เนื้อหาวันที่ : 2011-10-04 10:15:01 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1859 views

ราคาน้ำมันดิบร่วง เศรษฐกิจโลก หนี้สินกรีซน่าห่วง

ปตท. รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมัน 26-30 ก.ย. 54 ราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างต่อเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลก บวกกับความกังวลเกี่ยวกับภาวะหนี้สินของกรีซและปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นต่อเนื่อง

สถานการณ์ราคาน้ำมันประจำสัปดาห์ที่ 26-30 ก.ย. 54 และแนวโน้มในสัปดาห์นี้

ปตท. รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมัน 26-30 ก.ย. 54 ราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างต่อเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลก บวกกับความกังวลเกี่ยวกับภาวะหนี้สินของกรีซและปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันสัปดาห์ที่ 26 – 30 ก.ย. 54 ราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เฉลี่ยปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน 4.19 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ระดับ 102.19 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) เฉลี่ยปรับตัวลดลง 3.58 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ 104.32 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และน้ำมันดิบเวสเท็กซัส (WTI) เฉลี่ยปรับตัวลดลง 2.33 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรลอยู่ที่ 81.45 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล

ขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินเฉลี่ยลดลง 4.40 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ 119.06 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และน้ำมันดีเซลเฉลี่ยลดลง 3.33 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ 118.68 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาได้แก่ :

ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงลบ

          - Energy Information Administration (EIA) ของสหรัฐฯ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเชิงพาณิชย์สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ก.ย. 54 เพิ่มขึ้นทุกชนิด โดยน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.92 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 340.96 ล้านบาร์เรล Distillates เพิ่มขึ้น 0.07 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 157.68 ล้านบาร์เรล และ Gasoline เพิ่มขึ้น 0.79 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 214.87 ล้านบาร์เรล

ทั้งนี้ปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบเฉลี่ยในเดือน ก.ค. 54 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 0.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 9.31 ล้านบาร์เรลต่อวัน และอุปสงค์น้ำมันของสหรัฐฯ ในเดือน ก.ค. 54 เฉลี่ยลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 18.56 ล้านบาร์เรลต่อวัน

          - MasterCard Advisors รายงานอุปสงค์ Gasoline ของสหรัฐฯ ในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 23 ก.ย. 54 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2.0% อยู่ที่ระดับ 8.83 ล้านบาร์เรลต่อวัน และอุปสงค์เฉลี่ย 4 สัปดาห์ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 2.9% อยู่ที่ระดับ 8.73 ล้านบาร์เรลต่อวัน

          - ภายหลังมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่อลิเบียสิ้นสุดสง ลิเบียประมูลขายน้ำมันดิบ Sarir และ Mesla ให้กับบริษัท ConocoPhillips ปริมาณ 0.38 ล้านบาร์เรลต่อวัน

          - กรีซไม่สามารถตัดงบขาดดุลบัญชีได้เพียงพอ ภายหลังการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบจาก IMF, EU, และ ECB (Troika) จากการตรวจสอบในเบื้องต้นคาดว่างบขาดดุลของกรีซอยู่ที่ 8.5% ของ GDP ทั้งนี้ตามข้อตกลงกับ ECB และ IMF ในการรับเงินช่วยเหลืองวดต่อไปงบขาดดุลของกรีซต้องอยู่ที่ระดับ 7.6% ของ GDP

          - Reuters Survey รายงานยอดส่งออกน้ำมันดิบของ OPEC เดือน ก.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณ 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 30.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากอิรักส่งเพิ่มขึ้น และการกลับมาเริ่มส่งออกของลิเบีย

          - รัสเซียรายงานยอดผลิตน้ำมันดิบเดือน ก.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.02 ล้านบาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ระดับ 10.30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับการผลิตสูงที่สุดของรัสเซีย

          - สัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดอุทกภัยฝนตกหนักน้ำท่วมขังครั้งร้ายแรงที่สุดของจีนบริเวณฆลทล Sichuan, Hena และ Shangxi ส่งผลให้บ้านเรือนกว่า 120,000 หลัง ได้รับความเสียหาย ประชาชนกว่า 12.3 ล้านคน ไร้ที่อยู่อาศัย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ผลกระทบต่อราคาน้ำมันในเชิงบวก
          - สภาผู้แทนราษฎรเยอรมนีลงมติรับรองการให้อำนาจแก่กองทุนเสถียรภาพทางการเงินยุโรป (European Financial Stability Facility: EFSF) ในการเข้าซื้อพันธบัตรในตลาดรอง รวมถึงสามารถเพิ่มทุนและเพิ่มวงเงินให้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง นอกจากนี้ยังเพิ่มเงินสนับสนุนของประเทศเยอรมนีจากเดิมที่ 1.23 แสนล้านยูโร มาอยู่ที่ 2.11 แสนล้านยูโร

          - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ก.ย. 54 ลดลง 34,000 ราย อยู่ที่ 391,000 ราย นับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน เม.ย. 54

          - กระทรวงพาณิชย์ของญี่ปุ่นรายงานปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบเดือน ส.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.2% อยู่ที่ปริมาณ 115.58 ล้านบาร์เรล

          - Petroleum Planning and Analysis Cell ของอินเดียรายงานยอดนำเข้าน้ำมันดิบ เดือน ส.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.6% อยู่ที่ระดับ 103.85 ล้านบาร์เรล

          - 28 ก.ย. 54 เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงกลั่น Royal Dutch Shell (500 KBD) ประเทศสิงคโปร์เวลาประมาณ 13.15 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) โดยโรงกลั่นอพยพคนงาน และหยุดดำเนินการตลอดจนงดรับเรือขนส่งน้ำมันเข้าเทียบท่าขนส่ง หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ตามมาตรการรักษาความปลอดภัย ล่าสุด Shell โรงกลั่นปิดดำเนินการหน่วย Hydrocracker ซึ่งเป็นหน่วยผลิต Ultra-low Sulfur Diesel เพื่อส่งออก

          ราคาน้ำมันดิบลดลงอย่างต่อเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่า Brent และ WTI จะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 97-106 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และ 74-82 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล ตามลำดับ โดยล่าสุดภาวะหนี้สินของกรีซส่งแรงกดดันมากขึ้นหลังการตรวจสอบของ Troika ในเบื้องต้นซึ่งมีแนวโน้มว่ากรีซยังไม่สามารถตัดยอดขาดดุลได้เพียงพอเพื่อที่จะรับเงินช่วยเหลืองวดที่ 6 มูลค่า 8 พันล้านยูโร ซึ่งถ้ากรีซไม่ได้รับเงินช่วยเหลืองวดนี้จะทำให้ประเทศไม่มีเงินสดเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ภายในสิ้นเดือน ต.ค. 54 กอปรกับผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก อาทิ รัสเซีย และโอเปคผลิตน้ำมันดิบในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามโรงกลั่น Shell กำลังการกลั่น 500,000 บาร์เรลต่อวัน ที่สิงค์โปร์ซึ่งเป็นโรงกลั่นขนาดใหญ่ที่สุดได้ประกาศหยุดการส่งมอบน้ำมันให้กับกับลูกค้าบางรายในวันที่ 30 ก.ย. 54 เนื่องจากเหตุการณ์เพลิงไหม้จากสัปดาห์ก่อน และเบื้องต้น Shell คาดว่าจะต้องใช้เวลาซ่อมโรงกลั่นดังกล่าวอย่างน้อยเป็นเวลา 1 เดือน ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อราคาน้ำมัน