หน่วยงานด้านพลังงานผนึกกำลัง เร่งระดมสมองหาแนวทางรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เร่งเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน พัฒนาเทคโนโลยี สร้างฐานกำลังคน เพื่อบรรเทาปัญหาและวิกฤติ
หน่วยงานด้านพลังงานระดมสมองแก้วิกฤติพลังงาน ชี้แนวทางรับมือต้องมุ่งเน้นการใช้พลังงานทางเลือก เปลี่ยนการใช้รถส่วนบุคคลเป็นระบบขนส่งสาธารณะ สนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ เร่งสร้างกำลังคนที่มีความรู้ด้านพลังงานให้มากขึ้น โดยเฉพาะด้านการวางแผนนโยบาย เพราะเป็นกลุ่มบุคคลที่ขาดแคลนมากในขณะนี้ |
. |
ด้วยวิกฤตการณ์พลังงานปัญหาราคาน้ำมันที่ดีดตัวสูงขึ้นได้ส่งผลให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะต้องแบกรับราคาน้ำมันแพง ผู้ผลิต ผู้ค้า โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต้องมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการขนส่งมากขึ้น ส่วนผู้บริโภคต้องเผชิญกับภาวะสินค้าราคาแพงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นเหตุให้หลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิต สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ และบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เร่งระดมสมองหาแนวทางรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาและรับมือกับวิกฤติในอนาคต ในงานสัมมนาประจำปีของบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE Annual Seminar 2006) เมื่อวันที่ 28-30 เมษายน ที่ผ่านมา |
. |
นายชวลิต พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์แผนพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงฯ มีแนวทางในการรับมือกับวิกฤติพลังงาน โดยมีการกำหนดแผนการอนุรักษ์พลังงานขึ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในแต่ละภาคส่วน เช่น ในภาคขนส่ง ควรมีการปรับเปลี่ยนการขนส่งจากระบบล้อมาเป็นระบบราง หรือ เปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแบบผสมผสาน คือ ใช้ทั้งรถและเรือ ภาคอุตสาหกรรม ได้มีการส่งเสริมมาตรการด้านภาษี ให้สิทธิในการคืนภาษี 2.5 เท่า สำหรับการนำเข้าอุปกรณ์ที่ช่วยในการประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนจาก 0.5% เป็น 8% ในปี 2554 โดยสนับสนุนให้มีการใช้ Gasohol Biodiesel และก๊าซ NGV ทดแทนการใช้น้ำมัน ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากหลุมขยะ และพลังงานลมในการผลิตไฟฟ้า และใช้การเผาไหม้ชีวมวล และก๊าซชีวภาพทดแทนการให้ความร้อน |
. |
นอกจากแนวทางปฏิบัติแล้ว การสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ยังเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มทางออกของด้านพลังงานในอนาคต โดย นาย
|
. |
ขณะที่ ศ.ดร.
|
. |
อย่างไรก็ดี ด้านกรมควบคุมมลพิษ โดย ดร.
|
. |
การพัฒนาเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากจะมองด้านเทคโนโลยีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศแล้ว ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ดังนั้นการทำข้อเสนอทางเลือกใหม่ของพลังงาน จึงควรมีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมประกอบการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบายด้วย เนื่องจากเทคโนโลยีบางอย่างอาจเหมาะสมในด้านเป็นพลังงานทางเลือกที่ดี แต่อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศ และผลพลอยได้จากพลังงานบางชนิดอาจนำมาซึ่งสารก่อมะเร็งได้ ดร.สุพัฒน์ กล่าว |
. |
ด้าน JGSEE ซึ่งมีบทบาทในการสร้างบุคลากรระดับสูง มีการระดมสมองและสร้างบุคลากรเพื่อแก้ปัญหาชาติ โดย รศ.ดร.
|