การให้บริการคำปรึกษาของวงการอุตสาหกรรมในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักจะมาจากบุคคลในวงการ หรือจากบุคลากรของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
ความเป็นมาของที่ปรึกษา |
การให้บริการคำปรึกษาของวงการอุตสาหกรรมในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักจะมาจากบุคคลในวงการ หรือไม่ก็จากบุคลากรของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ สาเหตุที่ก่อให้เกิดความต้องการใช้บริการคำปรึกษานี้ เนื่องจากภายในสถานประกอบการมีปัญหาในการบริหารงาน และอีกเหตุผล
|
. |
ทำความเข้าใจกับงานที่ปรึกษา |
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าที่ปรึกษาที่ทำงานเต็มเวลา โดยไม่ได้ใช้เวลาว่างจากงานประจำมาเป็นที่ปรึกษานั้น จะมีเวลาทุ่มเทให้กับงานอย่างเต็มที่ ในการรับรู้และแก้ปัญหาภายในองค์กรของผู้ขอรับบริการ นั่นหมายถึง ผู้ขอรับบริการสามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ตลอดเวลา แต่ไม่ได้หมายความว่าการให้คำปรึกษาจะสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ 100 เปอร์เซ็นต์เสมอไป จะต้องพิจารณาถึงปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบความพร้อมต่าง ๆ ของผู้ขอรับบริการด้วย ดังนั้น ผู้ที่เข้าสู่วงการให้บริการคำปรึกษานี้ จึงไม่ใช่ผู้ที่ตกงานหรือผู้ที่ประสบความล้มเหลวในอาชีพรับจ้างกินเงินเดือนประจำ แต่ที่ปรึกษาเป็นอาชีพที่มีเกียรติและใช้วิชาชีพแบบมืออาชีพไม่ใช่สมัครเล่น และผู้ขอรับบริการก็คงไม่กล้าพอที่จะเสี่ยงกับที่ปรึกษาสมัครเล่นเป็นแน่ มีหลายคนที่พยายามจะเข้าสู่วงการนี้ แต่ไม่ได้คิดจริงจังกับอาชีพนี้เท่าไหร่ อาจจะเป็นอาชีพเสริมยามว่าง ถึงแม้จะมีความรู้มากมายเพียงใดก็ตาม ถ้าไม่มีความพร้อมและขาดคุณสมบัติพื้นฐานของการเป็นที่ปรึกษาที่ดี เช่น การถ่ายทอด การทุ่มเทเวลา การพัฒนาตนเองตลอดจนความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม หากผู้ขอรับบริการต้องการความโก้หรูมีที่ปรึกษาระดับภูมิความรู้สูงมาประดับองค์กรก็ต้องยอมรับความเสี่ยงต่อไป แต่มีหลาย ๆ บริษัทที่ว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาไว้ใช้งาน เพราะมีทัศนะเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาที่ไม่เอนเอียงและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด สิ่งนี้ คือ ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับอย่างแท้จริง และผู้ขอรับบริการต้องมั่นใจในภารกิจว่าจะให้ผลลัพธ์มากกว่าที่อิงกับหน่วยงานใดหรือรายงานที่เย็บเล่มสวยงาม |
. |
ในปัจจุบันวงการให้คำปรึกษาเริ่มแพร่กระจายไปสู่ภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจบริการมากขึ้น ผู้ขอรับบริการจะต้องพิจารณาที่ปรึกษาจากประสบการณ์ความรู้ความสามารถซึ่งที่ปรึกษามีเป็นหลัก โดยต้องแยกกันให้ออกระหว่างหน่วยงานที่ปรึกษาสังกัดกับความสามารถของตัวที่ปรึกษาเอง เพราะคุณต้องการปรึกษามาทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ ไม่ใช่ใช้หน่วยงานนั้นมาทำงานให้คุณ จากประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับการใช้ที่ปรึกษาเป็นเรื่องจำเป็น ในสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของธุรกิจปัจจุบัน แต่ผู้ขอรับบริการต้องขวนขวายหาข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ตลอดจน การติดตามความเคลื่อนไหวของธุรกิจอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพื่อใช้ในการตัดสินใจการบริหารงานตลอดจนการวางแผน และปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน จะต้องติดตามหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร นอกจากการได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาเพียงอย่างเดียว |
. |
ที่ปรึกษา คือ ใคร ? |
ที่ปรึกษาเป็นบุคคลที่ตอบสนองต่อผู้ขอรับบริการคำปรึกษาแนะนำด้วยพื้นฐาน 4 ประการ ดังนี้ |
1.เป็นผู้ให้ความรู้และประสบการณ์ทางการบริหารงานในหลาย ๆ เรื่องแก่ผู้ประกอบการ เช่น การผลิต การตลาดการเงินและการบริหารบุคคล เป็นต้น |
. |
2.เป็นผู้ทราบวิธีการทำงานและระบุการแก้ปัญหางาน ตลอดจนวิเคราะห์สาเหตุปัญหาต่าง ๆ และสามารถชี้แนะแนวทางการเปลี่ยนแปลง เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมแล้วนำไปตัดสินใจในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่ปรึกษาจะต้องมีทักษะในเชิงจิตวิทยาและการสื่อสารที่ดี นอกเหนือจากเป็นผู้ชำนาญในด้านการให้บริการคำปรึกษาแล้ว |
. |
3.ที่ปรึกษาจะต้องเป็นอิสระและเป็นกลาง ที่สามารถบอกความจริงแก่ผู้ประกอบการโดยไม่ลำเอียง และไม่กังวลเกี่ยวกับผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ที่จะมีผลต่อความเป็นอิสระและความตรงไปตรงมาต่ออาชีพของที่ปรึกษา |
. |
4.เป็นบุคคลที่เคารพและยึดถือจรรยาบรรณ หรือหลักประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพของตนอย่างเคร่งครัด เพราะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการกับที่ปรึกษา จะต้องอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจกันอย่างมากในขณะให้คำปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรู้สึกมั่นใจว่าที่ปรึกษา จะต้องมีความซื่อสัตย์และรักษาผลประโยชน์ของผู้ประกอบการอย่างเต็มที่ |
. |
คุณสมบัติการเป็นที่ปรึกษา |
ก่อนที่จะกล่าวถึงคุณสมบัติทางวิชาชีพที่ปรึกษานั้น อยากจะกล่าวถึงมาตรฐานทางวิชาชีพให้บริการคำปรึกษาแนะนำเสียก่อนว่า มันมีความแตกต่างจากสินค้าและบริการอื่น ๆ เพราะเป็นความเชี่ยวชาญทางวิชาการหรือศิลปะของการให้บริการคำแนะนำทางวิชาชีพแก่ผู้ขอรับบริการ ที่สามารถวัดผลการปฏิบัติงานได้และมีผลต่อเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเป็นเรื่องของการบูรณาการทางวิชาชีพและมาตรฐานทางจรรยาบรรณที่แทรกอยู่ในกิจกรรมบริการ หากหลักการแห่งการบูรณาการความคิดนี้ถูกละเลยไป เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของผู้ที่เป็นที่ปรึกษา กระบวนการให้บริการคำปรึกษาแนะนำก็ไม่อาจเรียกได้ว่า เป็นที่ปรึกษาซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อวิชาชีพนี้อีกต่อไป คุณสมบัติของที่ปรึกษาควรจะมีดังนี้ คือ |
. |
- ความสามารถทางเทคนิค |
อาจกล่าวได้ว่าเป็นความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะของที่ปรึกษาท่านนั้น เช่น |
ด้านวิศวกรรม ความสามารถในการคำนวณออกแบบโดยที่ปรึกษามีความชำนาญเฉพาะสาขา เมื่อผู้ขอรับบริการต้องการความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค เช่น การออกแบบเครื่องจักร การคำนวณระบบระบายอากาศ หรือแม้แต่การออกแบบก่อสร้างโรงงานเป็นต้น |
. |
ด้านการผลิต ความสามารถในการแก้ปัญหาในระบบการผลิตของอุตสาหกรรมที่มีความสลับซับซ้อนในกระบวนการ ตลอดจนสามารถสร้างระบบควบคุมการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาดังกล่าวจะต้องผ่านการวิเคราะห์กระบวนการผลิตอย่างรอบคอบ และเข้าใจลึกซึ้งถึงกระบวนการผลิตเป็นอย่างดี จึงต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการมองหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องได้อย่างมืออาชีพ |
. |
ด้านการตลาด ที่ปรึกษามีความเข้าใจในสภาพตลาดและการแข่งขันที่ดี ตลอดจนความสามารถในการวิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาด ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมผู้บริโภคตลอดเวลา เพื่อกำหนดกล
|
. |
การวิเคราะห์ระบบ ที่ปรึกษาเข้าใจถึงจุดอ่อนของระบบการบริหารงานของผู้ขอรับบริการอย่างละเอียด ที่สามารถนำข้อมูลการบริหารงานมาวิเคราะห์การทำงานและคุณภาพของงานที่เป็นประเด็นปัญหา เพื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นมากำหนดแนวทางการแก้ไขต่อไป |
. |
- ความมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี |
ความผูกพัน ความทุ่มเทตั้งใจต่อการแก้ปัญหาของผู้ขอรับบริการ มองเห็นปัญหาของผู้ขอรับบริการเป็นส่วน
|
. |
การสนับสนุน ให้การสนับสนุนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และพัฒนาทักษะการทำงานของพนักงานทุกระดับ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงานให้สูงขึ้น |
. |
การรับฟังความคิดเห็น ที่ปรึกษายินดีพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของพนักงานทุกระดับ และเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นออกมา โดยไม่ยึดติดกับความคิดของตนเองเป็นหลัก เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาสรุปผลและวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริง |
. |
การจัดการที่ดี จัดระบบการทำงานอย่างมีระเบียบแบบแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนในช่วงเวลาต่าง ๆ ตลอดจนสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้เป็นอย่างดี มีภาวะความเป็นผู้นำสูง |
. |
- ความมีทักษะการเป็นที่ปรึกษา |
การติดต่อ ในกระบวนการให้คำปรึกษานั้น ขั้นตอนแรก คือ การติดต่อผู้ขอรับบริการจะด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ตามแต่ จะต้องมีความชัดเจนในวันเวลาและสถานที่ ความเป็นมืออาชีพของที่ปรึกษาเริ่มต้นจากจุดนี้ หากผู้ขอรับบริการมีความไม่สะดวกใจในการติดต่อ หรือมีความผิดพลาดจากความไม่ชัดเจนของที่ปรึกษา อาจจะทำให้กระบวนการให้คำปรึกษาสะดุดจบอยู่เพียงเท่านี้ก็เป็นได้ |
. |
การวินิจฉัย กระบวนการวินิจฉัยเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ในเบื้องต้นก่อนที่จะเริ่มให้คำปรึกษาแนะนำตามมา เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น ผู้ที่จะมาทำการวินิจฉัยจะต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในหลาย ๆ ด้าน ของการบริหารงาน เพื่อไม่ให้เบี่ยงเบนประเด็นปัญหาไปตามความถนัดของที่ปรึกษาบางราย หรือมองหาสาเหตุของปัญหาไม่ออก ซึ่งจะมีผลต่อกระบวนการให้คำปรึกษาต่อมา |
. |
การวิเคราะห์และป้อนกลับ ความสามารถของที่ปรึกษามืออาชีพที่เด่นอย่างหนึ่ง คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาที่ตรงประเด็น และสามารถนำผลการปฏิบัติงานป้อนกลับเข้าสู่ระบบการวิเคราะห์งานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว |
. |
การตัดสินใจ เป็นการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลและป้อนกลับ ให้ผู้บริหารนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจการบริหารงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ นี่คือ ภารกิจที่สำคัญของที่ปรึกษาในการสร้างระบบฐานข้อมูลในการปฏิบัติงาน และสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาเปิดเผยได้ |
. |
การปฏิบัติการ ที่ปรึกษาจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการภายในองค์กร ในบทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลงภายใน ที่ส่งผลกระทบต่อทัศนะคติและพฤติกรรมของพนักงาน ซึ่งต้องผสมผสานกันระหว่างศิลปะการบริหารคนและจิตวิทยาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนด |
. |
การประเมินผล ที่ปรึกษาสามารถสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนได้ในรูปแบบของรายงานสรุปผล หรือนำเสนอผลงานตอนปิดโครงการ ที่สามารถชี้วัดความสำเร็จของโครงการตามเป้าหมายแก่ผู้ขอรับบริการได้ |
. |
รูปที่ 1 แสดงคุณสมบัติการเป็นที่ปรึกษา |