ภาครัฐ และเอกชน หนุน สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีให้กับอุตสาหกรรมไทย เพื่อกำจัดอุปสรรค และสร้างโอกาสที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศจากการทำ FTA ของไทย พร้อมผลักดันโครงการ iTAP เข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการในสาขาต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ
. |
ภาครัฐ และเอกชน หนุน สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีให้กับอุตสาหกรรมไทย เพื่อกำจัดอุปสรรค และสร้างโอกาสที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศจากการทำ FTA ของไทย พร้อมผลักดันโครงการ iTAP เข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการในสาขาต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่ภาคเอกชน แนะรัฐเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนจากการทำ FTA ทั้งข้อดีและข้อเสียโดยเร็ว |
. |
จากที่ไทยได้ทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หรือ FTA กับประเทศคู่ค้าสำคัญหลายประเทศ แต่การทำความตกลงดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการในระดับต่างๆ เช่นกัน ดังนั้น เพื่อสร้างความตระหนักถึงสถานการณ์และความสำคัญของ FTA ต่อการปรับตัวของอุตสาหกรรมไทย โดยใช้โอกาสดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยได้อย่างไรนั้น |
. |
ศ.ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ |
ผู้อำนวยการศูนย์บริหารเทคโนโลยี(TMC) |
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) |
. |
ศ.ดร. ชัชนาถ เทพธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารเทคโนโลยี(TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) กล่าวว่า การทำ FTA เป็นมาตรการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่จะเป็นผลดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศที่ต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกสินค้า เช่น ไทย เพราะจะช่วยลดกำแพงภาษีส่งออกลง รวมทั้งเพิ่มการลงทุนและยังได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากขึ้น |
. |
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภคมีความหลากหลายและมากขึ้น ทำให้ทุกประเทศต่างพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างกันให้สูงขึ้น แต่ขณะเดียวกันยอมรับว่า ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ยังไม่มีความพร้อม เช่น อุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีน้อยกว่า หรือ การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่าประเทศคู่ค้า จะได้รับผลกระทบในทางลบ โดยเฉพาะเรื่องของมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีที่ยังมีผลบังคับใช้และมีความเข้มข้นขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหลายเรื่องมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความสามารถทางเทคโนโลยีของธุรกิจ ดังนั้น ผู้ที่มีเทคโนโลยี หรือมีความพร้อมมากกว่า ก็จะได้เปรียบและสามารถก้าวข้าม หรือลดผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวลงได้ |
. |
สวทช. มีพันธกิจในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การสร้างและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี หรือ TMC ซึ่งมีหน่วยงานที่ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีแบบครบวงจรที่พร้อมให้การสนับสนุนแก่ภาคเอกชน ตั้งแต่การนำผลงานวิจัยออกสู่ตลาด และการนำโจทย์จากตลาดกลับสู่ห้องวิจัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาตอบสนองความต้องการของตลาดมากขึ้น โดยมีกลไกลการบริการที่เข้าไปสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการได้อย่างหลากหลายและเหมาะสม อาทิ โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย(iTAP) , โครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ(CD) , โครงการยกเว้นภาษีเงินได้จากงานวิจัยและพัฒนา200% (RDC) และโครงการสนับสนุนส่งเสริมการใช้สิทธิเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิผลของสำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) เป็นต้น |
. |
นาง
|
ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรการทางการค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ |
. |
นาง
|
. |
ทั้งนี้ การทำ FTA ของไทย ถือเป็นความท้าทายต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยหลายด้าน ทั้งในเรื่องของการพัฒนามาตรฐานสินค้าที่ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร , เรื่องของการพัฒนาวัตถุดิบที่สามารถผลิตขึ้นเองในประเทศ รวมถึงเรื่องของการจดสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันการผลิตหรือพัฒนาสินค้าออกมาขายมักถูกลอกเลียนแบบได้ง่าย จึงถือเป็นความท้าทายของภาครัฐที่จะต้องพยายามสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการไทยให้เห็นความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากขึ้น |
. |
นางอัญชนา กล่าวว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความท้าทายที่ต้องทำ และเห็นว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาทั้งทางด้านการผลิต , สินค้า ,เทคโนโลยี และเรื่องของมาตรฐานการผลิตแก่ผู้ประกอบการที่ดีอยู่แล้ว เมื่อมีนโยบายเข้ามาเสริมหรือสนับสนุนเพิ่มขึ้นก็จะยิ่งทำให้เรามีการพัฒนาอุตสาหกรรมไปได้มากขึ้น |
. |
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ |
ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) |
. |
ด้าน ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวด้วยว่า การทำข้อตกลง FTA ของไทยกับประเทศคู่ค้าต่างๆ รวมถึงล่าสุดกับประเทศญี่ปุ่นไม่ได้มีผลกระทบร้ายแรงต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมไทย แต่ยอมรับว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะการลงนามข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้บรรยากาศการค้าการลงทุนของไทยดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจที่ชะงักงันจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ , การใช้มาตรการกันสำรองร้อยละ 30 หรือ ปัจจัยค่าเงินบาท และอีกหลายปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนในไทยกลับมาดีขึ้นได้ แต่ในส่วนที่สร้างความเคลือบแคลงกรณีขยะอุตสาหกรรมเป็นพิษ รวมถึงข้อห่วงใยเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตรจุลชีวะเป็นเรื่องข้อกฎหมายของแต่ละประเทศ จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องเร่งทำความเข้าใจให้ประชาชนได้รับทราบทั้งข้อดีและข้อเสียโดยเร็ว |
. |
ที่มา : โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) |