เนื้อหาวันที่ : 2007-05-11 10:41:35 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2673 views

ผลวิจัยชี้บริษัทส่วนใหญ่ขาดกลยุทธ์ด้านพลังงาน

บริษัทฮิลล์ แอนด์ โนว์ลตัน อิงค์ เปิดเผยผลการวิจัยทั่วโลกครั้งใหม่บ่งชี้ว่า ขณะที่ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับสูงส่วนใหญ่จากทั่วโลก (82%) จับตาอย่างใกล้ชิดต่อประเด็นโลกร้อนนั้น ส่วนใหญ่ (65%) ไม่มีกลยุทธ์ด้านพลังงานที่จะรับมือกับภาวะโลกร้อน

บริษัทฮิลล์ แอนด์ โนว์ลตัน อิงค์  เปิดเผยผลการวิจัยทั่วโลกครั้งใหม่บ่งชี้ว่า ขณะที่ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับสูงส่วนใหญ่จากทั่วโลก (82%) จับตาอย่างใกล้ชิดต่อประเด็นโลกร้อนนั้น ส่วนใหญ่ (65%) ไม่มีกลยุทธ์ด้านพลังงานที่จะรับมือกับภาวะโลกร้อน ในความเป็นจริง ผู้ตัดสินใจด้านธุรกิจมากกว่า 3 ใน 4 ส่วนที่ได้รับการสำรวจ (77%) เชื่อว่า มีความจำเป็นต้องขยายตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง (C-Suite) ให้รวมถึงหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านพลังงาน (CNO) เพื่อจัดการ ดำเนินการ และวัดผลตอบแทนการลงทุนของบริษัทในเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า ผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อม (Return on Environment - ROE)

.

ผลการสำรวจซึ่งจัดทำขึ้นโดยบริษัทฮิลล์ แอนด์ โนว์ลตัน อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารทั่วโลกและบริษัทเพนน์, โชเอน แอนด์ เบอร์แลนด์ แอสโซซิเอตส์ (Penn, Shoen & Berland Associates) นั้น ได้สำรวจความเห็นของผู้ตัดสินใจด้านธุรกิจระดับสูงกว่า 420 คนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) จากสหรัฐ อังกฤษ จีน และแคนาดา เพื่อตัดสินใจว่าพวกเขาจะดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับการรวมเศรษฐศาสตร์และจริยธรรมเข้าด้วยกันเมื่อดำเนินการในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ผลสำรวจนำเสนอความเข้าใจที่มีค่าสำหรับบริษัทต่างๆ ขณะที่พวกเขาจะดำเนินการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมของตนเองที่ล้ำหน้าเทคนิคด้านการตลาดและการสื่อสารแบบเดิมๆ หรือเทคนิคด้านการจัดการชื่อเสียงองค์กร

.

"แม้มีการประชาสัมพันธ์อย่างมาก แต่ก็มีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่กำลังวางแผนดำเนินการที่สามารถวัดผลได้เพื่อผลักดันผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อมนายโจว พาลุสก้า ประธานฝ่ายการปฏิบัติด้านเทคโนโลยีทั่วโลกของฮิลล์ แอนด์ โนว์ลตัน กล่าว ขณะที่ผู้ร่วมสำรวจส่วนใหญ่ต้องการให้ซีอีโอดูแลประเด็นนี้ แต่เกือบ 2 ใน 3 ของผู้ร่วมสำรวจกล่าวว่า ไม่มีใครในองค์กรที่ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์ด้านพลังงานของบริษัท เราคาดว่าชื่อเสียง ความเสี่ยง และผลตอบแทนจะได้รับผลกระทบจนกว่าบริษัทจะลุกขึ้นและดำเนินการกำหนดมาตรฐานของอุตสาหกรรมโดยรวมสำหรับการวัดผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อม"

.
การกำหนดกลยุทธ์ด้านพลังงานขององค์กร

ผู้ร่วมการสำรวจชาวจีน 77% ระบุว่า บริษัทของพวกเขายังไม่ได้กำหนดกลยุทธ์ด้านพลังงาน ขณะที่ผู้ร่วมสำรวจชาวสหรัฐตามมาเป็นอันดับ 2 ที่ระดับ 67% และตามด้วยแคนาดา (62%) และอังกฤษ (51%) ตามลำดับ

.

เมื่อถามว่าใครจะรับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์ด้านพลังงานของบริษัทนั้น ผลสำรวจก็แสดงถึงความไม่แน่นอนเช่นกัน ผู้ร่วมสำรวจ 65% ไม่ได้ระบุถึงบุคคลในองค์กรที่มีหน้าที่ในการกำหนดกลยุทธ์ด้านพลังงาน โดยในจีนนั้น แทบไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับบทบาทดังกล่าวในองค์กร โดยผู้ร่วมสำรวจ 82% ระบุว่า ไม่มีใครในบริษัทที่รับผิดชอบในการพัฒนากลยุทธ์ด้านพลังงาน ขณะที่ในสหรัฐนั้น ผลสำรวจดีกว่าเล็กน้อยโดยอยู่ที่ระดับ 70% และอังกฤษมีผลสำรวจดีที่สุดโดยบริษัทมากกว่าครึ่ง (57%) มีการกำหนดบุคคลเพื่อรับผิดชอบในการวางกลยุทธ์ด้านพลังงาน

.

"ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า มีโอกาสที่จะขยายตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง (c-suite) เพื่อรวมตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านพลังงานนายพาลุสก้ากล่าว มีความจำเป็นมากขึ้นสำหรับความรับผิดชอบขององค์กรต่อการดำเนินการด้านพลังงาน ขณะที่บริษัทต่างๆเผชิญกับความซับซ้อนเพิ่มขึ้น รวมถึงความคาดหวังของรัฐบาล ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงาน ในที่สุด บริษัทต่างๆก็จำเป็นจะต้องวัดผลตอบแทน 3 ด้านได้แก่ต่อประชาชน ผลกำไร และต่อโลก มิฉะนั้นชื่อเสียงและมูลค่าจะได้รับผลกระทบ"

.
"ผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อม"

เมื่อถูกถามเกี่ยวกับวิธีการที่ดีที่สุดในการวัดผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อมนั้น ผู้ร่วมสำรวจมากกว่าครึ่ง (52%) ถือว่า ชื่อเสียงองค์กรที่ดีขึ้นเป็นผลตอบแทนการลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมการลดการปล่อยสารคาร์บอนเป็นการวัดที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ตอบแบบสำรวจ 38% ทั่วโลก และได้รับการจัดเป็นอันดับ 1 ในอังกฤษ ส่วนการวัดแบบเดิม อาทิ ผลตอบแทนต่อหุ้น ต้นทุนความเป็นเจ้าของทั้งหมด และอัตราผลตอบแทนภายใน ก็ได้รับความสำคัญด้วย อย่างไรก็ตาม มีความชัดเจนว่า ยังคงต้องดำเนินงานส่วนใหญ่ให้แล้วเสร็จเพื่อกำหนดผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องซึ่งลูกค้า นักลงทุน และผู้กำหนดนโยบายสามารถพิสูจน์ได้

.

ขณะที่ยังไม่มีผู้ชนะที่ชัดเจนในการแข่งขันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น ผู้แข่งขันด้านสิ่งแวดล้อม 3 รายซึ่งได้แก่สหรัฐ ญี่ปุ่น และเยอรมนีนั้นนับเป็น 3 ประเทศชั้นนำที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทคโนโลยีที่สะอาดในช่วงหลายปีข้างหน้า ทั้งนี้ ไม่น่าประหลาดใจที่ประชาชนเชื่อว่า ประเทศของตนเป็นประเทศที่มีแนวโน้มมากที่สุดที่จะมีบทบาทมากที่สุดในการพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีที่สะอาด ข้อยกเว้นสำหรับแนวโน้มชาตินิยมได้แก่ จีน โดยผู้ร่วมสำรวจ 62% คิดว่า สหรัฐเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีที่สะอาดมากกว่าประเทศของตนเอง

.

ความเห็นที่ว่าอุตสาหกรรมใดมีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากนวัตกรรมเทคโนโลยีที่สะอาดนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยผู้ร่วมสำรวจชาวแคนาดามากกว่าครึ่ง (55%) มองว่าอุตสาหกรรมการขนส่งได้ประโยชน์มากที่สุด ผู้ร่วมสำรวจชาวสหรัฐและอังกฤษมองว่ากลุ่มนักลงทุนได้รับประโยชน์ และผู้บริหารจากจีนคิดว่าผู้กำหนดนโยบายจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีที่สะอาด

.
วิธีการสำรวจ

บริษัทเพนน์, โชเอน แอนด์ เบอร์แลนด์ แอสโซสิเอตส์ จัดทำการสำรวจผู้ตัดสินใจทางธุรกิจระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการซื้อไอทีตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค.-20 เม.ย. 2550 โดยจัดการสัมภาษณ์ในสหรัฐ อังกฤษ แคนาดา และจีน ผู้ร่วมการสำรวจทั้งหมดทำงานในบริษัทต่างๆที่มีรายได้ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือมากกว่า (ประเทศนอกสหรัฐ) ขณะที่บริษัทกว่าครึ่งติดทำเนียบบริษัทชั้นนำของนิตยสารฟอร์จูน 1000 (ประเทศนอกสหรัฐ) ผลสำรวจจัดทำขึ้นโดยใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ทางออนไลน์ และการสัมภาษณ์โดยตรง