จับคู่เชื่อมโยงจาก BUILD ประสบผลสำเร็จเกินคาด 2 ปี เกิดการเชื่อมโยงเป็นมูลค่าเงินแล้วทั้งสิ้นกว่า 5,000 ล้านบาท ล่าสุดบีโอไอดันงานนิทรรศการอุตสาหกรรมสนับสนุนกระตุ้นการลงทุนทั้งไทย-เทศ โดยดึงผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย 300 ราย เปิดบูธ แสดงความพร้อมในการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมต่าง ๆ โชว์ผู้ซื้อ และนักลงทุนที่สนใจมาดูลู่ทางการลงทุนในไทย
จับคู่เชื่อมโยงจาก BUILD ประสบผลสำเร็จเกินคาด 2 ปี เกิดการเชื่อมโยงเป็นมูลค่าเงินแล้วทั้งสิ้นกว่า 5,000 ล้านบาท ล่าสุดบีโอไอดันงานนิทรรศการอุตสาหกรรมสนับสนุนกระตุ้นการลงทุนทั้งไทย-เทศ โดยดึงผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย 300 ราย เปิดบูธ แสดงความพร้อมในการผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมต่าง ๆ โชว์ผู้ซื้อ และนักลงทุนที่สนใจมาดูลู่ทางการลงทุนในไทย |
. |
นายชนินทร์ ขาวจันทร์ หัวหน้าหน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (BUILD) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าของการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมชิ้นส่วนระหว่างผู้ซื้อชิ้นส่วนและผู้ขายชิ้นส่วนต่าง ๆ ว่า ประสบผลสำเร็จมาก จากการสำรวจเบื้องต้นปีงบประมาณ 2548 และปีงบประมาณ 2549 สองปีรวมกันพบว่าจากการเชื่อมโยงอุตสากรรมทำให้เกิดมูลค่าการใช้ชิ้นส่วนในประเทศที่เกิดชึ้นจากบริษัทที่เข้าร่วมกิจกรรม BUILD ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงจากบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมเป็นมูลค่าเงินทั้งสิ้น 5,500 ล้านบาท โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็กและบริษัทขนาดใหญ่เชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์เครื่องจักรกล มีทั้งที่เป็นกลุ่มทุนข้ามชาติและกลุ่มทุนไทย |
. |
ทั้งนี้ในแต่ละปีบีโอไอจะกำหนดว่าจะมีมูลค่าการเชื่อมโยงไม่น้อยกว่า 2,400 ล้านบาท/ปี ที่เกิดการเชื่อมโยงภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมของ BUILD ซึ่งตรงนี้มองในเชิงคุณภาพที่ว่าทำไปแล้วได้ผล ส่วนในเชิงบริษัทที่มาร่วมบีโอไอ ตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องเกิดการเชื่อมโยงขึ้น 500-550 บริษัท/ปี ซึ่งที่ผ่านมาทำได้เกินเป้าที่ตั้งไว้ |
. |
นายชนินทร์กล่าวอีกว่าบีโอไอตั้งหน่วยงาน BUILD มาตั้งแต่ปี 1992 โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมาความสำเร็จส่วนหนึ่งเกิดจากที่มีกิจกรรมหลักที่สนับสนุนอยู่ด้วย เช่น กิจกรรมผู้ซื้อพบผู้ขาย ที่ทำมาแล้ว 120 ครั้ง หรือกิจกรรมตลาดกลางซื้อ-ขายชิ้นส่วน ทำมาแล้ว 41 ครั้ง โดยหน่วยเชื่อมโยงอุตสาหกรรมได้ทำการสำรวจพบว่าผลจากที่จัดกิจกรรมแต่ะละครั้งจะมีปริมาณคนมาเจอกันมาก ในขณะที่เกิดการซื้อ-ขายจริงมีไม่มาก เพราะผู้ขายชิ้นส่วนยังไม่สามารถตอบสนองตลาดได้ทั้งหมด |
. |
"จากผลที่ออกมาแบบนี้ทำให้ BUILD ต้องกำหนดบทบาทของตัวเองมากขึ้นจากบทบาทที่เป็นแค่การเชื่อมโยงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ก็จะมองในเรื่องของการเชื่อมโยงกับเจ้าของเทคโนโลยี เช่น สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ศูนย์วิจัย เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงขึ้นระหว่างผู้ขายซึ่งมาจากภาคอุตสาหกรรม กับสถาบันการศึกษาซึ่งมีความรู้ มีเทคโนโลยีและมีการวิจัย" |
. |
นอกจากนี้ BUILD กำลังจัดงาน "นิทรรศการอุตสาหกรรมสนับสนุนของไทยปี 2550" โดยดึงผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยจำนวน 200-300 ราย มาเปิดบูธ และเชิญผู้ซื้อมาหาสินค้าในงานดังกล่าว ซึ่งจะเป็นเวทีที่ผู้ซื้อสามารถหาตลาดซื้อชิ้นส่วนได้มากขึ้น ในขณะที่ผู้ขายก็มีช่องทางการขายได้มากขึ้นเช่นกัน โดยงานนี้เป็นหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย เพราะนักลงทุนใหม่ที่เข้ามากก็ต้องดูว่าไทยมีความพร้อมด้านวัตถุดิบตัวไหนบ้าง หรือเข้ามาดูลู่ทางการลงทุนเมื่อเห็นว่าไทยมีความพร้อมในเรื่องการใช้ชิ้นส่วน |
. |
โดยจะร่วมมือกับสำนักงานบีโอไอต่างประเทศเพื่อจัดทริปดึงทุนจากต่างประเทศมาร่วมงานดังกล่าวด้วย เพื่อสำรวจตลาดชิ้นส่วนในประเทศไทย และจะเป็นอีกโอกาสที่จะทำให้เกิดการลงทุนในไทย ที่สำคัญจะเป็นเวทีที่ผู้ประกอบการไทยได้รับรู้ข่าวสารและความทันสมัยของเทคโนโลยี จะช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมไทยแข่งขันกับต่างชาติได้ |
. |
เราไม่ต้องการที่จะเห็นผู้ประกอบการไทยอยู่ในบทบาทของมือปืนรับจ้างโดยนั่งรอแบบจากลูกค้าอย่างเดียว แต่จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีตามไปด้วย |
. |
สำหรับประโยชน์ที่เกิดจากการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ในแง่ผู้ซื้อที่มาร่วมกิจกรรมจะมีแหล่งที่จะหาซัพพลายเออร์ได้มากขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตเพราะใช้ชิ้นส่วนในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า ส่วนประโยชน์ที่ผู้ขายชิ้นส่วนจะได้รับภายหลังจากที่มาร่วมกิจกรรมที่ BUILD จัด คือผู้ขายจะรับรู้ข่าวสารได้เร็วและเข้าสู่จังหวะที่ผู้ซื้อต้องการ และสามารถเข้าถึงตัวลูกค้าได้ทันที และมีการเสนอราคาซื้อ-ขายต่อกัน |
. |
ความสำเร็จดังกล่าวเกิดจากกิจกรรม BUILD จะมุ่งเน้นผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศฉะนั้นเราจะไม่จำกัดว่าจะต้องได้บีโอไอเท่านั้นและส่วนใหญ่ก็จะเป็น SMEs ที่เข้าร่วมในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่เองส่วนใหญ่ก็จะมีช่องทางการตลาดดีอยู่แล้ว |
. |
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ |