เนื้อหาวันที่ : 2011-09-08 11:44:18 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2223 views

ส่งออกจับตายุโรปวิกฤติหนี้ยืดเยื้อเสี่ยงเจอปัญหาการเมือง

กรมส่งเสริมการส่งออก เผยสถานการณ์เศรษฐกิจยุโรปยังเสี่ยง ห่วงวิกฤติหนี้สินลุกลามเป็นปัญหาการเมือง หวั่นกระทบการส่งออก

กรมส่งเสริมการส่งออก เผยสถานการณ์เศรษฐกิจยุโรปยังเสี่ยง ห่วงวิกฤติหนี้สินลุกลามเป็นปัญหาการเมือง หวั่นกระทบการส่งออก

ด้านการเมือง  กรณีประเทศสหภาพยุโรปยังไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขวิกฤติหนี้สินที่ยังเป็นปัญหายืดเยื้อของสหภาพยุโรปตลอดช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา เริ่มส่งผลกระทบทางการเมืองของหลายประเทศในสหภาพยุโรป และมีแนวโน้มว่ารัฐบาลของประเทศในสหภาพยุโรปจะเผชิญปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองมากขึ้น อาทิ การประท้วงจากกลุ่มประชาชนที่ไม่พอใจมาตรการเข้มงวดด้านเศรษฐกิจ โดยมีสัญญาณที่เห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไอร์แลนด์และโปรตุเกสด้านเศรษฐกิจ

สหภาพยุโรปยังคงเผชิญปัญหาท้าทายจากกรณีวิกฤติเศรษฐกิจในกรีซที่ยังไม่คลี่คลายและมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรโซนในาพรวม แม้ว่ากรีซจะรับเงินช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศ แต่ระดับหนี้สาธารณะของกรีซในปัจจุบันยังสูงถึงประมาณร้อยละ 150 ของ GDP หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 340,000 ล้านยูโร

โดยที่ IMF และ EU พยายามผลักดันให้กรีซฟื้นฟูเศรษฐกิจผ่านแผนการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งรัฐบาลกรีซแสดงความกังวลว่าแผนการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศและประชาชน เนื่องจากเกี่ยวพันกับการตัดลดงบประมาณด้านต่างๆ และนโยบายด้านสวัสดิการสังคม

สถานการณ์เศรษฐกิจเยอรมนี ปี 2554 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มูลค่าการนำเข้าของเยอรมนี เพิ่มขึ้น 3.7% จากเดือนมกราคม 2554ในขณะที่มูลค่าการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เพิ่มขึ้น 2.7% จากเดือนมกราคม โดยมีการคาดการณ์ว่า ตลอดทั้งปีนี้ การส่งออกจะเพิ่มขึ้น 6.5% ในด้านความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเดือนมีนาคม 2554 มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยลดลงจาก 111.3 เป็น 111.1 ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกภายหลังจากที่ได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาเป็นเวลา 9 เดือน

อย่างไรก็ดี สถานการณ์ทั่วไปทางด้านธุรกิจยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ทั้งภาคการผลิต การส่งออก การค้าปลีกและส่ง และการก่อสร้าง ในส่วนของตลาดแรงงาน ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 320,000 คนในปีนี้ อัตราการว่างงานคาดว่าจะอยู่ที่ 7% ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายสำคัญทางด้านเศรฐกิจไว้ดังนี้

(1.) เสริมสร้างความเข้มแข็งของตลาดภายในประเทศ (2.) สร้างสมดุลระหว่างการแทรกแซงของภาครัฐกับกลไกตลาด (3.) ดำเนินมาตรการสะสมงบประมาณ สาธารณะโดยลดการใช้จ่ายภาครัฐ (4.) ปฏิรูปสถาบันการเงินและระบบการเงินทั้งหมด

(5.) ผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยปรับปรุงระบบการสอดส่องการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก (6.) ส่งเสริมให้สตรีและผู้สูงวัยเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งแรงงานที่มีฝีมือต่ำและผู้อพยพด้วย (7.) คงรูปแบบการจ้างงานที่ไม่กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ(8.) สนับสนุนการเรียนรู้และฝึกอบรมตลอดช่วงชีวิต (9.) สนับสนุนการตั้งธุรกิจและปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ(10.) ดูแลไม่ให้การจ่ายค่าประกันสังคมเป็นภาระกับนายจ้างและลูกจ้างมากเกินไป

(11.) กระตุ้นการแข่งขันในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในด้านก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า (12.) พัฒนาคุณภาพระบบขนส่งมวลชนของประเทศ (13.) ผลักดัน EnergyConcept ซึ่งเป็นแผนพลังงานระยะยาว (14.) ส่งเสริมหลักการระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมในเวทีระหว่างประเทศ โดยเยอรมนีเน้นการเปิดกว้างของตลาดสินค้าและบริการ