นตัวอย่างชุมชนอนุรักษ์พลังงาน-สิ่งแวดล้อม และเดินตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้และนำไปปรับใช้ได้จริงอย่างเหมาะสม
อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เปิดโมเดลสร้างต้นเเบบระบบพลังงานทดแทน “1 อำเภอ 1 พลังงานชุมชน” หวังเป็นตัวอย่างชุมชนอนุรักษ์พลังงาน-สิ่งแวดล้อม และเดินตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนสามารถเข้าศึกษาเรียนรู้และนำไปปรับใช้ได้จริงอย่างเหมาะสม
นายณัฐพงศ์ ลาภมี รักษาการผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร เปิดเผยว่า กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้งบประมาณสนับสนุน อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ในการติดตั้งต้นแบบระบบพลังงานทดแทน “1 อำเภอ 1 พลังงานชุมชน”
เพื่อให้ประชาชนที่เข้ามาเยี่ยมชมอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรได้รับความรู้ ประโยชน์ของการใช้พลังงานทดแทน รวมถึงได้รับความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับเทคนิควิธีการทำงานของระบบพลังงานทดแทนประเภทต่างๆ กลไกการทำงานของอุปกรณ์ภายในระบบ การติดตั้งรวมถึงการบำรุงรักษา
ต้นเเบบระบบพลังงานทดแทน “1 อำเภอ 1 พลังงานชุมชน” ประกอบด้วย
1 )ระบบกังหันลมผลิตไฟฟ้า ขนาด 1 กิโลวัตต์
2) ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 500 ลิตร
3) ระบบอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ ขนาด 15 กิโลกรัม
4) ระบบเตาพลังแสงอาทิตย์ ขนาด 1,800 วัตต์
5) ระบบถังหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ ขนาด 2.5 ลูกบาศก์เมตร
6) ระบบทำน้ำร้อนจากแอร์คอมเพรสเซอร์ถังแรงดัน ผลิตน้ำร้อนได้ 150 ลิตรต่อวัน
7) ระบบจำลองผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ขนาด 1 กิโลวัตต์
8) ระบบแก๊สซิไฟเออร์ผลิตแก๊สเชื้อเพลิงชีวมวล ขนาด 240 กิโลกรัมต่อวัน
“ต้นเเบบระบบพลังงานทดแทน “1 อำเภอ 1 พลังงานชุมชน” จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของประชาชนที่อาศัยรวมกันอยู่เป็นชุมชน หมู่บ้าน เพราะจะช่วยให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนด้วย อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จึงขอเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าชมต้นเเบบระบบพลังงานทดแทน 1 อำเภอ 1 พลังงานชุมชน ” นายณัฐพงศ์ กล่าวในตอนท้าย