เนื้อหาวันที่ : 2012-02-29 09:22:44 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1302 views

เอชเอสบีซี คาดการค้าโลกจะเร่งตัวขึ้นในปี 2557

เอชเอสบีซี คาดจีนขึ้นแท่นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2559 เวียดนาม บังคลาเทศ และเปรู ติดโผคู่ค้าเกิดใหม่ชั้นนำของเอเชีย

          เอชเอสบีซี คาดการค้าโลกจะเร่งตัวขึ้นในปี 2557 จีนจะขยับเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2559 เวียดนาม บังคลาเทศ และเปรู ติดโผคู่ค้าเกิดใหม่ชั้นนำของเอเชีย

          เอ ชเอสบีซี เผยผลสำรวจคาดการณ์การค้าโลกล่าสุด พบว่า การค้าโลกจะเร่งตัวขึ้นในปี 2557 ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ก่อนหน้านี้ เอชเอสบีซีได้ปรับคาดการณ์การเร่งตัวของการค้าโลกเร็วขึ้นจากเดิมในปี 2558 มาเป็นปี 2557 โดยการเติบโตการค้ารายปีของเอเชีย แปซิฟิก จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยของการค้าโลกอย่างต่อเนื่อง โดยมีช่วงห่างเพิ่มขึ้นในอีก 15 ปีข้างหน้า ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า จีนจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2559

          มร. ไซมอน คอนสแตนทิไนส์ ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายการค้าระดับโลกและบริหารบัญชีลูกหนี้การค้า ธนาคารเอชเอสบีซี ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (ยกเว้นฮ่องกงและมาเก๊า) กล่าวว่า “ผลสำรวจตอกย้ำศักยภาพทางการค้าของภูมิภาคในสภาพตลาดที่ค่อนข้างท้าทาย

โดยคาดว่าในอีก 15 ปีข้างหน้า การค้าในเอเชีย และการค้าโลกจะขยายตัวขึ้นร้อยละ 120 และร้อยละ 86 ตามลำดับ ธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกหลายธุรกิจกำลังขยายเครือข่ายธุรกิจไปทั่วเอเชีย แปซิฟิก เชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้น และเป็นที่มาของการค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสและความจำเป็นสำหรับธุรกิจไม่ว่ารายเล็กหรือใหญ่ที่ต้อง กำหนดแผนกลยุทธ์ระหว่างประเทศและแผนการจัดการไว้รองรับการขยายตัวทางการค้า ของภูมิภาค ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2557”

          การส่งออกของ เอเชีย แปซิฟิกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น จะทำให้การค้าโลกเร่งตัวในปี 2557 โดยในอีก 5 ปีข้างหน้า การค้าของจีนซึ่งจะเติบโตร้อยละ 6.61 และการค้าของเอเชีย ร้อยละ 6.50 จะโตแซงหน้าการค้าโลก ซึ่งเติบโตที่ร้อยละ 3.78 และในระยะยาว ดัชนีการเติบโตการค้าเฉลี่ยของภูมิภาค เทียบกับปี 2554 จะเพิ่มขึ้น 111.92 จุด ในอีก 15 ปีข้างหน้า เทียบกับดัชนีการค้าโลกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 92.39 จุด

          เส้นทางการค้า
          ปริมาณการค้าของเอเชียจะขยาย ตัวเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากเส้นทางการค้าภายในภูมิภาคและการค้าระหว่างกลุ่มประเทศกำลัง พัฒนาด้วยกันเอง ทั้งกับละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดสินค้าโภคภัณฑ์ และยานพาหนะ ส่งผลให้จีนและอินเดีย สองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของเอเชีย จะมีส่วนแบ่งการค้าโลกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.73 ในปี 2554 มาเป็นร้อยละ 12.30 และร้อยละ 2.25 ในปี 2569 ตามลำดับ

