เนื้อหาวันที่ : 2012-04-18 10:56:03 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2820 views

สัมมนาวิชาการ เกษตรอัจฉริยะ Smart Farm Technology 2012

สัมมนาวิชาการ เกษตรอัจฉริยะ 2012 Smart Farm Technology 2012 ความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงของชาติ ความมั่งคั่งของประเทศไทย

สืบเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างรุ่นแรง ส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหาร พืชผล ทางการเกษตรอันเป็นหวงโซ่และวัตถุดิบเบื้องต้นของอาหารที่ผู้คนส่วนใหญ่ต้องบริโภค ฉะนั้นหากมีวิธีการที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ว่า ไม่ว่าเหตุใดเกิดขึ้นเราสามารถผลิตอาหารและคาดการณ์ผลผลิตพืชผลทางการเกษตรได้อย่างน่าเชื่อถือได้ จะส่งผลให้ประเทศเรามีความมั่นคงด้านอาหาร พร้อมกันนี้ยังสามารถให้ความช่วยเหลือต่อประเทศที่ประสบภัยพิบัติได้ ยิ่งสร้างการยอมรับผลิตผลทางการเกษตรไทยให้กว้างขวางมากขึ้นไปอีก


ด้วยความสอดคล้องต่อแผ่นพัฒนาการเกษตรยุคใหม่ที่ต้องการให้นวัตกรรมการเกษตรมีประสิทธิภาพที่พร้อมแข่งขันระหว่างประเทศอันเกิดขึ้นจากการเปิดกลุ่มประเทศอาเซียนที่กำลังดำเนินอยู่ การแลกเปลี่ยนพร้อมๆ กับการแข่งขันสินค้าเกษตรจากเพื่อนบ้านจะมีความรุ่นแรงมากขึ้น ฉะนั้นหากเราสามารถสร้างทิศทางการทำเกษตรแบบใหม่ที่สามารถควบคุม คาดการณ์และสร้างมาตรฐานของสินค้าเกษตรที่ได้รับการยอมรับโดยกว้างได้จะสร้างผลดีให้กับเกษตรกรทั้งระบบ


การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ก็เพื่อมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความรู้ในสาขาเทคโนโลยี พร้อมกับเครื่องมือที่ทันสมัย ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับภาคเกษตรอย่างเจ้าของฟาร์ม และเกษตรกรทั้งส่วนที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานด้านการเกษตร
พร้อมกันนี้ยังเปิดมุมมองใหม่ที่เกษตรกรยุคใหม่ต้องให้ความสำคัญ และสามารถใช้งานเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้สำหรับทางการเกษตรให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยแบ่งส่วนงานที่เกี่ยวข้องที่อิงจากแผ่นสรุปการดำเนินงานจากกลุ่มความร่วมมือ (SIG) ด้านเกษตรที่มีการประชุมร่วมจากเนคเทค ประกอบด้วย 1) การผลิต 2) คุณภาพมาตรฐานการผลิตและสินค้า 3) การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเกษตร และ 4) การบริหารจัดการความรู้ทางการเกษตร

1). ด้านการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยการผลิตในภาคเกษตรซึ่งผู้เชี่ยวชาญภาคเกษตรให้ความสำคัญ เช่น place of origin, การวัดปริมาณผลผลิตและการคาดคะเนผลผลิต โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยพัฒนาระบบข้อมูลและการใช้ประโยชน์ คือ ICT for Farm Management เช่น Ubiquitous sensors network, Farm robotics, Geo spatial system, Production model, Precision Farming, Embedded system ICT for GAP(Good Agriculture Practices) เช่น Ubiquitous sensors network, Geo spatial system


ตัวอย่างหนึ่งเช่น Prediction Model การระบาดของศัตรูพืช (เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล) ในขบวนการผลิตข้าวที่มีความเสี่ยงต่อการเสียหายอันเกิดจากศัตรูพืช ดังนั้นหากมีการจำลองการระบาดก็จะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าและเตรียมการป้องกันได้อย่างทันท่วงที ซึ่งระบบดังกล่าวก็ได้รับการนำเสนอเพื่อพิจารณาให้นำมาใช้แล้ว หรือจะเป็นระบบจำลองสภาพดินหรือพืช หรือแม้กระทั้งสภาพน้ำที่เกิดขึ้นทุกๆ ปี ซึ่งตรงส่วนนี้ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนเป็นข้อมูลกลางที่เกษตรกรในแต่ละภูมิภาคจะสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงกัน


นอกจากนี้เรื่องแผนภูมิความแห้งแล้งหรือแม้แต่ทิศทางระบบน้ำในแต่ละภูมิภาคก็มีความสำคัญ ตลอดจนรูปแบบการพยากรณ์อากาศในเชิงเกษตร จะช่วยให้เกษตรกรประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ของตนเองได้อย่างเต็มที่ว่าจะสามารถปลูกพืชแบบไหนได้บ้าง อาจรวมไปถึงการสร้างฐานความรู้เรื่องของปริมาณการผลิตในแต่ละภูมิภาคทั้งสินค้าอย่างข้าว อ้อย ข้าวโพด หรือพืชชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย ทั้งนี้ข้อมูลที่มีความสำคัญต่างๆ เหล่านี้ภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญและจัดหาบุคลากรเพื่อวิเคราะห์ผลพร้อมกับแจ้งข่าวสารอย่างทั่วถึง

2).   คุณภาพมาตรฐานการผลิตและสินค้า การสร้างมาตรฐานสินค้า ความสำคัญกับการสร้างตราสินค้าไทย (brand) และความน่าเชื่อถือ (trust) ให้เกิดขึ้นมากที่สุด โดยใช้มาตรฐานสากลเป็นตัวกำหนดคุณภาพสินค้าหรือจะเกิดขึ้นจากการตรวจสอบและสร้างมาตรฐานขึ้นมาเองโดยมีองค์กรกลางของรัฐเป็นตัวรับประกันสินค้าก็ได้ การทำ traceability เป็นสิ่งจำเป็นโดยนำ IT มาช่วยในการสร้างเรื่องราวเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ การใช้เป็นประโยชน์จาก social network เป็นสื่อโฆษณาอันทรงพลังในการสร้างตราสินค้าและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า


เมื่อนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสืบย้อนกลับ ก็จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าได้ การผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต ซึ่งต้องการAutomation system/ robotic (องค์ความรู้ทางการผลิต, ระบบ monitoring/ warning, ระบบควบคุม) เพื่อแก้ปัญหาเรื่องคน และ Automate farming system การจัดการผลผลิต ต้องทำให้ผลผลิตมีคุณสมบัติสม่ำเสมอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ดังนั้น weather warning system (เช่น การวัดความชื้น อุณหภูมิ) ก็มีความสำคัญเช่นกัน


ในส่วนของกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ อันส่งผลต่อการทำรายงานทราบถึงที่มาที่ไปของสินค้าเกษตรว่า ช่วงเวลานั้นมีโรคอะไรระบาด หรือปริมาณสินค้ามีน้อยและราคาสูงอันเกิดจากเหตุใด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลูกค้าทราบได้ว่า สินค้ามีราคาที่สูงขึ้นหรือต่ำลงด้วยเหตุผลอะไรบ้าง บทบาทส่วนของภาครัฐต้องมีอะไรบ้างเช่น 1) ดูแลความปลอดภัยผู้บริโภค require ability to identity problem, route, safety 2) ระบบกลางที่มีข้อมูลตาม value chain 3) ช่วยเหลือ SMEs ให้สามารถทำ traceability ได้ ทั้งนี้ ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญ ต้องมีมาตรฐานและเชื่อมโยงกันได้ ต้องเร่งให้เกิด center of information และต้องมีการเก็บบันทึกข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วย

3). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเกษตร ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในภาคเกษตรมีหลายประเภทโดยสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภทนั้นคือ ทั้งที่ควบคุมได้ เช่น แรงงาน ราคาสินค้า ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงหรือแม้แต่พันธ์พืช หรือความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด ซึ่งการติดตามเฝ้าระวังความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับภาพใหญ่ในระดับภูมิภาคเท่านั้น แต่ต้องคำนึงติดตามถึงระดับชุมชน พื้นที่ขนาดเล็ก สำหรับความเสี่ยงด้านแรงงานนั้นอาจสืบเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีผู้สูงอายุมากขึ้น หรือมีการย้ายแรงงานไปสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น หากมองในเรื่องของอายุเกษตรกรที่มีมากขึ้นนี้ยังส่งผลและจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงหรือใช้ IT ของเกษตรกร ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพของแรงงานภาคเกษตรให้เป็นแรงงานทักษะสูง


อย่างไรก็ตามต้องเร่งสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ต้องใช้การศึกษาขับเคลื่อนการพัฒนาคนควบคู่ไปด้วย นอกเหนือจากนี้ ในปี 2015 เมื่อประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การหลั่งไหลของแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านจะเข้ามาทดแทนแรงงานไทยที่ไหลออกจากภาคเกษตร ขณะเดียวกันประเทศไทยก็จะต้องพัฒนาเกษตรกรทั้งระดับเยาวชนขึ้นไปเพื่อป้อนตลาดแรงงานหรือเกษตรกรความชำนาญพิเศษเข้าไปในประชาคมอาเซียน และที่เร่งด่วนอีกเรื่องก็คือ การเฝ้าระวังและพัฒนาพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์พื้นเมืองที่ดีของไทยซึ่งจะเป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างจริงจังและเร่งด่วน

4). การบริหารจัดการความรู้ทางการเกษตร ประเด็นของการพัฒนาความรู้ที่เกิดขึ้นในการเกษตรต้องให้เป็นองค์ความรู้ที่เข้าถึงได้ง่าย องค์ความรู้ด้านเกษตรของไทยมีกระจายอยู่ในหลายแหล่ง มีต้นแบบมากมายทั้งในปราชญ์ชาวบ้าน และชุมชนต้นแบบในหลายพื้นที่ องค์ความรู้เหล่านี้เป็นความรู้ของชุมชนและเป็นของคนคนนั้น เมื่อเกษตรกรนำวิธีของปราชญ์ชาวบ้านไปทำ มักไม่ได้ผลสำเร็จแบบเดียวกัน ดังนั้นต้องมีคนถอดรหัสองค์ความรู้ ตรรก วิธีคิดของปราชญ์ชาวบ้าน แปลงเป็นระบบจำลองผล และต้องแปลความ เพราะเรื่องของประสบการณ์ และความชำนาญ ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรไม่ได้ ต้องหาวิธีการให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เท่าทันสิ่งรอบตัวที่เปลี่ยนแปลงจะเป็นการดีที่สุด


ต้องทำให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆ ได้โดยง่าย สามารถค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ในระดับชุมชน มีการจัดหมวดหมู่ความรู้ เน้นการเชื่อมต่อข้อมูลในภาคเกษตร และต้องจัดทำมาตรฐานข้อมูลการเกษตรแห่งชาติ เทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรต้องเข้าถึงอย่างกว้างขวาง ใช้ IT ลด Information literacy และเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ผ่าน โทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์พกพาแบบอื่นๆได้ ใช้ IT สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะ การจ้างงานในชุมชน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มเกษตรกร


ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่คัดลอกและดัดแปลงจากการประชุมกลุ่มความร่วมมือต่างๆ ด้านการเกษตรที่มีผู้ทรงคุณวุฒิทั้งแวดวงเกษตรและวิชาการได้สรุปเป็นทิศทางในการดำเนินการ ฉะนั้นการจัดสัมมนาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นให้ความรู้และหวังให้ นักคิดและนักวิจัยอิสระทั้งในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และการเกษตรได้มีเวทีการแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งบริษัทเอกชนที่มีส่วนร่วมในการนำเสนอสินค้าด้านเกษตรที่มีคุณภาพได้พบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดจนสามารถสร้างโจทย์ที่มีกลุ่มบุคคลสามารถทำงานด้านนั้นๆ ให้เกิดขึ้นได้


นอกเหนือจากประเด็นที่กล่าวไป การใช้เครื่องมือเพื่ออำนวยช่วยงานด้านเกษตร ที่ใช้การวิเคราะห์และวัดผลด้านการเกษตร พืชผล และสารตกค้าง ซึ่งสามารถเข้าร่วมงานครั้งนี้

สำหรับงานด้านการเกษตรที่มีมวลรวมของปริมาณความต้องการทั้งในและต่างประเทศ ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจนสร้างมูลค่าการส่งออกได้อย่างมากมาย ทำให้การเข้มงวดในการผลิตและการเก็บรักษาผลผลิตในยามที่สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนนี้ จึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าส่งเสริมผลผลิตให้มีปริมาณมากๆ ฉะนั้นการได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ จึงต้องสามารถสร้างมาตรฐานการผลิตที่มีคุณภาพได้อย่างมีระบบ ช่วยให้สินค้าด้านการเกษตรเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้การส่งเสริมและผลิตพืชผลทางการเกษตรทำได้อย่างมีคุณภาพ

อย่างไรจึงเรียกได้ว่า การวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ?  จะต้องใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานอย่างไร? เครื่องมือวัดที่ช่วยงานด้านการเกษตรนั้น สามารถแบ่งได้ตามประเภทของงานด้านการเกษตรยกตัวอย่างเช่น
-เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ PH สำหรับงานเลี้ยงสัตว์น้ำหรืองานบำบัดน้ำ
-เครื่องวัดความหวาน Brix Meter สำหรับวัดค่าความหวานของอ้อย หรือพืชให้ความหวานอื่นๆ
-เครื่องวัดความเค็มของดิน Salinity Refractormeter สำหรับการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพดินเป็นต้น
-เครื่องวัดออกซิเจนในน้ำ/คลอรีน สำหรับการตรวจสอบสภาพน้ำเพื่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์
-เครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติ
-จมูกอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเกษตร
-เครื่องตรวจสอบผลไม้สุก อาทิฯ ทุเรียน ลำไย


รวมถึงระบบที่เรียกว่า ICT for Farm Management เช่น Ubiquitous sensors network, Farm robotics, Geo spatial system, Production model, Precision Farming, Embedded system ICT for GAP(Good Agriculture Practices) เช่น Ubiquitous sensors network, Geo spatial system  หรือ National ID for Agricultural Productsโดยโครงการ TH e-GIF 4 รับหน้าที่ทำ Data standardization และ Data integration ในกลุ่มนำร่องคือ เรื่อง Prediction model การระบาดของศัตรูพืช และกลุ่ม Traceability นำร่องเรื่องปลานิล
ICT for Traceability ประกอบด้วย มาตรฐานรหัสสากล(GS 1), GLN, Geo spatial analysis
e-Certification
RFID/Bar code tag for logistics and supply chain
Sensors for storage condition
Sensor for freshness measure
Smart packaging for spoilage identification เป็นต้น

ฉะนั้นในส่วนของเครื่องมือที่ช่วยให้การวัดและวิเคราะห์เกี่ยวกับพืชผลยังมีอีกมากมายที่จำเป็นต่อการใช้งานด้านการเกษตรซึ่งถือได้ว่า จะสามารถเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตและเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตรยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มบุคคลที่สนใจและเข้าร่วมสัมมนา
งานสัมมนาวิชาการทั้งหมดจะจัดขึ้นเพียง 2 วันเท่านั้น ทั้งนี้มุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนและแนะนำเครื่องมือวัดและทดสอบในสาขาอาชีพการเกษตร ที่มีส่วนสร้างให้เกิดมูลค้าสินค้าการเกษตรให้ได้มาตรฐานและราคาที่เป็นธรรม บุคคลที่ควรเข้ามามีส่วนร่วมกับการแสดงสินค้าและสัมมนาครั้งนี้
-นักวิจัยและพัฒนา ศูนย์วิจัยภาครัฐและเอกชน
-คณาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษา
-วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรมและวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับงานเครื่องมือวัด
-บุคคลทั่วไปที่สนใจงานด้านเครื่องมือการเกษตรที่ทันสมัย
-ห้างร้านและบริษัทที่ดำเนินงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือการเกษตรและเครื่องมือด้านอิเล็กทรอนิกส์
-นักเรียน/นักศึกษาในสายงานด้านเทคนิค เทคโนโลยีการเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โยธา วิทยาศาสตร์
-นักวิชาการเกษตร
-นักพัฒนาโครงการ นักวิจัย อาจารย์และกลุ่มบุคคลทำฟาร์มรุ่นใหม่ เจ้าของกิจการด้านการเกษตร เช่น โรงสี โรงงานรับซื้อพืชผลทางการเกษตร ขนาดเล็กถึงใหญ่

กลุ่มลูกค้าออกบูธ อาทิ บริษัทขายเครื่องมือวัด บริษัทรับจัดทำโปรเจค บริษัททำระบบอัตโนมัติ บริษัทขายเครื่องมือด้านเกษตรระบบน้ำ ปั๊มน้ำ หัวฉีดน้ำ เป็นต้น บริษัทขายชุดคิต ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ

ร่วมสนับสนุนโดย
มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ (Smart Farm Faculty of Science Mahidol University)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน ภาควิชา เครื่องจักรกลและแมคคาทรอนิกส์เกษตร
(Agricultural Machinery and Machatronics)

Media Support
วารสารเซมิคอนดักเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
วารสารไมโครคอมพิวเตอร์
วารสารอินดัสเทรียลเทคโนโลยีรีวิวส์
วารสารเมคานิกคอลเทคโนโลยี
วารสารThe Absolute Sound&Stage
วารสาร Update
วารสาร Hobby Electronics

ค่าใช้จ่ายในส่วนของสัมมนา 900 บาทต่อท่าน ต่อ 1 วัน (โดยมีอาหารกลางวัน บุฟเฟ่ร์นานาชาติ ร้านอาหาร Retro พร้อม เบรคอีก 2 เบรค ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) รับจำนวนจำกัดเพียง 250 ที่นั่งเท่านั้น
นอกจากนี้ รายได้ส่วนหนึ่งจากการสัมมนาร่วมสมทบทุนในโครงการ ชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ อำเภอ ท่ายาง จังหวัด เพชรบุรี
สอบถามรายละเอียดสัมมนาได้ที่ 02-739-8204,02-739-8200 อีเมล์ phutruksa@se-ed.com
,semi@se-ed.com , www.thailandindustry.com/smartfarmtechnology2012

พิเศษ!!!  ลุ้นรับของสมนาคุณ FLUKE 115 จาก บริษัท เมเชอร์โทรนิกซ์ 2 รางวัล