เนื้อหาวันที่ : 2007-05-02 15:59:38 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1054 views

"ประเทศไทย" ขึ้นชั้นแหล่งละเมิดลิขสิทธิ์ อันดับ 2 ของโลก

"สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์)" ชี้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและเป็นประเทศซึ่งเป็นฐานการผลิตใหญ่ของสินค้าปลอมแปลง โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและรองเท้า และเป็นผู้นำการส่งออกเสื้อผ้าปลอมแปลงไปหลายประเทศ

"สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (ยูเอสทีอาร์)" รายงานตัวเลขของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยมีดังนี้ 50% สำหรับเทปเพลง 80% สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อธุรกิจ 82% สำหรับซอฟต์แวร์เพื่อการบันเทิง และ 79% สำหรับภาพยนตร์

.

ขณะที่อัตราการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้านภาพยนตร์ในประเทศไทย สูงพอๆ กับประเทศรัสเซีย คือเป็นลำดับสองของโลก ตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่า มูลค่าการสูญเสียของอุตสาหกรรมภาพยนตร์มีจำนวนถึง 15,000 ล้านบาท จากมูลค่านี้ ผู้ผลิตภาพยนตร์ไทย ผู้จัดจำหน่าย โรงภาพยนตร์ และร้านให้เช่าวิดีโอ สูญเสียรายได้เป็นจำนวน 42% หรือกว่า 6,000 ล้านบาท จากการประมาณการพบว่า รายได้ของอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทยลดลงไปประมาณ 30% โดยในปี 2549 ปีเดียวค่ายเพลงกว่า 20 แห่งต้องปิดตัวลงเพราะปัญหานี้

.

นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่า โรงงานผลิตแผ่นดิสเก็ตเก็บข้อมูล 14 แห่งในไทย ซึ่งมีกำลังการผลิต 665 ล้านแผ่นต่อปี ซึ่งเกินความต้องการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ประชากรชาวไทยทุกหนึ่งคนต้องการที่จะซื้อแผ่นดีวีดีและแผ่นวีซีดีที่ถูกกฎหมาย 10 แผ่นต่อปี ที่เป็นการเหมาะสมต่อกำลังการผลิต มีประมาณการว่า การเผยแพร่รายการทางเคเบิลและทางดาวเทียมสูญเสียรายได้ประมาณ 5,600 ล้านบาท ทางผู้ผลิตรายการประเมิณว่ามีการละเมิดการติดตั้งเคเบิลในประเทศไทยถึง 1.33 ล้านจุดทำให้สูญเสียสมาชิกที่ถูกต้องตามกฎหมายของทรูวิชั่นส์ถึง 500,000 ราย ด้านอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและรองเท้ารายงานว่า ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตใหญ่ของสินค้าปลอมแปลง และเป็นผู้นำการส่งออกเสื้อผ้าปลอมแปลง

.
สิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี)

ยูเอสทีอาร์ รายงานด้วยว่า สำหรับโครงการระบบสิทธิพิเศษทางศุลกากร (จีเอสพี) ที่สหรัฐอเมริกาให้แก่ไทย และเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี 2519 อนุมัติภายใต้พระราชบัญญัติทางการค้าปี 2517 เป็นระยะเวลา 10 ปี โครงการนี้ได้รับการต่ออายุมาจนกระทั่งในเดือนธันวาคม ปี 2549 และต่ออายุโครงการอีกจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ปี 2551

.

โครงการนี้จะยกเว้นภาษีสำหรับสินค้า 3,400 ชนิด จาก 133 ประเทศและรัฐที่กำลังพัฒนา โดยไทยส่งสินค้าออกไปสหรัฐ ภายใต้ระบบนี้ 4.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2549 ซึ่งเพิ่มขึ้น 18.9% จากปีที่แล้ว และในปี 2549 ไทยใช้สิทธิพิเศษทางศุลกากรนี้มากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศอินเดีย

.

นอกจากนี้ไทยใช้สิทธิพิเศษทางศุลกากรส่งสินค้าไปสหรัฐในปี 2549 มากกว่า 13% ของสินค้าส่งออกจากทั่วโลกที่ส่งไปยังสหรัฐ ภายใต้โครงการนี้ หรือ 18% ถ้าไม่รวมสินค้าน้ำมัน สินค้าหลักของไทย ได้แก่ สินค้าเครื่องประดับและอัญมณี ทีวีสี ยางรถยนต์ โพลีเอทธิลีนเทเลพาเลท

.

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์