แลงเซส ทุ่มเม็ดเงินลงทุนกว่า 15 ล้านยูโร ตั้งโรงงานผลิตเส้นใยแก้ว ขยายกำลังผลิตเพิ่มอีก 10% รับความต้องการตลาดอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แลงเซส ทุ่มเม็ดเงินลงทุนกว่า 15 ล้านยูโร ตั้งโรงงานผลิตเส้นใยแก้ว ขยายกำลังผลิตเพิ่มอีก 10% รับความต้องการตลาดอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แลงเซส (LANXESS) ทุ่ม 15 ล้านยูโร (630 ล้านบาท) ตั้งโรงงานผลิตเส้นใยแก้วในเมืองแอนท์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม ขยายกำลังการผลิตเส้นใยแก้วเพิ่มอีกร้อยละ 10 เริ่มใช้งานเตาหลอมใหม่ทั้งสองเตาแทนเตารุ่นเก่า ได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า โครงการขยายโรงงานผลิตคาโพรแลกแทม (Caprolactam) มูลค่า 35 ล้านยูโร (1,470 ล้านบาท) ได้ข้อสรุปแล้ว รวมเม็ดเงินลงทุนด้านการผลิตพลาสติกไฮเทคสูงถึง 90 ล้านยูโร (3,780 ล้านบาท)
แลงเซส (LANXESS) บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำ ทุ่มเงินลงทุน 15 ล้านยูโร (ประมาณ 630 ล้านบาท) ตั้งโรงงานผลิตเส้นใยแก้ว (glass fiber) ในบริเวณท่าเทียบเรือของเมืองแอนท์เวิร์ป (Antwerp) ประเทศเบลเยียม เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตพลาสติกไฮเทค การขยายกำลังการผลิตครั้งนี้จะช่วยให้กำลังการผลิต ซึ่งเดิมอยู่ที่ 60,000 ตันต่อปี เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวมีขึ้นภายในงาน “LANXESS High-Tech Plastics Day” ที่จัดขึ้น ณ โรงงานผลิตคาโพรแลกแทม (Caprolactam) และเส้นใยแก้วในเบลเยียม เมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ โรงงานผลิตเส้นใยแก้วแห่งใหม่ดังกล่าวจะถูกใช้งานแทนที่เตาหลอมของโรงงานเดิมทั้งสองแห่ง
“อุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกไฮเทค ถือเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญของแลงเซส (LANXESS) เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพสูงในตลาดโลก อันเป็นผลจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในส่วนของอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย รวมถึงตลาดอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์” นายเวอร์เนอร์ บรูวเออร์ หนึ่งในกรรมการบริหารแลงเซส กล่าว ทั้งนี้ คาดว่าความต้องการใช้พลาสติกไฮเทคทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 7 ต่อปีเรื่อยไปจนถึงปี 2563
โครงการลงทุนมูลค่า 35 ล้านยูโร (ประมาณ 1,470 ล้านบาท) เพื่อขยายกำลังการผลิตสารที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต (intermediate) อย่างคาโพรแลกแทม ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตพลาสติก ในบริเวณท่าเทียบเรือของแอนท์เวิร์ป เพิ่งจะได้ข้อสรุปช่วงก่อนเดือนกรกฎาคมนี้เอง โดยกำลังการผลิตจะเพิ่มจากเดิม 200,000 ตันต่อปีอีกร้อยละ 10
ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา แลงเซส (LANXESS) ได้ลงทุนเป็นเงินจำนวนมหาศาลเพื่อขยายกำลังการผลิตพลาสติกไฮเทคจากเครือข่ายฐานการผลิตที่กระจายอยู่ทั่วโลก เมื่อรวมเงินลงทุนในส่วนของการขยายกำลังการผลิตเส้นใยแก้วแล้ว มูลค่าการลงทุนผลิตพลาสติกไฮเทคของ แลงเซส (LANXESS) มียอดรวมสูงถึง 90 ล้านยูโร (ประมาณ 3,780 ล้านบาท) โดยมีหน่วยธุรกิจที่เรียกว่า Semi Crystalline Products (SCP) เป็นแกนนำในการผลิตพลาสติกไฮเทคเกรดพรีเมียม นอกจากนี้ยังมีโรงงานกำลังสร้างใหม่ในสหรัฐอเมริกาและเอเชียอีกด้วย ซึ่งการลงทุนเพิ่มเติมดังกล่าวก็จะทำให้กำลังการผลิตรวมของโรงงานที่มีอยู่ในขณะนี้เพิ่มขึ้น
หัวใจของพลาสติกไฮเทค
“การลงทุนอสร้างโรงงานผลิตคาโพรแลกแทมและเส้นใยแก้วในเมืองแอนท์เวิร์ป ครั้งนี้ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของเรา” นายไมเคิล โซเบล ผู้จัดการหน่วยธุรกิจ เอสซีพี (SCP) กล่าว “กว่าครึ่งของคาโพรแลกแทมและเส้นใยแก้วที่ผลิตได้นั้นใช้ภายในประเทศ อุตสาหกรรมต้นน้ำที่ครบวงจรนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จของธุรกิจของเรา ด้วยกำลังการผลิตวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น โรงงานแห่งใหม่ในแอนท์เวิร์ปจึงถือเป็นหัวใจของธุรกิจผลิตพลาสติกไฮเทคของ แลงเซส (LANXESS)”
ปีแห่งการผลิตพลาสติกไฮเทคของ แลงเซส (LANXESS)
ปี 2554 ถูกกำหนดให้เป็นปีแห่งการผลิตพลาสติกไฮเทค (The Year of High-Tech Plastics) ของ แลงเซส (LANXESS) และเพื่อฉลองในโอกาสสำคัญดังกล่าว แลงเซส (LANXESS) ได้เตรียมจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี รวมทั้งเข้าร่วมในนิทรรศการและงานแสดงสินค้าสำคัญๆ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้กลุ่มผู้สนใจได้รับทราบ โดยเนื้อหาหลักๆ เน้นเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์ใช้สอยของพลาสติกไฮเทค และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สนใจจะได้ทราบว่าพลาสติกไฮเทคช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างไร โดยจะจัดงาน “The High-Tech Plastics Day” สำหรับสื่อมวลชนในยุโรปที่เมืองแอนท์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในปีนี้ด้วย
หน่วยธุรกิจ เอสซีพี (SCP) เป็นส่วนหนึ่งของสายธุรกิจ Performance Polymers ซึ่งมีพนักงานราว 1,500 คนทั่วโลก และฐานการผลิตในประเทศเบลเยียม (เมือง Lillo และ Kallo ในบริเวณท่าเรือเมืองแอนท์เวิร์ป) ประเทศเยอรมนี (เมืองKrefeld-Uerdingen และ Hamm-Uentrop (JV)) และในประเทศจีน (เมืองอู๋ซี)
อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของหน่วยธุรกิจ เอสซีพี (SCP) ซึ่งผลิตสาร ดูเรเทน (Durethan) และ โพแคน (Pocan) โดยนวัตกรรมล้ำสมัยทั้งสองอย่างนี้ช่วยให้สามารถออกแบบชิ้นส่วนพลาสติกน้ำหนักเบากว่าขึ้นมาใช้แทนชิ้นส่วนโลหะในยานยนต์ประเภทต่างๆ ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและลดการปล่อยไอเสียได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ สาร ดูเรเทน (Durethan) และ โพแคน (Pocan) ยังช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ประหยัดได้มาก เพราะมีค่าใช้จ่ายในการผลิตถูกลงและประกอบชิ้นส่วนได้ง่าย