เนื้อหาวันที่ : 2007-04-27 17:04:48 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1535 views

เอชพี ก้าวล้ำ เปิดประตูสู่ยุคแห่ง "บิสิเนสเทคโนโลยี"

เอชพีเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของอุตสาหกรรมไอที ประกาศบทบัญญัติที่เรียกว่า "บิสิเนสเทคโนโลยี" มุ่งเสริมศักยภาพองค์กรธุรกิจด้วยโซลูชันและบริการไอทีที่ก้าวล้ำ

เอชพีเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของอุตสาหกรรมไอที ประกาศบทบัญญัติที่เรียกว่า บิสิเนสเทคโนโลยี (Business Technology) มุ่งเสริมศักยภาพองค์กรธุรกิจด้วยโซลูชันและบริการไอทีที่ก้าวล้ำ นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ของอุตสาหกรรมไอทีอย่างแท้จริง

.

เอชพีระบุอุตสาหกรรมไอทีได้ก้าวออกจากยุคเดิมที่เรียกว่า Information Technology มาสู่ยุคใหม่ที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีเพื่อผลลัพธ์ทางธุรกิจที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม การให้ความสำคัญกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านสารสนเทศ (ซีไอโอ) ในการมีส่วนร่วมตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้า

.

ยุคแห่ง Information Technology ได้หมดลงแล้วแอน ลิเวอร์มอร์ รองประธานบริหารระดับสูง กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีโซลูชัน บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด จำกัด กล่าว ขณะนี้อุตสาหกรรมไอทีได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ที่เทคโนโลยีไม่ได้รองรับเพียงแค่การขยายตัวของธุรกิจ แต่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจเติบโต ในยุคแห่งบิสิเนสเทคโนโลยี หัวใจสำคัญอยู่ที่บทบาทของซีไอโอในการตัดสินใจเลือกลงทุนด้านเทคโนโลยีโซลูชันที่สอดคล้องต่อวิชันอันกว้างไกลของธุรกิจ ซีไอโอต้องพิจารณาถึงทางเลือกที่เหมาะสม และให้ผลตอบแทนทางทางธุรกิจที่สามารถวัดผลได้ ที่สำคัญทางเลือกต้องคุ้มต่อความเสี่ยง รักษาต้นทุนต่ำ เพื่อผลักดันองค์กรให้ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง

.

ผลจากการวิจัยจัดทำโดยเอชพีแสดงให้เห็นว่า แนวโน้มของทางเลือกระหว่างปัจจัยทางธุรกิจและปัจจัยทางเทคโนโลยีของผู้มีอำนาจตัดสินใจมีแนวโน้มที่จะมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น โดยซีอีโอและซีไอโอขององค์กรต่างเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีคือปัจจัยสำคัญของความสำเร็จทางธุรกิจ การวิจัยชี้ชัดว่า กว่า 88 เปอร์เซ็นต์ของซีอีโอ และ 90 เปอร์เซ็นต์ของซีไอโอ เห็นพ้องต่อความคิดที่ว่าเทคโนโลยีสามารถแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจที่วัดได้จริง 

.

ในขณะที่กว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของซีอีโอเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีคือหัวใจสำคัญของความสำเร็จทางธุรกิจ มีเพียงแค่ 32 เปอร์เซ็นต์ของซีอีโอเท่านั้นที่ให้ซีไอโอเข้ามามีส่วนร่วมในการวางกลยุทธ์ในการตัดสินใจ จากจุดสำคัญนี้เอง หากซีไอโอได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจมากขึ้น ย่อมส่งผลที่ดีต่อสถานภาพในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กร แอน ลิเวอร์มอร์ กล่าวเสริม

.

เพื่อเป็นการผลักดันองค์กรไปสู่ผลลัพธ์อันเป็นสุดยอดปรารถนาทางธุรกิจ อาทิ การลดอัตราการเสี่ยง การสร้างความเติบโตให้กับองค์กร และการรักษาต้นทุนให้อยู่ในระดับต่ำ เอชพีประกาศเพิ่มสายผลิตภัณฑ์โซลูชันและการให้บริการ ที่สามารถช่วยองค์กรในด้านการเพิ่มศักยภาพองค์กรด้านBusinessInformation Optimization และ Business Technology Optimization และการขยายสายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับกลยุทธ์ Adaptive Infrastructure โดยการประกาศครั้งสำคัญเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ณ การประชุม Technology@Work  ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี เมื่อเร็วๆ นี้

.

บิสิเนส อินฟอร์เมชัน ออปทิไมเซชัน (Business Information Optimization)

สายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการเพิ่มศักยภาพด้าน บิสิเนส อินฟอร์เมชัน ออปทิไมเซชัน ของเอชพี สามารถช่วยให้องค์กรบริหารและตัดสินใจเลือกข้อมูลที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อวงจรอายุข้อมูล สายผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดสองด้านที่สำคัญ คือ Business Intelligence และ Information Lifecycle Managementพร้อมกันนี้ เอชพีประกาศเปิดตัว นีโอวิว (Neoview) ซึ่งเป็นการรวบรวมฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และแพลทฟอร์มการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อใช้สำหรับการเก็บข้อมูลในยุคใหม่ที่พร้อมต่อการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ท่านสามารถค้นหาข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมได้ที่ www.hp.com/go/hpbiorelease

.

นอกจากนั้น เอชพียังได้เปิดตัวบริการใหม่อีก 4 บริการ ที่สามารถช่วยองค์กรในการบริหารข้อมูลที่มีความท้าทาย อันเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ข้อมูลมีปริมาณมากและมีความซับซ้อน บริการใหม่นี้ยังถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นและให้ผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดในการแข่งขันเชิงธุรกิจ บริการทั้ง 4 แบบ ได้แก่ บริการกลยุทธ์และการวางแผน (Strategy and Planning) บริการการอินทิเกรดข้อมูล (Information Integration) บริการการส่งข้อมูล (Information Delivery) และบริการควบคุมคุณภาพของข้อมูล (Information Quality)

.

บิสิเนส เทคโนโลยี ออปทิไมเซชัน (Business Technology Optimization)

การเพิ่มศักยภาพด้าน บิสิเนส เทคโนโลยี ออปทิไมเซชัน คือการเพิ่มประสิทธิภาพของแอพพลิเคชันและการจัดการซอฟต์แวร์และบริการต่างๆ ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับระบบไอทีให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ ช่วยให้การบริการทางด้านไอทีเป็นไปอย่างราบรื่น และทำให้การเปลี่ยนแปลงทางบริการไอทีเป็นไปอย่างอัตโนมัติจนถึงวันนี้ ลูกค้านับหลายร้อยรายทั่วโลกวางใจในชุดผลิตภัณฑ์ HP OpenView และผลิตภัณฑ์ของเมอร์คิวรี่ นับตั้งแต่เมื่อเมอร์คิวรี่ได้ควบรวมกิจการเข้ากับเอชพีในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันซอฟต์แวร์ด้านบิสิเนส เทคโนโลยี ออปทิไมเซชัน ของเอชพีในปัจจุบันชุดการบริการและซอร์ฟแวร์ใหม่ที่เอชพีนำเสนอได้พิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยให้การทำธุรกิจและเทคโนโลยีมีความสมดุลและสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้องค์กรสามารถพิจารณาถึงศักยภาพทางไอทีที่ตนมีอยู่ ทั้งในด้านระดับความสามารถ คุณภาพ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

.

บริการในด้านการจัดการระบบไอทีจากเอชพีใช้ IT infrastructure library (ITIL) v3 เพื่อการวิเคราะห์สภาพโครงสร้างทางไอทีขององค์กรแบบองค์รวม ซึ่งนำไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการระบบไอทีที่ดียิ่งขึ้น บริการที่เอชพีนำเสนอ อาทิ การจัดการความต้องการและพอร์ทฟอลิโอ (Demand and Portfolio Management) การจัดการการเปลี่ยนแปลงแอพพลิเคชัน (Application Transition Management) การจัดการบริการด้านธุรกิจ (Business Service Management) การจัดการระบบไอทีแบบดั้งเดิม (Traditional IT Service Management) และ กระบวนการจัดการบริการทางไอที (Service Driven Operations)

.

กลยุทธ์ Adaptive Infrastructure

กลยุทธ์ Adaptive Infrastructure (AI) ของเอชพีที่ครอบคลุมสายผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของเอชพี เป็นเสมือนแพลทฟอร์มสำหรับศูนย์ข้อมูลยุคใหม่ แนวคิดนี้ช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างเต็มความสามารถ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ลดความเสี่ยง และกระตุ้นการเติบโตให้กับองค์กร โดยภายใต้กลยุทธ์ Adaptive Infrastructure วันนี้เอชพีพร้อมในการนำเสนอ:

.

- สถาปัตยกรรมทางด้านการอ้างอิง (reference architecture) ตัวใหม่จากเอชพี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้สำหรับ Microsoft® Exchange Server 2007 และสภาพแวดล้อมของแอพพลิเคชันทั้ง Oracle® และ  SAP®  ผลิตภัณฑ์ของเอชพีและหุ้นส่วนทางธุรกิจเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ครบวงจร ได้ผ่านการทดสอบแล้วว่าสามารถนำเอาส่วนประกอบสำคัญๆ ทางฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบริการรวมไว้ด้วยกัน ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการนำมาใช้งานที่คุ้มค่า ลดความเสี่ยง และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

.

- โมเดลภายใต้กลยุทธ์ Adaptive Infrastructure ของเอชพีได้ผ่านขั้นตอนการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ และจัดเป็นบริการสำหรับลูกค้าเฉพาะราย ซึ่งสามารถใช้การวัดประเมินผลแบบ เสมือนจริง’ (real-world) โดยโมเดลภายใต้กลยุทธ์ Adaptive Infrastructure ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยและประสบการณ์การใช้งานจริงของลูกค้า การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบและขั้นตอนการพัฒนาจะช่วยลดความเสี่ยงและช่วยให้องค์กรสามารถประเมินว่าโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูลของตนมีประสิทธิภาพและก้าวหน้าเพียงใด นอกจากนั้น เอชพียังให้คำแนะนำแบบขั้นต่อขั้น ซึ่งสามารถปฏิบัติได้จริง สามารถช่วยให้ลูกค้าก้าวไปถึงจุดมุ่งหมายทางธุรกิจได้อย่างดีที่สุด การลงทุนด้านโครงสร้างทางไอทีที่ตรงกับความต้องการจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจอย่างสูงสุด

.

- การขยายการบริการ IT Shared Services ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มหรือลดปริมาณความต้องการด้านบริการทางไอทีที่เกี่ยวเนื่องกับแนวทางธุรกิจที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ การบริการ IT Shared Services สามารถช่วยองค์กรในการบริหารต้นทุน ปรับปรุงคุณภาพด้านการบริการ และช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการทางไอทีได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมไปถึง:

.

- ศูนย์บริการ HP Realization Centers คือศูนย์บริการลูกค้าที่มีอยู่ทั่วโลก สามารถช่วยลูกค้าในด้านการเรียนรู้การใช้งานผ่านการสาธิตแบบเสมือนจริงและการจัดกลุ่มเวิร์กชอป โดยให้บริการ ณ สถานที่ของลูกค้า หรือผ่านระบบทางไกลก็ได้ 

- โซลูชัน HP Shared Infrastructure Utility QuickPOC ที่สามารถช่วยลูกค้าในการวิเคราะห์ความสามารถทางไอทีที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็ว

- HP Shared Infrastructure Utility สามารถช่วยลูกค้าในการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับระบบ และช่วยเพิ่มความสามารถให้กับระบบติดตามผล

- HP Shared Database Utility สำหรับออราเคิล ซึ่งสามารถรองรับการเพิ่มขยายของฐานข้อมูลหากเกิดความต้องการ ซึ่งสามารถเพิ่มได้อย่างรวดเร็วและอัตโนมัติ

.

การใช้คำว่า ไอที ในการเรียกขานถึงสิ่งที่องค์กรธุรกิจต้องการ ไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป จอร์จ เอฟ. โคโลนี ประธานและซีอีโอ แห่ง Forrester Research กล่าว หากคุณคือหัวหน้าและผู้ควบคุมระบบไอทีขององค์กร คุณควรจะคำนึงถึงระบบที่มีส่วนในการเพิ่มผลประกอบการให้กับองค์กร ทางเลือกที่ต้องคำนึงคือ การนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนผลักดันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางธุรกิจ ปัจจุบันคำว่า ไอที ได้ถูกแทนที่ โดยคำว่า บิสิเนสเทคโนโลยี (Business Technology) หรือ บีที สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจก็คือเทคโนโลยี เทคโนโลยีก็คือธุรกิจ สองสิ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องที่ไม่สามารถแยกจากกันได้