สนช. วช.และสสว. ร่วมมือกันจัดงาน ตลาดนัดนวัตกรรม หรือ InnoMart 2006 เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานนวัตกรรมที่มีศักยภาพในเชิงพานิชย์ และงานนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ หรือ InnoBioplast 2006
. |
สนช. วช.และสสว. ร่วมมือกันจัดงาน ตลาดนัดนวัตกรรม หรือ InnoMart 2006 เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานนวัตกรรมที่มีศักยภาพในเชิงพานิชย์ และเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างธุรกิจนวัตกรรม นอจากนี้ ภายในงานจะมีการจัดประชุมระดับนานาชาติ และนิทรรศการแสดงผลงานนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ หรือ InnoBioplast 2006 |
. |
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) จัดแถลงข่าวการจัดงานนิทรรศการ ตลาดนัดนวัตกรรม 2549 หรือ InnoMart 2006 ซึ่งจะจัดระหว่าง วันที่ 21-24 กันยายน 2549 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน กรุงเทพฯ เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และผลงานนวัตกรรที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ และเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม โดยเชื่อมโยงผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ และแหล่งสนับสนุนการลงทุนด้านธุรกิจนวัตกรรมทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแสวงหาเทคโนโลยีและผลงานวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้เกิดการลงทุนในธุรกิจใหม่ได้ |
. |
InnoMart 2006 เป็นงานนิทรรศการที่งานนิทรรศการที่รวบรวมทั้ง ผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ จากหน่วยงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย รวมทั้งผลงานสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของ วช. ผลงานนวัตกรรม ซึ่งเกิดจากการส่งเสริมสนับสนุนของ สนช. และผลงานที่เกิดจากการลงทุน ที่ได้รับการสนับสนุนของ สสว. |
. |
. |
การจัดงาน InnoMart 2006 ในครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางธุรกิจและส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในประเทศ ทั้งจากการนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และสิทธิบัตรไปพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การจัดงานดังกล่าวนี้ยังเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือของ 3 หน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ โดยตัวอย่างผลงานนวัตกรรมที่จะนำมาจัดแสดง อาทิ เสื้อซิลเวอร์นาโนฉลองครองราชย์ครบ 60 ปี ข้าวสุขภาพโอไรซ์ ระบบเพาะเลี้ยงปลาการ์ตูนเพื่อการส่งออก เครื่องแกะสลักผักและผลไม้เพื่อการส่งออก ดร.ประวิช รัตนเพียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าว |
. |
นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า นอกจากการแสดงผลงานนวัตกรรมของคนไทยแล้ว ภายในงานดังกล่าวยังมีการจัดประชุมระดับนานาชาติและนิทรรศการทางด้านนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ หรืองาน InnoBioPlast 2006 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงการนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพให้เป็นโครงการยุทธศาสตร์ระดับชาติ เนื่องจากเทคโนโลยีพลาสติกชีวภาพเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศไทยและสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ และสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศ รวมถึงเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเป็นการประกาศศักดิ์ศรีความเป็นผู้นำด้านการจัดการนวัตกรรมของคนไทยในระดับนานาชาติ และยังช่วยเสริมสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในสายตาของประชาคมโลกอีกด้วย |
.. |
นวัตกรรมพลาสติกชีวภาพจากพืช เป็นเทคโนโลยีใหม่ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น มันสำปะหลัง หรือข้าวโพด ให้เปลี่ยนเป็นเม็ดพลาสติก จากนั้นจึงนำการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกนานาชนิด เช่น บรรจุภัณฑ์ภาชนะ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น โดยจุดเด่นสำคัญของพลาสติกชีวภาพ คือ ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบธรรมชาติที่สร้างขึ้นใหม่ได้ สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพจะเป็นนวัตกรรมสำคัญ ที่จะเข้ามาปฏิวัติอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงเป็นนวัตกรรมที่จะเข้ามาทดแทนพลาสติกจาก ปิโตรเคมีซึ่งย่อยสลายยากและก่อให้เกิดปัญหาขยะล้นโลก |
.. |
ทั้งนี้ปัจจุบันประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจำกัดขยะพลาสติกและโฟมที่ไม่ย่อยสลายประมาณ 2 ล้านตันต่อปี ถึง 1,000-1,200 ล้านบาท/ปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยใช้วิธีการกำจัดขยะแบบฝังกลบเป็นหลัก โดยมีการใช้วิธีการเผาอยู่เพียงบางที่เท่านั้น แต่ในอนาคตเมื่อที่ฝังกลบในประเทศหมดลงเนื่องจากขยะที่ฝังไว้ไม่สามารถย่อยสลายได้ ก็คงจำเป็นต้องใช้วิธีการเผาในการจำกัดขยะ ซึ่งปัญหาของการเผาขยะประเทศนี้ก็คือมลพิษและสารพิษที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสารไฮโดรคลอริก (HCI) สารออกไซด์ของซัฟเฟอร์ (Sox) ซึ่งทำให้เกิดฝนกรด สารออกไซด์ ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ฝุ่นละออง(Total Suspended Particulate TSP) ซึ่งทำให้เกิดโรคภูมิแพ้และมะเร็งปอด และสารไดออกซิน (Dioxin) ที่เป็นสารก่อมะเร็ง การนำพลาสติกชีวภาพมาใช้ เพื่อทดแทนขยะพลาสติกและโฟมที่ไม่ย่อยสลาย จะทำให้สามารถนำสถานที่ฝังกลบกลับมาใช้ใหม่ได้หลังจากพลาสติกชีวภาพที่ฝังไว้ก่อนหน้านั้นย่อมสลายไปแล้ว เป็นการลดปัญหาเรื่องมลพิษที่จะเกิดจากการเผาขยะได้ อีกทั้งพลาสติกชีวภาพยังสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือแก๊สชีวภาพ (Bio Gas) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป |
.. |
ปัจจุบันปริมาณการใช้และแนวโน้มการเติบโตของตลาดพลาสติกชีวภาพของโลกอยู่ในระดับสูงมาก โดยยุโรปมีอัตราการบริโภค 40,000 – 50,000 ตันต่อปี (ตลาดโต 20 % ต่อปี ) ญี่ปุ่น 15,000 ตันต่อปี (ตลาดโลก 100% ต่อปี) และอเมริกา 70,000 – 80,000 ตันต่อปี (ตลาดโลก 16% ต่อปี) |
.. |
InnBioPlast 2006 ครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อนำเสนอความรู้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านพลาสติกชีวภาพชั้นนำของโลก ซึ่งได้มีการประยุกต์ใช้แล้วในต่างประเทศและประสบความสำเร็จอย่างมาก เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศสภาพยุโรป รวมถึงการนำเสนอผลงานวิจัย ตลอดจนแล้วทางการพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยทั้งในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจชีวภาพ ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร เริ่มตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การปลูก ตลอดจนถึงการกำหนดแนวทางสร้างศักยภาพ และความเป็นผู้นำในภูมิภาคของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของประเทศ ให้ก้าวทันนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพในระดับสากลได้ และเพื่อเป็นการสอดคล้องแนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อมของโลกรวมทั้งกฎระเบียบของกลุ่มสหภาพยุโรป ในการกำหนดให้นำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ เฉพาะวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสามารถย่อยสลายได้ ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ.2549 ดร.ประวิช กล่าว |
. |
นาย ฮิโรชิ นาชิมิย่า ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่า การจัดงานดังกล่าวภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลไทยเป็นการดำเนินการเพื่อตอบสนองแผนนโยบายของการประชุมสุดยอดของโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทาง UNEP มีความยินดีที่ได้เห็นความร่วมมือของ สนช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ภายใต้โครงการพัฒนาพลาสติกชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งนโยบายนี้ได้มีความสอดคล้องกันนโยบายเชิงบูรณาการ เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากลักษณะนิสัยที่เกิดจากการผลิตและบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |