทคนิคต่างๆ |
.. |
โมเต้ – ผู้จัดการโครงการ |
บริหารทิศทางของโครงการวันต่อวัน และประสานงานร่วมกับทีม รวมถึงรายงานสถานะของโครงการไปยังผู้ให้ทุน นอกจากนี้ยังบริหารทรัพยากรต่างๆ อาทิเช่น อุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ account ของกลุ่มผู้ใช้ และเนื้อที่ใช้สอยในสํานักงาน |