          การค้าของจีนจะเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งสูงกว่าา ค่าเฉลี่ยของโลกอย่างมาก และจีนจะกลายเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2559 ผลสำรวจยังระบุว่า ปริมาณการค้ารวมของจีนคาดว่าจะขยายตัวด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.61 ต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้าจนถึงปี 2559 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.41 ระหว่างปี 2560-2564 เนื่องจากการค้าของจีนขยายตัวครอบคลุมทั่วโลก โดยเฉพาะการค้ากับอเมริกาใต้ และแอฟริกา ความต้องการพลังงานอย่างมากและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นจะทำให้การนำ เข้าและส่งออกด้านพลังงานและอุตสาหกรรมเติบโตได้ดีในอีก 5 ปีข้างหน้าด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 6.59 และ 6.62 ตามลำดับ

          คู่ค้าเกิดใหม่ชั้นนำของเอเชีย แปซิฟิกในอีก 5 ปีข้างหน้าในหมวดเสื้อผ้าสำเร็จรูป/สิ่งทอและข้าว ได้แก่ เวียดนาม และบังคลาเทศ ส่วนเปรู นอร์เวย์ และบราซิล เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญในหมวดสินแร่เหล็ก ถั่วเหลือง และน้ำมัน

          ปริมาณ การค้าภายในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก จะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของการค้าโลกภายใน 5 ปีข้างหน้า ในบรรดา 10 อันดับประเทศผู้นำเข้าและส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเอเชีย แปซิฟิก พบว่า 8 รายอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ประกอบด้วย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ตอกย้ำถึงความสำคัญของการค้าภายในภูมิภาค โดยอินเดีย ออสเตรเลีย จีน และอินโดนีเซีย คาดว่าจะเป็นประเทศผู้นำเข้าและส่งออกที่เติบโตเร็วที่สุดของภูมิภาคในอีก 5 ปีข้างหน้า

ถึงแม้ว่าอินเดียจะไม่ใช่คู่ค้ารายใหญ่ที่สุดในภูมิภาค แต่ก็มีอัตราการส่งออกที่เติบโตเร็วที่สุด ส่วนออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้าสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ถ่านหิน และสินแร่เหล็ก โดยเฉพาะการค้ากับจีน คาดว่าจะมีการขยายตัวของภาคส่งออกได้ดีในอีก 5 ปีข้างหน้า

          แนวโน้มการเติบโตของภาคการค้า
          การค้าโลกใน ภาคสาธารณูปโภคที่คาดว่าจะขยายตัวจะเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเอเชีย แปซิฟิกที่มีภาคการค้าเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (สินแร่เหล็กและถ่านหิน) และสินค้าขั้นกลางจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน Tier 2 (เครื่องกรอง เครื่องหมุนเหวี่ยง เครื่องปั๊มและคาน ข้อเหวี่ยง และเฟือง) โดยได้ชี้ให้เห็นว่าเอเชีย แปซิฟิก กำลังผลิตสินค้าจำนวนมหาศาลเพื่อการประกอบในขั้นสุดท้ายในแหล่งอื่น ๆ และเป็นตัวชี้วัดที่ส่งสัญญาณบวกของการขยายตัวทางการค้าที่เคยคาดว่าจะเพิ่ม ขึ้นเพียงเล็กน้อย

           อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่มุ่งเน้นในหมวดสินค้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ควบคุม สะท้อนว่าเอเชีย แปซิฟิกได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อ เนื่อง ส่วนในหมวดการพิมพ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการพิมพ์และอะไหล่ แม้ว่าจะยังมีฐานการผลิตที่น้อย แต่จะกลายเป็นหมวดสินค้าเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในเอเชีย แปซิฟิก

เนื่องจากเครือข่ายธุรกิจระดับโลกมีฐานการผลิตอยู่ในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ เอเชีย แปซิฟิกจะยังคงเป็นผู้ผลิตหลักสำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป แต่การผลิตจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศตะวันตก