สาเหตุที่นักคิดทางการจัดการ หรือ Guru หลายท่านได้รับการยกย่องให้เป็นกูรูนั้นมีมูลเหตุจาก
. |
นักคิดทางการจัดการ (Management Thinker หรือ Guru) เริ่มมีบทบาทหากย้อนนับไปก็ช่วงที่สังคมเคลื่อนย้ายเข้าสู่ “คลื่นลูกที่สาม” ซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ของอัลวิน ทอฟเฟลอร์ นักทำนายอนาคตผู้เขียนหนังสือชื่อ THIRD WAVE เหตุที่นักคิดนักเขียนหลายท่านได้รับการยกย่องให้เป็นกูรูนั้นมีมูลเหตุที่น่ารับฟังได้หลายประการ อาทิเช่น (1) เส้นทางการเกิดและเติบ
|
. |
ดังนั้นเส้นทางของโปรเฟสเซอร์มหาวิทยาลัยและที่ปรึกษาทางการจัดการก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย การประชันแข่งขันระหว่างกูรูส่วนใหญ่จึงกระจุกตัวอยู่ในหมู่นักวิชาการและเหล่าที่ปรึกษาของบริษัทชื่อดังเหล่านี้โดยมีหนังสือและผลงานการวิจัยเป็นเครื่องช่วยเสริมให้โด่งดังเร็วยิ่งขึ้น กูรูบางคนเป็นใครจากไหนไม่มีใครรู้แต่เมื่อต้นสังกัดมีชื่อ ตนเองมีผลงานการวิจัยในประเด็นที่คนสนใจและพิมพ์ ออกไปถูกจังหวะเวลาเพียงเท่านี้ก็สามารถโด่งดังชั่วข้ามคืนเดียวได้แล้ว (4) กูรูจะมีจุดร่วมกันอย่างเห็นได้ชัดในวารสาร Harvard Business Review (HBR) คือพวกเขาสร้างตัวเองจากหนังสือและก่อนจะเขียนหนังสือก็จะเขียนบทความลงในวารสารสำคัญ ๆ ซึ่งเป็นเวทีให้พวกเขาได้แสดงบทความนั้นก็คือการทำวิจัยในเรื่องที่พวกเขาเชี่ยวชาญ วารสารที่เป็นเวทีพบปะกันทางภูมิปัญญาที่สำคัญที่สุดก็คือ Harvard Business Review นักเขียนระดับกูรูเกือบทุกคนต้องไม่พลาดที่จะส่งผลงานมาลงที่นี่ก่อนที่จะตีพิมพ์เป็นหนังสือ HBR ส่วน HBR ก็ชอบที่จะตีพิมพ์ผลงานของกูรูเหล่านี้เพราะขายได้และที่สำคัญก็คือ เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า HBR เป็นวารสารที่ทรงอิทธิพลทางภูมิปัญญาทางการจัดการ นอกจากเป็นการบลัฟวารสารจากสำนักอื่น ๆ เช่น แมคคินเซย์ ควอเตอรี่ แล้วยังสามารถอาศัย Content ที่เหนือกว่าของตนเองในการทำการตลาด ให้หนังสือของตนเองแพร่หลายไปทั่วโลกอีกด้วย |
. |
ประเด็นที่ยกมาทั้ง 4 ข้ออาจน้อยไปสำหรับมหากูรูอย่าง ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker) ทอม ปีเตอร์ (Tom Peter) และไมเคิล พอร์เตอร์ (Michael Porter) เพราะผลงานที่ทุกท่านได้ฝากไว้นั้นได้กลายเป็นบริบททางด้านการบริหารจัดการที่ทั่วโลกยอมรับและผันผ่านไปตามกาลเวลา ที่มีทั้ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่ผลงานของมหากูรูทั้ง 3 ท่าน อาจแตกต่างจากกูรูท่านอื่น ๆ เนื่องจากการความโด่งดังและการยอมรับของสภาวะเกิดขึ้น และตั้งอยู่ จะแรงและยาวนานกว่ากูรูท่านอื่น ๆ ส่วนการดับไปนั้นก็ยังหาข้อลบล้างและข้อ
|
. |
|
. |
. |
เหตุผลที่ปีเตอร์ ดรักเกอร์ สามารถผลิตผลงานได้อย่างต่อเนื่อง ก็เพราะเขามีวิญญาณของการเป็นนักข่าวที่ติดตามข่าวอย่างต่อเนื่องทำให้หูไวตาไวและสิ่งที่สำคัญที่ทำให้เขาดำรงสถานภาพและโดดเด่นอยู่ได้เพราะเขานั่งอยู่ในบอร์ดของบริษัทใหญ่ ๆ ของบริษัทระดับ FORTUNE 500 ของอเมริกา “การที่เขานั่งอยู่ในนั้นทำให้เขาเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนของธุรกิจอเมริกันเพราะการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญก็มักเริ่มจา
|
. |
ปีเตอร์ ดรักเกอร์เป็นสิ่งมหัสจรรย์ของยุทธจักรกูรูเป็น Godfather ที่ใคร ๆ ก็ต้องซูฮก กว่ากูรูรุ่นลูกรุ่นหลานบางท่านที่อาจโดดเด่นได้เพราะหนังสือเล่มเดียวบางครั้งก็ได้ไอเดียจากการอ่านหนังสือของดรักเกอร์ทั้งนั้น เช่น (1) สตีเฟน โควี่ ได้กลายเป็นกูรูที่ทั่วโลกถามหาเมื่อเขาตีพิมพ์ Seven Habit of Highly Effective People ออกวางจำหน่ายเช่นเดียวกับ First Highly First แต่ใครจะรู้บ้างว่าหนังสือเล่มที่สร้างชื่อให้โควี่นั้นประเด็นใหญ่ ๆ ดรักเกอร์เขียนไว้นานมากแล้ว (2) ชาร์ล แฮนดี้ กูรูชาวอังกฤษผู้โด่งดังมาจากหนังสือชื่อ The Age of Discontinuity ของ ปีเตอร์ ดรักเกอร์นั่นเอง แม้กระทั่ง (3) ทอม ปีเตอร์ ก็บอกว่าดรักเกอร์คือแรงบันดาลใจของเขา |
. |
ปีเตอร์ ดรักเกอร์กับผลงานที่ต่อเนื่องและยาวนาน |
ในปี ค.ศ.1946 ปีเตอร์ ดรักเกอร์ได้ออกหนังสือที่มีชื่อเสียง คือ Concept of the Corporation ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่ทรงอิทธิพลมาจนถึงทุกวันนี้ ได้กล่าวถึงหลักวิเคราะห์ที่ลึกซึ้ง ว่าองค์การที่ประสบความสำเร็จนั้นใช้ปัจจัยอะไรโดยตอนนั้นเขาได้ยกตัวอย่างองค์กรเช่นบริษัท ไอบีเอ็ม เยนเนอรัล มอเตอร์ เชียร์ โรบัคส์ และได้กล่าวถึงการกระจายอำนาจ (Decentralization) การบริหารโดยยึดเป้าหมายเป็นหลัก (Management by Objectives) |
. |
หนังสือที่สร้างความยิ่งใหญ่และมีอิทธิพลต่อนักบริหารที่เขียนโดยดรักเกอร์ อีกเล่ม คือ The Practice of Managementในปี ค.ศ. 1954 โดยมองว่าการบริหารจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน คำว่า MBO (Management by Objectives) กลายเป็นคำที่รู้จักกันในหมู่วงการของการบริหารมากขึ้น การบริหารโดยยึดเป้าหมายเป็นหลักทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง ยีอี ได้นำหลักการบริหารดังกล่าวไปใช้ โดยตั้งเป้าไว้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทน่าจะอยู่ที่ 20% และผลตอบแทนจากต้นทุนจากยอดขายจะต้องอยู่ที่ 7% ถ้าตกจากเป้านี้แสดงว่าบริหารผิดพลาด ดรักเกอร์มองว่าการบริหารโดยวัตถุประสงค์นั้น ความสำเร็จหรือความล้มเหลวจะต้องมาจากผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด หรือผลตอบแทนแบบสุทธิแต่จะทำอย่างนี้ได้ จะต้องทำให้หน่วยงานทุกหน่วยงาน เข้าใจถึงวัตถุประสงค์อันนี้พร้อมเพรียงกันไปหมด ทุกหน่วยงานเปรียบเสมือนส่วนประกอบเล็ก ๆ รวมกันเป็นส่วนประกอบใหญ่ ๆ |
. |
หนังสือคู่มืออย่างเช่น Managing for Results ในปี ค.ศ. 1964 เป็นหนังสือที่ดรักเกอร์กล่าวว่า เป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน เป็นหนังสือที่เพียรพยายามที่จะนำสภาพทางเศรษฐกิจมาทำธุรกิจ และการทำธุรกิจโดยเอาสภาพเศรษฐกิจมาเป็นตัวตัดสินใจ เขากล่าวชัดเจนถึงเป้าหมายของบริษัทว่าต้องการจะทำยอดขาย ทำกำไรอยู่ที่เท่าไร ทรัพยากรเป็นอย่างไร เป้าหมายที่เป็นลูกค้าเป็นใคร ต้นทุนในการดำเนินการ ความต้องการของลูกค้า จุดแข็งขององค์กร การหาลูกค้าและธุรกิจใหม่ ๆ การตัดสินใจอย่างเป็นระบบและการสร้างยุทธศาสตร์เป็นตัวกำหนด ดรักเกอร์มองว่า องค์กรทุกองค์กรในทุก ๆ สามปี ควรจะทบทวนบทบาทตัวเองอย่างลุ่มลึก ในเชิงกระบวนการของการทำงาน นัยของเทคโนโลยี การบริการ การตลาด ทั้งหมดทั้งปวงนี้ควรจะมีการทบทวนอย่างถ่องแท้ |
. |
ศัพท์คำว่า Knowledge Worker รู้จักอย่างกว้างขวางในปี ค.ศ.1969 Knowledge Worker หรือพนักงานที่ใช้ความรู้ในการทำงาน ซึ่งในปัจจุบันคำนี้มีนัยต่อคำว่าสารสนเทศ หรือ Information Age ตลอดจน เก่งอะไรให้เก่งสุด ๆ ไป (Stick to the Knitting) หรือการกระจายอำนาจ (Decentralition) เป็นแนวคิดที่มาจากมหากูรู ปีเตอร์ ดรักเกอร์ |
. |
หนังสือของดรักเกอร์มักจะพูดเกี่ยวกับทฤษฎีว่าด้วยการบริหารการจัดการ เทคนิควิธีและนัยเชื่อมโยงกับเศรษฐศาสตร์การเมือง และสังคม โดยนำศาสตร์เหล่านี้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ไปพร้อมกันหนังสือ The Age of Discontinuity ดรักเกอร์ได้พูดถึงคำว่า แปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Privatization แต่ดรักเกอร์ไม่ได้เรียกว่า Privatization แต่เรียกเป็น Reprivatization ซึ่งความจริงก็มีนัยเหมือนกัน |
. |
หนังสือที่ถือว่าเป็นสารานุกรมแห่งศาสตร์แห่งการบริหารคือหนังสือที่ชื่อ Management: Tasks, Responsibility, Practice ในปี ค.ศ.1973 ได้ให้ความสำคัญห้าจุดด้วยกันสำหรับนั
|
. |
หนังสือเรื่อง Innovation and Entrepreneurship ในปี ค.ศ.1985 พูดถึงการเติบ
|
. |
หนังสืออีกเล่มในปี ค.ศ.1989 คือ The New Realities ที่พูดถึงการพัฒนาของระบบธุรกิจข้ามชาติ การเกิดระบอบประชาธิปไตยที่สหภาพโซเวียต การเปลี่ยนท่าทางของนโยบายสหรัฐ ฯ และสังคมโดยเฉพาะรูปแบบการทำธุรกิจ |
. |
ในปี ค.ศ. 1992 คือ Post–Capitalist Society ที่อธิบายถึงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคม จากสังคมแรงงาน มาเป็นสังคมที่ต้องใช้ความรู้ และสังคมการบริการ รวมถึงการท้าทายทางภาคเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน |
. |
ความคิดโดยรวมของดรักเกอร์ คือการมองว่าการบริหารนั้น ไม่ใช่มีนัยอยู่แต่เพียงการทำธุรกิจเท่านั้น แต่รวมไปถึงการใช้ชีวิตโดยรวมด้วยสิ่งเขาพูดอยู่เสมอ คือ หน้าที่ของซีอีโอจะต้องทำตัวราวกับเป็นไวทยากรณ์คือเป็นผู้ควบคุมวงดนตรี เรากำลังจะเริ่มตระหนักว่า การบริหารนั้น มันรวมไปถึงทุกอณูของการบริหาร ในบทความของนางโรสาเบท มอส แคนเตอร์ ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร New Management ในปี ค.ศ.1985 เธอได้กล่าวถึงดรักเกอร์ว่า การบริหารที่ดีนั้น มีนัยไปถึงความหวังที่ดีที่สุดต่อประชาชนทั่วโลก สำหรับดรักเกอร์แล้วการสร้างการเจริญเติบ
|
. |
ทอม ปีเตอร์ กับแนวคิดที่ทำให้เขาเป็นมหากูรูในโลกการจัดการ |
. |
. |
ทอม ปีเตอร์ ผู้เขียนหนังสือขายดีอย่าง In search of Excellence และ Re–Imagination กล่าวไว้ว่า สังคมและแวดล้อมอุตสาหกรรม และวงการธุรกิจนั้น เป็นหนี้บุญคุณต่อดรักเกอร์มาก เขาเชื่อว่า 80 %ของวงการธุรกิจที่อยู่ใน Fortune 500 ใช้หลักวิธีการกระจายอำนาจในการบริหาร ที่ทำให้องค์กรเหล่านี้สามารถพ้นจากการหายนะในการทำธุรกิจได้และปีเตอร์กล่าวทิ้งทวนอย่างน่าสนใจว่า ก่อนหน้าดรักเกอร์นั้น โลกไม่รู้จักหรอกว่า หลักการบริหารการจัดการนั้นคืออะไร |
. |
ทอม ปีเตอร์ ทำงานให้กับบริษัทแมคคินซีกว่า 21 ปี โดยดูแลทางด้านการบริหารการกระจายอำนาจให้กับองค์กรต่าง ๆ และเคยทำงานที่ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ในปี ค.ศ.1976 ได้กลับมาที่ซานฟรานซิสโก และมาทำงานที่แมคคินซี และชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลกหลังจากได้ออกหนังสือคลาสสิกขายดีอย่าง In Search Of Excellence หลังจากนั้นทอม ปีเตอร์ ได้ออกจา
|
. |
หนังสือเรื่อง Thriving on Chaos ที่เขียนขึ้นในปีค.ศ. 1980 นั้นมีแนวคิดหลักคือการเปลี่ยนจากระบบบริหารแบบขั้นตอนไปเป็นระบบอย่างแนวราบรวดเร็ว และแต่ละหน่วยสามารถเชื่อมโยงทำหน้าที่ให้กันและกันได้ โดยทอม ปีเตอร์ ได้สรุปหลักใหญ่ ๆ จากหนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 45 ข้อคือ สร้าง Niche หรือความเป็นเฉพาะให้กับตัวเอง |
. |
|
. |
ความเป็นมหากูรูของทอม ปีเตอร์โดดเด่นขึ้นมาอีกเนื่องจาก เป็นคนแรกที่ใช้เว็บไซต์เป็นสื่อในการเสนอความคิดตัวเองที่ชื่อว่า www.tompeters.com ซึ่งสร้างความสนใจให้กับผู้ติดตามเขาได้เป็นอย่างดี ต้องยอมรับว่า ปีเตอร์ได้กลายเป็นนักคิดนักการบริหารที่ออกหนังสือทางด้านการบริหารและสร้างมิติใหม่ว่าด้วยการบริหารรวมถึงทิศทางใหม่ของศาสตร์การบริหารในยุคนี้ ยังไม่มีนักคิดทางด้านการบริหารผู้ใดที่เขียนหนังสือและสร้างความนิยมมากเท่ากับหนังสืออย่าง In Search Of Excellence ซึ่งเป็นหนังสือที่พูดถึงคุณค่าขององค์กรแม้จะถูกแต่งในปี ค.ศ. 1982 แต่ก็ยังทรงคุณค่าอยู่จนทุกวันนี้ และเป็นหนังสือที่กล่าวถึงการยอมรับการเปลี่ยนแปลงและจะจัดการกับมันอย่างไรซึ่งถือว่าในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ หนังสือเล่มนี้ได้ก้าวล้ำในยุคเป็นอย่างมาก |
. |
ไมเคิล พอร์เตอร์ มหากูรูทางด้านการสร้างยุทธศาสตร์ |
. |
. |
ไมเคิล พอร์เตอร์ ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในภาควิชาบริหารธุรกิจ ได้ถูกยกย่องว่าเป็นกูรูที่เชี่ยวชาญที่สุดในด้านศาสตร์ของการสร้างยุทธศาสตร์ และเป็นวิทยากรที่มีผู้ต้องการจะเข้าไปฟังบรรยายมากที่สุด จนไม่รู้ว่าเขากับทอม ปีเตอร์นั้น ใครมาแรงกว่ากัน ทอม ปีเตอร์ได้ทำให้คำว่า Excellence หรือล้ำเลิศ ยอดเยี่ยม กลายเป็นจุดขายของเขา |
. |
ไมเคิล พอร์เตอร์สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดทางด้านเศรษฐศาสตร์ และก่อนหน้านี้ได้ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน จากสาขาวิชาวิศวกรรมการบิน เขาได้เข้าไปเป็นอาจารย์ที่ฮาร์วาร์ดเมื่อมีอายุเพียง 26 ปีหนังสือที่เขาเขียนเล่มแรกคือ Competitive Strategy ในปี ค.ศ.1980 ได้กลายเป็นหนังสือที่ยอมรับกันว่าให้คำอรรถาธิบายในเรื่อง ยุทธศาสตร์ได้ดีที่สุด และได้รับการตีพิมพ์แล้วถึง 52 ครั้ง |
. |
นักศึกษาด้านเอ็มบีเอ ต่างยอมรับว่าหลักคิดและหลักวิเคราะห์ของไมเคิล พอร์เตอร์ ที่พูดถึงพลังปัจจัยห้าพลัง (Five Forces) ซึ่งเน้นว่าควรจะสำรวจตัวเองดังนี้ (1) การแข่งขันระหว่างองค์กรต่อองค์กรในปัจจุบัน (2) ภัยจากคู่แข่งขันใหม่ (3) ภัยจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ (4) ภัยจากซัพพลายเออร์ และ (5) ภัยจากลูกค้าหรือผู้ซื้อ นั้นมีคุณค่ามากต่อการวิเคราะห์คุณภาพและประสิทธิภาพของการดำเนินการขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการผลิตหรือทางด้านการตลาด ส่วนนิยามอีกคำที่ ไมเคิล พอร์เตอร์ ได้สร้างขึ้นมาคือ Value Chain หรือโซ่แห่งคุณค่าก็สามารถทำให้บริษัทคำนวณต้นทุนในการผลิตหรือดำเนินการในกิจกรรม สามารถเปรียบเทียบกับของคู่แข่งได้ และยังมี Cluster Theory หรือทฤษฏีที่จัดหมวดหมู่เฉพาะด้านหรือเฉพาะกิจขึ้นมา เพื่อสร้างความได้เปรียบ |
. |
ในปี ค.ศ. 1990 นิตยสาร Business Week กล่าวถึงไมเคิล พอร์เตอร์ ว่าเป็น
|
. |
หนังสืออีกเล่มคือ The Competitive Advantage of Nations ได้วิเคราะห์ถึงประเทศ 10 ประเทศที่สามารถได้เปรียบทางการแข่งขันทางการค้าในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และยังมีหนังสืออีกเล่มคือMichael Porter On competition ซึ่งเขียน ในปี ค.ศ.1998 ซึ่งเป็นการรวบรวมความคิดของเขาจา
|
. |
พอร์เตอร์เห็นว่า องค์กรนั้นมีจุดได้เปรียบอยู่สองจุด คือจุดที่สามารถผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ และจุดที่สินค้าที่ความแตกต่างจากสินค้าคู่แข่ง “การได้เปรียบทางยุทธศาสตร์การแข่งขัน คือการที่เราสามารถเสนอสินค้าให้กับลูกค้าได้ด้วยราคาที่ถูก เพราะต้นทุนในการผลิตต่ำ หรือการที่เราอาจจะมีต้นทุนในการผลิตพอ ๆ กับคู่แข่ง แต่สินค้าเรานั้นมีความแตกต่าง คู่แข่งไม่สามารถทำตามได้ |
. |
องค์กรบางองค์กรทีมีสาขาอยู่ต่างประเทศ อาจจะได้ประโยชน์จากการแข่งชัน เพราะค่าจ้างแรงงานของประเทศที่ตัวเองตั้งโรงงานอยู่อาจจะถูกอันนี้ก็ได้เปรียบ หรือข้อได้เปรียบอีกอย่างคือ การที่องค์กรที่ไปต้องออฟฟิศหรือโรงงานในต่างประเทศนั้น สามารถใช้ตลาดรอบข้างของประเทศนั้นเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายได้อีกด้วย แต่สิ่งที่พอร์เตอร์มองว่า ยุทธศาสตร์ในการสร้างความได้เปรียบที่เหนือล้ำที่สุดคือการที่องค์กรนั้น ๆ มีความแข็งแกร่งอยู่ภายในอยู่แล้ว และอาณาบริเวณที่บริษัทตัวเองตั้งอยู่นั้นก็มีองค์กรที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ตั้งพื้นที่อยู่รอบ ๆ อยู่แล้ว ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดสภาวะของการแข่งขันอย่างอัตโนมัติ หรือที่พอร์เตอร์เรียกพื้นที่ดังกล่าวนี้ว่าเป็น Cluster |
. |
องค์กรจะมีความแข็งแกร่งในการบริหารการจัดการ และการผลิตได้นั้น มักจะมีคูแข่งในประเทศที่มีความสามารถอยู่แล้ว ซึ่งมันจะเป็นแรงกระตุ้นให้องค์กรนั้นสามารถผลิตทักษะ และสะสมทักษะได้ดีและถ้าพื้นที่ในการผลิตนั้นมีแหล่งทางปัญญาที่มีความสามารถไม่ว่าจะออกมาเป็นในรูปโรงงานผลิตหรือสำนักงานก็ตาม หมายถึงการได้รับการถ่ายทอดให้กันและกันในบริเวณใกล้เคียง (Cluster) ยิ่งจะทำให้องค์กรนั้นมีความสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น |
. |
บทสรุป |
สาเหตุที่นักคิดทางการจัดการ (Management Thinker หรือ Guru) หลายท่านได้รับการยกย่องให้เป็นกูรูนั้นมีมูลเหตุจาก (1) เส้นทางการเกิดและเติบ
|
. |
ผลงานของมหากูรูทั้ง 3 ท่าน อาจแตกต่างจากกูรูท่านอื่นๆ เนื่องจากการความโด่งดังและการยอมรับของสภาวะเกิดขึ้น และตั้งอยู่ จะแรงและยาวนานกว่ากูรูท่านอื่น ๆ ส่วนการดับไปนั้นก็ยังหาข้อลบล้างและข้อ
|
. |
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนแบบ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ซึ่งมีอยู่ไม่มากแม้กระทั่งพวกที่อยู่ในระดับกูรูด้วยกันก็ น้อยคนนักที่จะเทียบชั้นกับดรักเกอร์ได้เพราะสถานภาพของปีเตอร์ ดรักเกอร์นั้นเทียบเท่ากับเป็น POPE ของกูรู สำหรับ ทอม ปีเตอร์นั้นได้กลายเป็นนักคิดนักการบริหารที่ออกหนังสือทางด้านการบริหารและสร้างมิติใหม่ว่าด้วยการบริหารรวมถึงทิศทางใหม่ของศาสตร์การบริหารในยุคนี้ ยังไม่มีนักคิดทางด้านการบริหารผู้ใดที่เขียนหนังสือและสร้างความนิยมมากเท่ากับหนังสืออย่าง In Search Of Excellence ซึ่งเป็นหนังสือที่พูดถึงคุณค่าขององค์กรแม้จะถูกแต่งในปี ค.ศ. 1982 แต่ก็ยังทรงคุณค่าอยู่จนทุกวันนี้ และเป็นหนังสือที่กล่าวถึงการยอมรับการเปลี่ยนแปลงและจะจัดการกับมันอย่างไรซึ่งถือว่าในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ หนังสือเล่มนี้ได้ก้าวล้ำในยุคเป็นอย่างมาก และขอส่งท้ายด้วยแนวคิดที่ล้ำลึกของไมเคิล พอร์เตอร์ ซึ่งเขาเห็นว่า องค์กรนั้นมีจุดได้เปรียบอยู่สองจุด คือ จุดที่สามารถผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ และจุดที่สินค้าที่ความแตกต่างจากสินค้าคู่แข่ง “การได้เปรียบทางยุทธศาสตร์การแข่งขันคือ การที่เราสามารถเสนอสินค้าให้กับลูกค้าได้ด้วยราคาที่ถูก เพราะต้นทุนในการผลิตต่ำ หรือการที่เราอาจจะมีต้นทุนในการผลิตพอ ๆ กับคู่แข่ง แต่สินค้าเรานั้นมีความแตกต่าง คู่แข่งไม่สามารถทำตามได้” ทั้งหลายทั้งปวงที่กล่าวมาแล้วน่าจะเป็นข้อยืนยัน ได้ว่า มหากูรู สมควรจะเป็นตำแหน่งติดตัวของ ทอม ปีเตอร์ (Tom Peter) และ ไมเคิล พอร์เตอร์ (Michael Poter) ส่วน ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker) นั้นตำแหน่ง POPE ของกูรู เหมาะกับเขามากที่สุดและน่าจะยั่งยืนที่สุดอีกด้วย |
. |
เอกสารอ้างอิง |
เว็บไซต์ประกอบ www.tompeters.com |