รัฐบาลขมิ้นอ่อนและคมช. ออกอาการไม่ปลื้มนักธุรกิจต่างชาติ มองเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ยุคตกต่ำสุด ๆ เตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกระลอก เน้น ท่องเที่ยวรถไฟฟ้า-อสังหาฯไปพร้อม ๆ กัน
รัฐบาลขมิ้นอ่อนและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ออกอาการไม่ปลื้มนักธุรกิจต่างชาติ มองเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ยุคตกต่ำสุด ๆ เตรียมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกระลอก หลังรอบแรกเศรษฐกิจไม่กระเตื้องเน้น ท่องเที่ยว—รถไฟฟ้า-อสังหาฯไปพร้อม ๆ กัน |
. |
น.พ.พลเดช ปิ่นประทีป รมช.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวภายหลังการประชุมระหว่างคณะรัฐมนตรีกับ คมช.ว่า ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันหลายเรื่อง ประเด็นสำคัญคือ ที่ประชุมอยากให้มีการเร่งรัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ |
. |
"การกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ เช่น กระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งจากภายในและนอกประเทศ รวมถึงการเร่งรัดเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้า โดยเฉพาะโครงการรถไฟสายสีแดงที่นายกรัฐมนตรีมอบให้นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช. คมนาคม ไปดำเนินการเร่งรัดโครงการนี้ ซึ่งนายสรรเสริญได้แจ้งว่า สายสีแดงคาดว่าจะสามารถ นำเข้า ครม.ได้ภายในเดือน พ.ค.นี้ จากนั้นจะมี การเปิดประมูล ก่อนทำประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ คิดว่าอย่างน้อยมี 2 สายที่น่าจะเริ่มประมูลได้ |
. |
นอกจากนี้ยังมีการหารือถึงการวางรากฐานทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางรถไฟที่เชื่อมระหว่างพม่า-ไทย-กัมพูชา โดยให้มีการวางรากฐานศึกษาทำแผนแม่บทออกมาเป็นแผนการลงทุน" |
. |
น.พ.พลเดชกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีเห็นด้วยกับข้อเสนอเรื่องโครงการบ้านเอื้ออาทรที่รัฐบาลสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้ จากโครงการที่มี 6 แสนหน่วย แยกเป็นกลุ่มที่สร้างเสร็จแล้ว กลุ่มที่กำลังสร้าง และกลุ่มที่ยังไม่ได้เริ่มและยังไม่ได้ทำสัญญา |
. |
เมื่อวิเคราะห์แล้วจะพบว่ารัฐบาลสามารถลดปริมาณบ้านในโครงการนี้ลงเหลือ 3 แสนหน่วยได้ เพื่อที่จะเดินหน้าต่อโดยใช้เงินทุนสนับสนุนเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งจุดนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานล่างได้มาก |
. |
"ส่วนประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่อยากซื้อบ้าน แต่ไม่ต้องการซื้อบ้านเอื้ออาทร ตรงนี้มีการเสนอว่า น่าจะมีการใช้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยมาช่วยเหลือ ซึ่งรัฐมนตรีคลังก็เห็นด้วยและสนับสนุน" นายแพทย์พลเดชกล่าว |
. |
นอกจากนี้นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ ยังเสนอเรื่องทุนการศึกษาที่กำลังจะมีการเปิดภาคเรียน ซึ่งตรงนี้จะกระตุ้นได้ หากงบประมาณลงไปถึงเด็กในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.จะเป็นการกระตุ้นไปถึงฐานราก |
. |
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ |