ความท้าทายในการบริหารจัดการด้านไอทีท่ามกลางเศรษฐกิจขาลงในปี 2555 มุมมองสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถโลดแล่นบนถนนเบื้องหน้าที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ความท้าทายในการบริหารจัดการด้านไอทีท่ามกลางเศรษฐกิจขาลงในปี 2555 มุมมองสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถโลดแล่นบนถนนเบื้องหน้าที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
บทความโดย นายฮิว โยชิดะ
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ)
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์
ในปี 2554 ระบบเศรษฐกิจโลกได้ประสบกับความยากลำบากอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติในญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างรุนแรงในตะวันออกกลาง และวิกฤตหนี้ยูโร ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจระหว่างประเทศทั่วโลก และในปี 2555 ก็จะยังคงเป็นปีแห่งความไม่แน่นอนยิ่งกว่าเดิม
ขณะที่การกำหนดราคาดิสก์ที่มีแนวโน้มลดลงตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมาก็ได้เกิดเปลี่ยนแปลงแล้วเช่นกันเนื่องจากภาวะขาดแคลนอุปทานอันเป็นผลมาจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในภาวะที่ตลาดกำลังวุ่นวายสับสน
ส่งผลให้องค์กรธุรกิจต้องพบกับความท้าทายในด้านการดำเนินงานอย่างมาก เช่น การเพิ่มจำนวนอย่างมหาศาลของข้อมูล แม้ว่าบางองค์กรจะสามารถปรับตัวและขยายตัวได้อย่าง ก้าวกระโดดโดยอาศัยการทำเหมืองข้อมูลอย่างชาญฉลาด แต่ก็มีองค์กรธุรกิจจำนวนมากที่พบว่ากลยุทธ์ที่ล้าสมัยของตนจะกลายเป็นอุปสรรคอย่างแท้จริงสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
วิกฤตการเงินโลกที่สร้างแรงกดดันอย่างมากต่องบประมาณด้านไอทีและทำให้การนำโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ในองค์กรเป็นเรื่องที่ยุ่งยากขึ้นนั้น ถือเป็นสถานการณ์ที่ท้าทายอย่างมากสำหรับสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที
การเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) และประหยัดต้นทุนได้มากขึ้นในภาวะเศรษฐกิจขาลง
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2555 ที่จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจะต้องพยายามอย่างหนักเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนด้านไอทีที่สูงขึ้น และจะต้องสามารถประหยัดต้นทุนได้ในระยะยาวและยั่งยืน
การนำเสนอบริการระบบคลาวด์ทั้งในแบบบริการตนเอง แบบจ่ายเท่าที่ใช้งาน และตามความต้องการ จะนำมาซึ่งประโยชน์ในด้านการดำเนินงานและช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดต้นทุน ช่วยปรับใช้ทรัพยากรไอทีได้อย่างเหมาะสม และจัดการต้นทุนในการเป็นเจ้าของ (TCO) ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ การปรับใช้ระบบคลาวด์จะเป็นแนวโน้มด้านไอทีที่สำคัญในปีที่กำลังจะมาถึงและจะเริ่มเข้ามาแทนที่วงจรการจัดหาผลิตภัณฑ์ระยะ 3-5 ปีที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ในการโยกย้ายเข้าสู่โมเดลการปรับใช้ระบบคลาวด์นั้น เทคโนโลยี เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริง การจัดสรรพื้นที่ตามการใช้งานจริง การจัดเก็บข้อมูลตามระดับชั้นความสำคัญข้อมูลตามการใช้งานจริง เรื่องดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ทรัพยากรของตนได้อย่างครอบคลุมทั้งโครงสร้างพื้นฐานและปรับระดับความต้องการด้านการใช้งานได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์จากระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่เดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จากเดิมที่เคยทำได้ 20-30% ก็จะเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 50-60% ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนด้านไอทีเพิ่มขึ้นอย่างมาก
แพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริงสำหรับองค์กร เช่น Hitachi Virtual Storage Platform (VSP) สามารถช่วยประหยัดต้นทุนที่มีต่อสินทรัพย์เดิมและการปรับใช้ระบบคลาวด์แบบใหม่ เนื่องจาก VSP เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลระบบเดียวที่ไม่เพียงแต่ผสานรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบเซิร์ฟเวอร์และระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกันเท่านั้น
แต่ยังสามารถสร้างความยืดหยุ่นให้กับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนเพิ่มความจุของพื้นที่จัดเก็บภายใต้ระบบการทำงานที่มีอุปกรณ์จากหลายผู้ค้า ทั้งนี้ ลูกค้าหลายรายของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถลดต้นทุนด้านระบบจัดเก็บข้อมูลได้แล้วถึง 20-40% จากการใช้ประโยชน์ระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ของตนได้เพิ่มขึ้น
การคว้าโอกาสจากข้อมูลขนาดใหญ่
แม้ว่าในปี 2555 ระบบเศรษฐกิจจะยังคงอยู่ในภาวะขาลง แต่ก็ยังคงมีโอกาสสำหรับองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่จะสร้างมูลค่าและข้อได้เปรียบทางการแข่งขันใหม่ๆ เนื่องจากแนวโน้มที่สำคัญในปี 2555 จะยังคงเกี่ยวข้องกับ “ข้อมูลขนาดใหญ่” การขยายตัวของข้อมูลที่ไม่ได้มีการจัดระเบียบและแอพลิเคชั่นมือถือ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจหากข้อมูลดังกล่าวสามารถได้รับการจัดการและเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยแท้จริงแล้ว ความสำคัญของข้อมูลขนาดใหญ่ก็คือการดึงมูลค่าที่มีอยู่ของข้อมูลจำนวนมากออกมาใช้งาน โดยในปี 2555 ตามที่ผมได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการนำแพลตฟอร์มสำหรับเนื้อหา เช่น Hitachi Content Platform และ Hitachi NAS Platform มาใช้มากขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
สนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นในด้านการดำเนินงานและการจัดการ
แนวโน้มที่สำคัญอีกประการในปีนี้จะเป็นการผสานรวมเซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล เครือข่าย และแอพลิเคชั่นต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนเพิ่มขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจำนวนมากได้ให้ความสำคัญกับการ ผสานรวมเป็นอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนด้านการจัดหา ขณะเดียวกันการผสานรวมดังกล่าวยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ต้นทุนในการจัดเตรียมทรัพยากร การโยกย้าย การจัดสรรงานให้สมดุล และการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพของการปรับใช้แอพลิเคชั่นและการให้บริการในระดับที่สูงขึ้น
ซอฟต์แวร์การจัดระเบียบ เช่น Hitachi Converged Platform และ Hitachi Unified Compute Platform สามารถช่วยผสานรวมการจัดการ ระบบอัตโนมัติ และการจัดเตรียมทรัพยากรครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่าย ระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบเซิร์ฟเวอร์ทั้งในรูปแบบเฉพาะที่ แบบระยะไกล และในระบบคลาวด์ โดยสถาปัตยกรรมอ้างอิงของแอพลิเคชั่นต่างๆ เช่น ฐานข้อมูล Oracle และ Exchange ที่มีการกำหนดค่าไว้ล่วงหน้าจะช่วยลดเวลาและกำลังคนในการจัดเตรียมแอพลิเคชั่นได้อย่างมาก
เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผสานรวมดังกล่าว แอพลิเคชั่นและโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต้องมีความโปร่งใสระหว่างกันมากขึ้น โดยซอฟต์แวร์ Hitachi Command Director จะช่วยให้แอพลิเคชั่นมีมุมมองเบื้องหลังเกี่ยวกับระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนที่กำลังใช้งานอยู่ทั้งในด้านระดับบริการ การใช้ประโยชน์ และลักษณะของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูล
เพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน
นอกจากประสิทธิภาพและการได้รับโอกาสที่เพิ่มขึ้นจากข้อมูลขนาดใหญ่แล้ว แนะนำให้องค์กรปรับใช้สถาปัตยกรรมข้อมูลแบบใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและเพื่อให้ได้รับประสิทธิภาพด้านบริการที่ดียิ่งขึ้น การที่จะบรรลุผลดังกล่าวได้นั้น ระบบจัดเก็บข้อมูลจะต้องกลายเป็นระบบคอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูลที่มีฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น การจัดสรรพื้นที่ตามการใช้งานจริง การจัดเก็บข้อมูลตามระดับชั้นความสำคัญข้อมูลตามการใช้งานจริง และการจำลองแบบข้อมูล
นอกจากนี้ ในการจัดการเวิร์กโหลดที่เพิ่มขึ้นของเซิร์ฟเวอร์ องค์กรจะต้องการระบบเซิร์ฟเวอร์และระบบเดสก์ท็อปเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งจะต้องสามารถปรับขนาดระบบจัดเก็บข้อมูลของตนได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดการทำงานของระบบเพื่อให้แน่ใจได้ถึงประสิทธิภาพและความพร้อมใช้งานในระดับสูงสุด
ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเดิมที่มีคอนโทรเลอร์สำหรับการใช้งานทั่วไปซึ่งได้นำเสนอฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ (เช่น การจัดสรรพื้นที่ตามการใช้งานจริง การจัดเก็บข้อมูลตามระดับชั้นความสำคัญข้อมูลตามการใช้งานจริง และการจำลองแบบข้อมูล) นอกเหนือไปจากเวิร์กโหลด I/O ปกติจะไม่สามารถปรับขยายได้อีก
ในทางตรงข้ามสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบใหม่ (เช่น VSP) ที่มีพูลตัวประมวลผลแยกต่างหากที่จะสนับสนุนการขยายฟังก์ชันการทำงานได้อย่างง่ายดายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของ I/O และปริมาณงานที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงสามารถรับประกันด้านประสิทธิภาพ ความพร้อมใช้งาน และความสามารถในการปรับขยายได้
การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เหตุการณ์ภัยพิบัติในเมืองฟูกูชิมะได้ส่งผลให้เกิดการลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์ไปทั่วโลก และส่งผลให้เกิดความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับเชื้อเพลิงคาร์บอนเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าสำหรับศูนย์ข้อมูลของเรา ขณะเดียวกันหลายประเทศได้เริ่มจัดเก็บภาษีคาร์บอนมากขึ้นเพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของพลังงานไฟฟ้า
ดังนั้น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการลดการใช้ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อลดต้นทุนและทำให้แน่ใจได้ถึงความยั่งยืนในอนาคต จึงได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นประเด็นสำคัญสำหรับแวดวงไอทีในปีที่กำลังจะมาถึงนี้
การเร่งการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้สำหรับองค์กรธุรกิจ
ช่องว่างระหว่างความพร้อมใช้งานของเทคโนโลยีใหม่กับการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจะยังคงเพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้ว่าการที่จะทำให้ได้งานมากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลงนั้น ฝ่ายไอทีจะต้องทำงานอย่างหนักเป็นระยะเวลาหลายปีและไม่มีเวลาเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งผลให้ไม่สามารถดึงเอาศักยภาพในตัวออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ การใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ เนื่องจากจะต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจเอง บุคลากร กระบวนการทำงาน และการควบคุมดูแล
การอุดช่องว่างดังกล่าว จำเป็นต้องใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้ามาช่วยลดภาระงานของพนักงานที่ดูเหมือนว่าจะทำงานหนักจนเกินไป รวมทั้งเข้ามาช่วยในด้านการวัดผลทางธุรกิจ การปรับใช้กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และการนำเสนอโครงสร้างด้านการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ
ปี 2555: เดินหน้าสู่อนาคตด้วยความมั่นใจ
เป็นเรื่องจริงที่ว่าการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกจะต้องใช้เวลานานและไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และเป็นที่แน่นอนแล้วว่าในปี 2555 จะเป็นปีที่ยากลำบากอีกปีหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีต่างๆ พร้อมแล้วที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจจัดการกับปัญหาดังกล่าวด้วยการเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพ และความสามารถในการลดต้นทุน
ขณะที่การสร้างสมดุลด้านการจัดการงบประมาณอย่างระมัดระวังก็จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบมูลค่าที่จะได้รับจากเทคโนโลยีใหม่ๆ และพวกเขาถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่จะช่วยองค์กรธุรกิจในทุกขนาดให้บรรลุเป้าหมายในปีนี้ โดยก่อนอื่นให้เริ่มต้นด้วยการประเมินตำแหน่งที่คุณอยู่ภายใต้เงื่อนไขของธุรกิจ บุคลากร กระบวนการ และการควบคุมดูแล ตลอดจนการเลือกใช้บริการที่มีประสิทธิภาพเพื่อดึงมูลค่าจากเทคโนโลยีเหล่านี้ออกมาให้ได้สูงสุด