แอร์อุตสาหกรรมออลเทอร์ รับอานิสงส์ สธ. คุมมาตรฐานโรงงานยา รุกตลาดโรงงานผลิตยาเต็มสูบ หลังถูกพิษวิกฤตการเมืองทำตลาดซบเซากว่า 2 ปี
แอร์อุตสาหกรรมออลเทอร์ รับอานิสงส์ สธ. คุมมาตรฐานโรงงานยา รุกตลาดโรงงานผลิตยาเต็มสูบ หลังถูกพิษวิกฤตการเมืองทำตลาดซบเซากว่า 2 ปี
แอร์อุตสาหกรรมออลเทอร์ โหมรุกตลาดโรงงานผลิตยาในประเทศไทย หลังจากที่ตลาดได้ซบเซาอย่างมากในปี 52-53 เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย เผยตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2554 ได้กำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ และวิธีการผลิตยาแผนปัจจุปัน ตามกฎหมายว่าด้วยยา ทำให้โรงงานผลิตยาทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง ต้องหันมาใช้เครื่องปรับอากาศ ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กระทรวงฯ ได้กำหนดไว้ ทั้งในเรื่องอุณหภูมิ ความชื้น และการระบายอากาศ คาดว่าภายในปี 54 บริษัทฯ จะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 50 ล้านบาท หรือขยายตัวโตขึ้นมากกว่า 70 % เมื่อเทียบกับรายได้ในปีที่ผ่านมา
นายสรศักดิ์ วงศ์ชินศรีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออลเทอร์ แอร์คอนดิชั่นนิ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศอุตสาหกรรม (Air Handling Unit) คุณภาพมาตรฐานระดับสากล ภายใต้ชื่อออลเทอร์ (Alter) กล่าวว่า “ปัจจุบันบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแอร์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ใช้ในโรงพยาบาล, ห้อง Lab, โรงงานผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร, ห้อง Clean room, โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ที่ต้องการให้มีความสะอาด ปลอดเชื้อโรค หรือฝุ่นละอองต่างๆ รวมถึงในเรื่องการรักษาอุณหภูมิให้คงที่ ระดับความชื้นที่เหมาะสม การระบายอากาศต่างๆ ตามข้อกำหนดเฉพาะของผลิตภัณฑ์
โดยในปี 53 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้อยู่ที่ 30 ล้านบาท ลดลงจากเดิมกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย ทำให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ชะลอตัวการลงทุน รอดูสถานการณ์ภายในประเทศไทย ซึ่งในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี 54 ปรากฏว่าได้เริ่มมีการลงทุนเข้ามา ทำให้บริษัทฯ มีรายได้กว่า 30 ล้านบาท
ประกอบกับทางกระทรวงสาธารณสุข ได้มีประกาศกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ และวิธีการผลิตยาแผนปัจจุปัน ปี 2554 ตามกฎหมายว่าด้วยยา กำหนดให้โรงงานผลิตยาทั่วประเทศกว่า 100 แห่ง จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ในวิธีการผลิตยาแผนปัจจุบัน ซึ่งมีด้วยกันหลายข้อ แต่ที่น่าสนใจคือในหมวดที่ 3 เรื่องอาคารสถานที่และเครื่องมือ ซึ่งได้กำหนดให้มีอุณหภูมิ ความชื้น และการระบายอากาศอย่างเหมาะสมตามข้อกำหนดเฉพาะของผลิตภัณฑ์ ซึ่งถ้าโรงงานผลิตยาไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ อาจเป็นผลทำให้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้
นอกจากนี้ทางกระทรวงฯ ยังได้กำหนดอีกว่าจะต้องปรับปรุงให้เรียบร้อยภายในปี 2555 ซึ่งในปัจจุบันมีโรงงานผลิตยากว่า 20 แห่ง ได้ติดต่อให้ทางบ.ออลเทอร์ แอร์คอนดิชั่นนิ่งฯ ไปติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้ถูกต้องตรงตามมาตรฐานหรือข้อกำหนด ซึ่งคาดว่าจะมีโรงงานผลิตยาเข้ามาติดต่ออีกหลายบริษัทฯ อย่างแน่นอน ดังนั้นในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่จะถึงนี้ ทางบริษัทฯ จะต้องลุยไปที่ตลาดโรงงานผลิตยาค่อนข้างมาก ต่อจากนั้นคาดว่าจะไปรุกไปทำตลาดกับกลุ่มลูกค้าประเภทห้อง Clean room รวมถึงห้อง Lab ตรวจเชื้อต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นเป้าหมายต่อไปของบริษัทฯ
แต่อย่างไรก็ตามคุณสรศักดิ์ ก็ยอมรับว่า “ตลาดของแอร์อุตสาหกรรม ยังคงเป็นตลาดที่มีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับตลาดแอร์ทั่วไปที่ติดตั้งตามบ้าน ซึ่งมีมูลค่าโดยรวมนับหมื่นล้านบาท แต่ทั้งนี้แอร์อุตสาหกรรมต้องใช้วิศวกรที่มีความรู้ความชำนาญ มีประสบการณ์ในการติดตั้ง การออกแบบเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับความต้องการของโรงงานแต่ละแห่ง บางครั้งอาจต้องลงรายละเอียดเจาะลึก เข้าไปศึกษาในธุรกิจอย่างละเอียด ตั้งแต่ในเรื่องรูปแบบของห้อง ความเย็นของอุณหภูมิ ความชื้นที่เหมาะสม การดูดฝุ่นและถ่ายเทอากาศให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ในแต่ละธุรกิจได้มีมาตรฐานตามที่ภาครัฐได้กำหนดมา
ตัวอย่าง เช่น กลุ่มโรงพยาบาล และโรงงานผลิตอุตสาหกรรมอาหาร จะเน้นในเรื่องความสามารถในการควบคุมความชื้น เพราะจะป้องกันเชื้อราต้นเหตุของโรคหลายอย่าง ไม่ให้เกิดหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด, กลุ่มโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์จะเน้นเรื่องฝุ่นละออง เพราะหากมีมากเกินมาตรฐานจะทำให้เกิดปฏิกิริยากับชิ้นส่วนที่ทำมาจากทองแดง จนทำให้เกิดความเสียหายกับสินค้า รวมถึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพนักงานได้ ส่วนห้อง Clean room รวมถึงห้อง Lab ตรวจเชื้อต่างๆ ก็จะต้องเน้นเรื่องการระบายอากาศ โดยจะต้องไม่ดูดหรือนำเอาอากาศจากห้องที่มีการตรวจสารเคมีหรือเชื้อโรคอันตราย มาสู่ห้องที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน จนอาจทำให้บุคลากรในหน่วยงาน หรือประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงได้รับสารพิษต่างๆ นั้นได้
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลง หรือติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้ตรงกับหลักเกณฑ์ หรือเหมาะสมกับธุรกิจต่างๆ นั้น เนื่องจากเป็นแอร์อุตสาหกรรม (Air Handling Unit) หรือแอร์พาณิชย์ขนาดใหญ่ ที่ใช้ติดตั้งกับโรงงานอุตสาหกรรม หรือในธุรกิจที่มีความต้องการเป็นพิเศษ จึงทำให้มีราคาค่าใช้จ่ายสูง แตกต่างจากแอร์ปกติที่ใช้ติดตั้งตามบ้านเรือนโดยทั่วไปถึง 6-7 เท่า หรืออาจจะมากกว่านั้น เนื่องจากต้องมีประสิทธิภาพสูงสามารถควบคุมในเรื่องอุณหภูมิ ความชื้น และการระบายอากาศ นอกจากนี้บางโรงงานที่ต้องการเน้นเรื่องความสะอาด หรือปลอดเชื้อโรค หรือเน้นเรื่องป้องกันฝุ่นละอองต่างๆ เป็นพิเศษ ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงเพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งแต่ละส่วนที่กล่าวมาจะมีวัสดุหรือการใช้อุปกรณ์ที่มีราคาแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกรายละเอียดในเรื่องราคาได้อย่างชัดเจน
ส่วนเรื่องการกำหนด FTA นั้น จะไม่สร้างหรือเป็นปัญหากับบริษัทฯ อยู่แล้ว เพราะส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของระยะเวลาในการติดตั้ง และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ก็มีโครงการที่จะขยายโรงงานไปตั้งอยู่ที่ลาดกระบัง จ.สมุทรปราการ รวมทั้งจะมีแผนการรับพนักงานที่มีประสิทธิภาพ ในกรณีถ้ามีความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น สำหรับผู้สนใจในเรื่องการติดตั้งแอร์อุตสาหกรรม จะสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่ 02 5406871-5 หรือไปดูในเว็บไซต์ www.Alter.co.th ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปครับ” คุณสรศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย