กฟผ.เร่งศึกษาแผนรับมือผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น หวังนำมาปรับใช้ในประเทศไทย
กฟผ.เร่งศึกษาแผนรับมือผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น หวังนำมาปรับใช้ในประเทศไทย
เว็บไซต์ครอบครัวข่าวสาม รายงานว่า นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ รองผู้ว่าการบริหาร กฟผ. เข้าพบผู้บริหารโรงไฟฟ้านิวเคลียร์คาชิวาซากิ คาริวา ที่ประเทศญี่ปุ่น ถือว่าเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ห่างโตเกียวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 200 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างก่อสร้างประตูเขื่อนขนาดสูง 15 เมตรโดยรอบ เพื่อป้องกันสึนามิถล่ม และยังมีแผนสำรองคือรถไฟฟ้าที่ติดตั้งระบบสำรองเคลื่อนที่ ทั้งน้ำ ระบบหล่อเย็นเคลื่อนที่ โดยมีระบบล็อกกับฐานเหล็กขนาดใหญ่เพื่อกันรถเคลื่อนที่หากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นด้วย
ทั้งนี้ รองผู้ว่าการบริหาร กฟผ. กล่าวย้ำว่า แม้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้มีมติเลื่อนการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทยออกไปอีก 3 ปี จากปี 66 เป็นปี 69 แต่ กฟผ.ก็ยังคงเดินหน้าให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน รวมทั้งสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนได้รับรู้ข้อมูลอย่างถูกต้องและรอบด้าน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก
เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงประเภทอื่น อีกทั้งเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพและมั่นคง สามารถเดินเครื่องได้อย่างต่อเนื่องนาน 18-24 เดือน โดยไม่ต้องหยุดเครื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่ำ และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 6 กรัมต่อหน่วย ต่ำกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินถึง 130 เท่า