ปตท. จับมือหน่วยงานเศรษฐกิจภาครัฐ ระดมนักวิชาการร่วมชี้ผลกระทบการลอยตัวราคาพลังงาน พร้อมเตรียมเสนอทางออก หวังรัฐบาลเตรียมรับมือและแก้ไขผลกระทบต่อทุกภาคส่วน
ปตท. จับมือหน่วยงานเศรษฐกิจภาครัฐ ระดมนักวิชาการร่วมชี้ผลกระทบการลอยตัวราคาพลังงาน พร้อมเตรียมเสนอทางออก หวังรัฐบาลเตรียมรับมือและแก้ไขผลกระทบต่อทุกภาคส่วน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย ระดม นักวิชาการ พร้อมผู้แทนองค์กรเศรษฐกิจภาครัฐ จัดเสวนานโยบายเศรษฐกิจพลังงาน เตรียมเสนอมาตรการให้รัฐบาลรับมือผลกระทบจากการลอยตัวพลังงาน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจก้าวไปข้างหน้า พร้อมรับมือผลกระทบแก่ทุกภาคส่วน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนา เศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คุณเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร.ยรรยง ไทยเจริญ หัวหน้านักยุทธศาสตร์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา คณบดีวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ร่วมเสวนาและวิเคราะห์แนวทางดำเนินงาน ภายใต้หัวข้อ ประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไร จากการลอยตัวราคาพลังงาน
โดยสะท้อนผลกระทบจากนโยบายระยะสั้น เช่น การยกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เบนซิน 95, 91 และ ดีเซลเพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต ฐานะทางการเงินของกองทุนน้ำมันฯ และงบประมาณภาครัฐ นโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของประเทศ เช่น แก๊สโซฮอล์
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายพลังงานระยะกลางและระยะยาว เช่น ผลจากการดำเนินนโยบายระยะสั้นข้างต้น อาจส่งผลให้รัฐบาลต้องยกเลิกนโยบายอุดหนุนราคา LPG และ NGV ในประเทศ เนื่องจากปัญหาสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯที่ไม่มีเงินไหลเข้า มีแต่เงินไหลออก การทยอยลอยตัวหรือปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงจึงเป็นทางออกของนโยบายที่จะเกิดขึ้นต่อไปในระยะยาว ซึ่งจะนำมาสู่ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของประเทศให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง การเพิ่มประสิทธิภาพในการ ช่วยแบกรับภาระราคาต้นทุนพลังงานของรัฐบาล โดยไม่สนับสนุนการแบกรับภาระราคาต้นทุน LPG และ NGV
ทั้งนี้ ต้องมีมาตรการรองรับและแนวทางช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการลอยตัวราคาพลังงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนนโยบายเศษฐกิจพลังงานของประเทศ โดยทั้งหมดนี้จะได้มีการสรุปรวบรวมข้อเสนอแนวทางในการบริหารพลังงานของประเทศแก่รัฐบาลชุดใหม่ เพื่อร่วมผลักดันนโยบายดังกล่าว ให้สัมฤทธิ์ผลและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
คุณมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้ดำเนินยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินนโยบายพลังงานของประเทศ ตามแนวทางการบริหารงานของรัฐบาล โดยจากรัฐบาลชุดที่แล้วได้หมดวาระลงใน ปี 2554 และผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2554 ที่ผ่านมานั้นปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนและจำนวน ส.ส.มากที่สุด โดยได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ
โดยได้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านพลังงานซึ่งถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในทุกภาคส่วนของประเทศ อาทิเช่น นโยบายยกเลิกการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราว นโยบายทยอยลอยตัวราคาพลังงานตามจริง นโยบายสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน (Renewable Energy) และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสีเขียว (Green Energy) เป็นร้อยละ 25 ของพลังงานฟอสซิล เป็นต้น
ทั้งนี้การกำหนดนโยบายพลังงานใหม่ๆของรัฐบาลย่อมส่งผลกระทบต่อหน่วยเศรษฐกิจต่างๆในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในฐานะที่เป็นต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายสำหรับดำเนินกิจกรรมทั้งหลายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
โดยสะท้อนผลกระทบจากนโยบายระยะสั้น เช่น การยกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เบนซิน 95, 91 และ ดีเซลเพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศในปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต ฐานะทางการเงินของกองทุนน้ำมันฯ และงบประมาณภาครัฐ นโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของประเทศ เช่น แก๊สโซฮอล์ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อนโยบายพลังงานระยะกลางและระยะยาว เช่น ผลจากการดำเนินนโยบายระยะสั้นข้างต้น อาจส่งผลให้รัฐบาลต้องยกเลิกนโยบายอุดหนุนราคา LPG และ NGV ในประเทศ
เนื่องจากปัญหาสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันฯที่ไม่มีเงินไหลเข้า มีแต่เงินไหลออก การทยอยลอยตัวหรือปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงจึงเป็นทางออกของนโยบายที่จะเกิดขึ้นต่อไปในระยะยาว ซึ่งจะนำมาสู่ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการปรับโครงสร้างราคาพลังงานของประเทศให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง การเพิ่มประสิทธิภาพในการ ช่วยแบกรับภาระราคาต้นทุนพลังงานของรัฐบาล โดยไม่สนับสนุนการแบกรับภาระราคาต้นทุน LPG และ NGV
ทั้งนี้ ต้องมีมาตรการรองรับและแนวทางช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการลอยตัวราคาพลังงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนนโยบายเศษฐกิจพลังงานของประเทศ โดยทั้งหมดนี้จะได้มีการสรุปรวบรวมข้อเสนอแนวทางในการบริหารพลังงานของประเทศแก่รัฐบาลชุดใหม่ เพื่อร่วมผลักดันนโยบายดังกล่าว ให้สัมฤทธิ์ผลและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป