GUNKUL เดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เฟส 2 มีกำลังการผลิต 4.4 เมกกะวัตต์ ส่งขายให้ กฟผ. พร้อมเดินหน้าธุรกิจพลังงานทดแทนต่อเนื่องหวังขึ้นแท่นผู้นำตลาด
GUNKUL เดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เฟส 2 มีกำลังการผลิต 4.4 เมกกะวัตต์ ส่งขายให้ กฟผ. พร้อมเดินหน้าธุรกิจพลังงานทดแทนต่อเนื่องหวังขึ้นแท่นผู้นำตลาด
“กันกุล พาวเวอร์เจน" บริษัทในเครือ GUNKUL เดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เฟส 2 มีกำลังการผลิต 4.4 เมกกะวัตต์ พร้อมจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้ กฟภ.ได้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 และสามารถรับรู้รายได้ทันที "โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์" ระบุปัจจุบันมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้ง 2 เฟสเท่ากับ 7.4 เมกกะวัตต์ ปลื้มทุกอย่างเป็นไปตามแผนธุรกิจที่วางไว้
นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยถึงโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โครงการแรกเฟส 2 กำลังการผลิต 4.4 เมกะวัตต์ ณ อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ภายใต้การดูแลของ บริษัท กันกุล พาวเวอร์เจน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ GUNKUL ว่า สามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาและทยอยรับรู้รายได้ทันทีภายในปีนี้ ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้กันกุลมีรายได้ที่แน่นอนต่อเนื่อง เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตได้ สามารถขายให้กับ กฟภ.ได้ทั้งจำนวน ที่สำคัญในช่วงแรกยังได้รับค ่าไฟส่วนเพิ่มถึงหน่วยละ 8 บาท เป็นเวลานาน 10 ปี
"โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานจากแสงอาทิตย์ของกลุ่ม GUNKUL ปัจจุบันมีทั้งหมด 57 เมกกะวัตต์ ซึ่งบริษัทฯ จะดำเนินการทยอยก่อสร้างไปทีละโครงการจนถึงปี 2555 จึงจะแล้วเสร็จทุกโครงการ ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ GUNKUL มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นรายได้ที่มีความแน่นอน เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถขายให้กับ กฟภ.ได้ทั้งจำนวน"
กรรมการผู้จัดการ GUNKUL กล่าวต่อว่าบริษัทมีนโยบายที่จะเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทน อย่างครบวงจร ประกอบกับการตระหนักถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสนองนโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุนด้านพลังงานทดแทน จึงเดินหน้าดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และในอนาคตจะขยายธุรกิจไปสู่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม
เนื่องจากกลุ่มบริษัทมีประสบการณ์ด้านธุรกิจพลังงานลมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ขนาด 1.25 เมกกะวัตต์ จำนวน 2 ต้น ซึ่งได้ติดตั้งอยู่ที่เขื่อนลำตะคอง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และได้จำหน่ายไฟเชิงพาณิชย์ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันการผลิตไ ฟฟ้าจากกังหันลมสำหรับโครงการนี้ ได้กระแสไฟฟ้าที่ดีมาก จึงทำให้บริษัทฯ มีความมั่นใจที่จะก้าวไปสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มภาคภูมิ
สำหรับแนวโน้มผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังปี 2554 เชื่อว่าจะมีอัตราการเติบโตที่โดดเด่นไม่แพ้ช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เนื่องจากการดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆ ยังขยายตัวได้ดีตามความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งบริษัทยังได้รับงานของ บริษัท ซี.เค. แอนด์ ซัน เอ็นเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นการรับเหมาก่อสร้างผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 8 เมกกะวัตต์ มูลค่าโครงการกว่า 800 ล้านบาท
ในปัจจุบันบริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มก่อสร้างภายในไตรมาส 4/2554 ซึ่งถือเป็นการรับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าโรงที่ 2 หลังจากได้รับงานโครงการแรกกับบริษัท โซลาร์ต้า จำกัด ที่ปัจจุบันการก่อสร้างมีความคืบหน้าไปมากแล้ว
นอกจากนี้ GUNKUL ยังมีรายได้จากการจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มียอดสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากประเทศพม่า ซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างโดดเด่น จึงทำให้มั่นใจว่าในปีนี้ผลประกอบการของ GUNKUL ในส่วนของรายได้จะมีอัตราการเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 100% อย่างแน่นอน