เนื้อหาวันที่ : 2011-11-30 09:31:49 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1832 views

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เปิดแผนกลยุทธ์ระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศ

ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เผยแผนกลยุทธ์ระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศ พร้อมเปิดตัว Hitachi Cloud Services และ Solution Packages

          ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เผยแผนกลยุทธ์ระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศ และข้อเสนอใหม่ๆ เกี่ยวกับระบบคลาวด์ พร้อมเปิดตัว Hitachi Cloud Services และ Solution Packages โฉมใหม่ รวมทั้งข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการผสานรวมเทคโนโลยีเข้ากับบลูอาร์กและพาราสเกล

          บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชัน หรือ เอชดีเอส ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก: HIT / ชื่อในตลาดหุ้นโตเกียว: 6501) ประกาศแผนช่วยลูกค้าเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่สามารถใช้งานได้จริงและสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่เดิมในรูปของสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและมุมมองทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จึงได้กำหนดกลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของบริษัทออกเป็นกลยุทธ์ 3 ระดับชั้น ได้แก่ ระบบคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหา และระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศ ซึ่งจะพัฒนาบนระบบไอทีเดิมขององค์กรเพื่อให้เกิดเป็นแพลตฟอร์มระบบเสมือนจริงเพียงแพลตฟอร์มเดียวสำหรับข้อมูลทั้งหมด

          ปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่และเล็กกำลังประสบกับปัญหาการขยายตัวที่รวดเร็วของข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของอีเมล วิดีโอ รูปภาพ การวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ ทั้งนี้คาดการณ์ว่าในปี 2563 ข้อมูลจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึง 42 เท่าและภายในสามปีต่อมาคาดว่าจะมีแอพลิเคชันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากกว่า 1 พันล้านแอพลิเคชัน

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เชื่อว่าข้อมูลทั้งหมดมีค่าและตระหนักดีว่าข้อมูลและสารสนเทศเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการจัดเก็บ ควบคุม และจัดการในแบบสินทรัพย์ โดยข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดนั้นจำเป็นต้องได้รับแบ่งปัน เปรียบเทียบ และวิเคราะห์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและมุมมองที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

          “เราตระหนักมาก่อนหน้านี้แล้วว่ามีมูลค่ามากมายที่องค์กรธุรกิจควรจะได้รับจากการนำข้อมูลดิบที่กระจายอยู่ในส่วนต่างๆ มารวมไว้ภายในแพลตฟอร์มเดียวที่ได้รับการจัดการดูแลแบบแบ่งระดับชั้นและมีประสิทธิภาพสูง” แจ็ค ดอมม์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว และว่า

“ในฐานะผู้บุกเบิกด้านระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนมาเป็นเวลาหลายปี เราจึงมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานซึ่งสามารถช่วยให้สิ่งนี้กลายเป็นจริงขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการผ่านการวิจัยและพัฒนาภายในและการปรับกลยุทธ์ต่างๆ

โดยขณะนี้เราได้สร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมระบบจัดเก็บข้อมูล ระบบป้องกันและความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล โดยการเปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศที่สามารถใช้งานได้ และช่วยให้ลูกค้ามีมุมมองแบบ 360 องศาสำหรับจัดการปัญหาที่ยุ่งยากที่สุดทางธุรกิจได้ ซึ่งสิ่งที่ทำให้เรามีความแตกต่างจากผู้จำหน่ายรายอื่นๆ คือเรานำเสนอขอบเขตการทำงานแบบเปิดที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถแปรรูปศูนย์ข้อมูลให้กลายเป็นศูนย์สารสนเทศในแนวทางของตนเองได้ด้วยการใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่โดยไม่ยึดติดกับผู้จำหน่ายรายใด”

          “การเปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศที่มีความอัจฉริยะมากขึ้นนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อบริษัท ฮิตาชิ จำกัด โดยแนวทางด้านธุรกิจนวัตกรรมทางสังคม (Social Innovation Business) ได้หลอมรวมเทคโนโลยีไอทีเข้ากับโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและผลักดันการเข้าสู่ยุคใหม่ของการสื่อสารระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน” มิโนรุ โคซุเกะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (ซีโอโอ) ฝ่ายแพลตฟอร์มธุรกิจสำหรับบริษัทระบบสารสนเทศและโทรคมนาคม บริษัท ฮิตาชิ จำกัด และประธานบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าว และว่า

“ความตั้งใจของเราคือการใช้เทคโนโลยีของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เพื่อสร้างโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับบริการคลาวด์ การจัดการข้อมูลขนาดมหึมา เครือข่ายสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ การจัดการอุปกรณ์ และระบบควบคุมต่างๆ โซลูชั่นเหล่านี้จะนำมาซึ่งขีดความสามารถด้านสารสนเทศอัจฉริยะให้กับภาคส่วนต่างๆ ของระบบไฟฟ้า ระบบเส้นทางรถไฟและการขนส่ง การพัฒนาเมือง และอื่นๆ ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะนำมาซึ่งสังคมที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น”

          “ด้วยจำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลประกอบกับการที่บริษัทต่างๆ กำลังเผชิญหน้ากับข้อกำหนดด้านกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่มีทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการน้อยลง ทำให้ฝ่ายไอทีไม่สามารถดูแลจัดการข้อมูลได้อย่างง่ายดายอีกต่อไป” เบนจามิน เอส วู รองประธานโครงการระบบจัดเก็บข้อมูลและข้อมูลขนาดมหึมา บริษัท ไอดีซี กล่าว และว่า

“มุมมองด้านข้อมูลขนาดมหึมาของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ แสดงให้ลูกค้าเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่าข้อมูลมีหลายมิติและสามารถมองเห็นโซลูชั่นที่พวกเขาจำเป็นต้องใช้งาน การมีกลยุทธ์แบบผสานรวมในลักษณะนี้เพื่อใช้ในการต่อสู้กับข้อมูลขนาดมหึมาทำให้ผู้นำด้านไอทีจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่สามารถช่วยองค์กรให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากข้อมูลที่ตนมีอยู่ได้”

          กลยุทธ์ 3 ระดับชั้นของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในการแปรรูปศูนย์ข้อมูลเป็นศูนย์สารสนเทศ
          ระบบคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน: นำเสนอโครงสร้างพื้นฐานแบบไดนามิก
          กลยุทธ์ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ในด้านระบบคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานคือการรวมเซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล เครือข่ายจำนวนมากที่ใช้ทรัพยากรแบบผสานรวมและเสมือนจริงเข้าไว้ด้วยกันและสามารถปรับขยายได้ตามต้องการ สิ่งนี้จะนำเสนอในรูปของโครงสร้างพื้นฐานแบบไดนามิกที่แท้จริงและแพลตฟอร์มเดียว

สำหรับข้อมูลที่สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับบริการคลาวด์ต่างๆ เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์ม และแม้แต่ซอฟต์แวร์แบบบริการ (Software-as-a-service) ปัจจุบันบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กำลังช่วยลูกค้าสร้างระบบคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบจัดเก็บข้อมูล ซอฟต์แวร์ การบริการ การคำนวณ และโซลูชั่นศูนย์ข้อมูลแบบผสานรวมที่ครอบคลุม

อีกทั้งยังได้เปิดตัว Hitachi Cloud Services, Hitachi Cloud Solution Packages และพอร์ทัลการจัดการระบบคลาวด์ที่จะช่วยให้ลูกค้าจัดการและควบคุมสภาพแวดล้อมของข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้างและนำเสนอบริการสำหรับไฟล์และ SharePoint แก่ผู้ใช้ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ตลอดจนลดเวลาและปริมาณข้อมูลที่ต้องสำรองและกู้คืนอีกด้วย

          Hitachi Cloud Services ใหม่: นำเสนอการให้บริการคลาวด์แบบส่วนตัวภายใต้การบริหารจัดการอย่างสมบูรณ์ภายในสถานที่ปฏิบัติการของลูกค้าเอง โดยคิดค่าใช้จ่ายตามปริมาณเมื่อถูกใช้งานจริง (Pay-Per-Use) โดยสิ่งนี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายการลงทุน ในด้านการจัดการไฟล์และ/หรือข้อมูล SharePoint และเพิ่มขีดความสามารถในการใช้พนักงานไอทีของตนได้อย่างสูงสุด
          - Hitachi Cloud Service for Private File Tiering 
          - Hitachi Cloud Service for File Serving
          - Hitachi Cloud Service for Microsoft SharePoint Archiving

          Hitachi Cloud Solution Packages ใหม่: นำเสนอเทคโนโลยีแบบชั้น (Stack) ที่สามารถใช้งานได้เหมือนกับบริการคลาวด์สมัยใหม่ โดยองค์การมีค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (CAPEX) แบบเดิม จึงเหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการจัดการและนำเสนอสภาพแวดล้อมคลาวด์ในแบบฉบับของตนเอง
          - Hitachi Cloud Solution Package for File Tiering
          - Hitachi Cloud Solution Package for File Serving
          - Hitachi Cloud Solution Package for Microsoft SharePoint Archiving

          พอร์ทัลการจัดการระบบคลาวด์ได้ผสานรวมเข้ากับบริการและแพคเกจโซลูชั่นใหม่ดังกล่าวเพื่อช่วยให้ลูกค้ามีอินเทอร์เฟซแบบบริการตนเองสำหรับเข้าถึงข้อมูลการแจ้งหนี้ การชำระเงิน และการคืนเงิน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพคเกจโซลูชั่นและบริการคลาวด์ใหม่ สามารถดูได้ที่: www.hds.com/cloud

          ระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหา: ช่วยให้เนื้อหามีความคล่องตัวสูง
          การสร้างข้อมูลทั้งหมดไว้บนแพลตฟอร์มเดียว ทำให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถใช้เครื่องมืออัจฉริยะด้านข้อมูลช่วยในการจัดทำดัชนีข้อมูล ค้นหา และสืบค้นข้อมูลในทุกรูปแบบได้ การจัดการวงจรชีวิตและความอิสระจากแอพลิเคชันถือเป็นสิ่งสำคัญของระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหา

ซึ่งขณะนี้สามารถใช้บริการในหลายรูปแบบ เช่น การเก็บข้อมูลถาวรและการสร้างเนื้อหาในรูปแบบบริการ (Content-as-a-service) จะเห็นได้ว่าเมื่อเนื้อหาไม่ยึดติดกับแอพลิเคชันที่สร้างเนื้อหานั้นขึ้นมา การค้นหา แบ่งปัน และใช้งานข้อมูลก็จะเป็นเรื่องง่ายขึ้น ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าจากข้อมูลได้เพิ่มสูงขึ้นด้วย ช่วงชีวิตของข้อมูลบางชนิดอาจมีระยะเวลา 30 ปีหรือมากกว่านั้น

ในขณะที่แอพลิเคชันที่สร้างข้อมูลอาจมีอายุเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ข้อมูลเป็นอิสระจากแอพลิเคชันและสื่อข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เนื้อหามีความคล่องตัว สามารถเข้าถึงและจัดการได้อย่างเหมาะสมโดยไม่มีข้อผูกมัด

นอกจากนี้การเข้าซื้อกิจการของบริษัท บลูอาร์ก (BlueArc) เมื่อเร็วๆ นี้ยังได้สร้างการเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างระบบคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานและระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหาโดยอาศัยความเชี่ยวชาญของบริษัท บลูอาร์ก ในด้านระบบเสมือนจริงที่ยึดตามไฟล์ การแบ่งระดับชั้นอัจฉริยะแบบในตัว รวมทั้งความสามารถด้านการย้ายข้อมูลอัตโนมัติสำหรับข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง

การเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้และการผสานรวมเข้ากับกลุ่มผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไฟล์ เนื้อหา และกลุ่มข้อมูลของบริษัท ฮิตาชิ ได้อย่างลงตัว จะช่วยให้ลูกค้าสามารถควบคุมข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างของตนด้วยการเข้าถึง ค้นหา เก็บรักษา รวมไว้เป็นระบบเดียว และเก็บข้อมูลถาวรทั้งหมดได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

          ระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศ: สนับสนุนการสร้างมุมมองที่รวดเร็วและครอบคลุม
          นอกจากระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหาแล้ว บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กำลังพัฒนาเทคโนโลยีผ่านการเข้าซื้อบริษัท พาราสเกล (ParaScale) เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 เพื่อช่วยสร้างระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศ ซึ่งเครื่องมือและกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลจะสามารถผสานรวมเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญได้

การทำสำเนาและการรวมข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างจำนวนมหาศาลเข้าด้วยกันแล้วจึงใช้การวิเคราะห์อัจฉริยะ จะทำให้องค์กรสามารถแยกแยะและได้รับมูลค่าจากข้อมูลของตนเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีของบริษัท พาราสเกลเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศเนื่องจากนำเสนอระบบไฟล์แบบปรับขยายได้ขนาดใหญ่ที่สามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างจำนวนมากในรูปแบบขนาน ด้วยการนำเสนอการจัดเก็บข้อมูลและการเคลื่อนย้ายข้อมูลที่ผสานรวมแล้วอย่างรวดเร็ว ตลอดจนมีขีดความสามารถด้านการค้นหาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดมหึมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ช่วยให้ระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศใช้งานได้จริงโดยอาศัยเทคโนโลยีของบริษัท พาราสเกล นอกเหนือจาก Hitachi Virtual Storage Platform (VSP), ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบเครือข่ายประสิทธิภาพสูง (NAS) จากบริษัท บลูอาร์ก และผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่อื่นๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา

โดยระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศจะเชื่อมโยงชุดข้อมูล แสดงรูปแบบต่างๆ ที่สัมพันธ์กันระหว่างชุดข้อมูล และถ่ายทอดออกมาเป็นสารสนเทศที่พร้อมใช้งานและสร้างมุมมองใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้ทางธุรกิจ โดยสามารถนำสารสนเทศดังกล่าวไปใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่มีภาวะกดดันสูง อย่างเช่น ธุรกิจสุขภาพและวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ การวิจัยพลังงาน โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม และอื่นๆ

          กรณีศึกษา: ระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหาด้านสุขภาพของโรงพยาบาล Klinikum Wels-Grieskirchen
          องค์กรหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการปรับใช้กลยุทธ์ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สำหรับการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศและสร้างระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหาขึ้นมา ได้แก่ Klinikum Wels-Grieskirchen ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรีย ด้วยจำนวนพนักงานกว่า 3,500 คนที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานให้บริการ 4 แห่งด้วยกัน ทำให้ Klinikum Wels-Grieskirchen ต้องการวิธีที่จะช่วยให้การประมวลที่ซับซ้อนและมีจำนวนมหาศาลเป็นไปโดยอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โดยขณะนี้โรงพยาบาลแห่งนี้ได้ปรับใช้โซลูชั่นของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เพื่อรวมข้อมูลสิทธิบัตรของห้องปฏิบัติการ รังสีวิทยา และระบบการจัดการเนื้อหาที่ไม่มีโครงสร้าง ตลอดจนเมตาดาต้าที่สัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมุมมองร่วมสำหรับการใช้งานแอพลิเคชัน eHealth แห่งชาติ และพอร์ทัลสำหรับแพทย์ของโรงพยาบาลเอง

          เอลมาร์ เฟลม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ) โรงพยาบาล Klinikum Wels-Grieskirchen กล่าวว่า “สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรของเรา ในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศออสเตรีย ทำให้โรงพยาบาล Klinikum Wels-Grieskirchen มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างและจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล ข้อมูลบางอย่างจะต้องได้รับการเก็บรักษาไว้ให้ได้ยาวนานถึง 30 ปีหรือมากกว่านั้น

สำหรับการดึงเอามูลค่าของข้อมูลที่มีอยู่ออกมาใช้งาน เราต้องอาศัยโซลูชั่นที่สามารถให้บริการข้อมูลดังกล่าวแก่นักศึกษา เจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการ แพทย์ และผู้ป่วยโดยไม่คำนึงว่าข้อมูลเหล่านั้นจะถูกสร้างขึ้นมาอย่างไรหรือได้รับการจัดเก็บไว้ที่ใด บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ มีความเข้าใจและได้สนับสนุนโซลูชั่นที่สามารถตอบสนองความต้องการของเราในการทำให้ข้อมูลเป็นอิสระจากแอพลิเคชันและโครงสร้างพื้นฐานได้

ดังนั้น เราจึงสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่เดิมในรูปของสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ได้อย่างแท้จริง เราเลือกโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เนื่องจากพื้นฐานเนื้อหาของเรานั้นอยู่ในระบบคลาวด์ ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมเสมือนจริงแบบหลายระดับชั้นที่เราสามารถกำหนดทรัพยากรที่เหมาะสมตามมูลค่าทางธุรกิจของข้อมูลตลอดจนค้นหาและสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่พร้อมสร้างความเข้าใจ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าสำหรับผู้ใช้

ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถนำเสนอสารสนเทศที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้ที่ถูกต้องได้ในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งนั่นจะช่วยยกระดับการรักษาให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม”