ครม.ขมิ้นอ่อน รัฐบาลพอเพียง ไฟเขียวแผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของประเทศในอนาคต เตรียมย้ายเซาเทิร์นซีบอร์ดลงสู่พื้นที่ภาคใต้ ฮุบพื้นที่ประมาณ 2 หมื่นไร่ ตั้งแต่ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อ้างตะวันออกล้น
ครม.ขมิ้นอ่อน รัฐบาลพอเพียง ไฟเขียวแผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของประเทศในอนาคต เตรียมย้ายเซาเทิร์นซีบอร์ดลงสู่พื้นที่ภาคใต้ ฮุบพื้นที่ประมาณ 2 หมื่นไร่ ตั้งแต่ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช หลังกระแสการต่อต้านจากชาวบ้านเรื่องปัญหามลพิษในภาคตะวันออก |
. |
นายณัฐฐวัฒน์ สุทธิโยธิน ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 เม.ย. มีมติเห็นชอบแผนการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของประเทศในอนาคต โดยเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเหมาะสมและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงาน โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธานหารือถึงความสามารถในการรองรับการพัฒนาของพื้นที่ภาคใต้ (เซาเทิร์นซีบอร์ด) ที่ต้องการพื้นที่ประมาณ 2 หมื่นไร่ ตั้งแต่ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช สำหรับรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานในอนาคต ตามที่สศช. เสนอ |
. |
เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) มีความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศ เพราะเป็นพื้นที่มีเงินลงทุนในภาคอุตสาหกรรมสูงที่สุดในประเทศ และมีแนวโน้มที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จะขยายตัวเข้าสู่พื้นที่ตอนในบริเวณ จ.ปราจีนบุรี และจ.สระแก้วมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลังงานของประเทศ ซึ่งขณะนี้เขตนิคมอุตสาหกรรมมีอยู่ 1 แสนไร่ และเหลือพื้นที่พัฒนาอีกประมาณ 2 หมื่นไร่ ขณะที่อัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี"41-48 อยู่ที่ 8.9% ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานขนส่ง โลจิสติกส์ ไฟฟ้า สื่อสาร น้ำ จะมีเพียงพอกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมได้อีกประมาณ 10 ปีเท่านั้น ฉะนั้น ควรหาพื้นที่ใหม่ |
. |
"ที่ประชุมตั้งข้อสังเกตว่าการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลควรจะเน้นการพัฒนาในส่วนของฝั่งอ่าวไทยมากกว่าฝั่งอันดามัน เนื่องจากอ่าวไทยเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่จ.สงขลา นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ ตลอดจนสามารถพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้รองรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรมไทยในอนาคตได้อย่างเพียงพอ โดยจะเน้นให้ควบคุมมลภาวะทางอากาศของพื้นที่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงด้านคุณภาพอากาศ แม้จะมีปัญหาขาดความเชื่อมั่นในการจัดการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากประชาชนในพื้นที่ และกระทรวงอุตสาหกรรม คาดว่าจ.ชลบุรี และจ.ระยอง จะมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร เพียงพอถึงปี"68 แต่เชื่อว่ามาตรการควบคุมมลภาวะในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกให้ได้มาตรฐาน ระหว่างปี"50-54 จะสามารถแก้ไขปัญหาได้" นายณัฐฐวัฒน์ กล่าว |
. |
ที่มา : ข่าวสด |