องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) ได้ประกาศใช้มาตรฐานการจัดการพลังงาน หรือ ISO 50001:2011 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2554 เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนให้องค์กรต่างๆให้ความใส่ใจต่อการจัดการพลังงงานมากขึ้น คาดการณ์ว่ามาตรฐานดังกล่าวจะส่งผลในเชิงบวกต่อการใช้พลังงานของโลกประมาณ 60%
ISO 50001 เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาศักยภาพของการใช้พลังงานมากขึ้น เพราะวิกฤติด้านพลังงานส่งผลกระทบต่อต้นทุนของการดำเนินการขององค์กร ทั้งนี้มาตรฐาน ISO 50001 สามารถพิจาราณาการใช้พลังงานตั้งแต่กระบวนการนำวัตถุดิบมาใช้ ไปจนถึงการรีไซเคิล ที่สำคัญองค์กรส่วนใหญ่ ไม่สามารถควบคุมในส่วนของ ราคาของพลังงาน นโยบายของภาครัฐ หรือเศรษฐกิจของโลกได้ แต่สามารถพัฒนาแนวทางในการจัดการพลังงานได้
การพัฒนาศักยภาพในการจัดการพลังงาน สามารถที่จะเพิ่มประโยชน์ให้กับองค์กรได้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงาน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สิ่งนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและลดการใช้พลังงานลง นอกจากนั้นแล้วองค์กรยังมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมด้วยการลดการสิ้นเปลืองพลังงานซึ่งเกิดจากการใช้พลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
ISO 50001 หรือ ระบบการจัดการพลังงาน สามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกขนาดและทุกประเภท อีกทั้งยังสามารถบูรณาการให้เข้ากับระบบอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือ ISO 14001 และ OHSAS 18001 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตามหลักการ P-D-C-A (PLAN – DO – CHECK - ACT) โดย Plan โดยการวางแผนจะครอบคลุมเรื่องของการทบทวนด้านพลังงาน การกำหนดดัชนีชี้วัดพลังงาน(EnPIs) วัตถุประสงค์ของการจัดการพลังงาน กำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินงานที่สำคัญ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อนโยบายด้านพลังงานและ พัฒนาศักยภาพด้านพลังงานขององค์กร
ในส่วนของ Do จะเป็นการดำเนินการตามแผนงานการจัดการพลังงานขององค์กร สำหรับ Check เป็นกระบวนการติดตามและวัดผล ที่เป็นตัวกำหนดวาการปฏิบัติการด้านพลังงานสอดคล้องตามนโยบายพลังงาน และวัตถุประสงค์ พร้อมทั้งรายงานผลที่เกิดขึ้น สุดท้าย ACT เป็นการปฏิบัติจริงและมีการดำเนินการจัดการพลังงานอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ISO 50001:2011 หลักการของมาตรฐานอยู่ที่ 1) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) ซึ่งจะรวมทั้งมุมมองด้านการใช้เทคโนโลยี 2) การใช้พลังงาน (Energy Use) ทั้งมุมมองเชิงคุณภาพ รวมทั้งกิจกรรมที่มนุษย์มีส่วนร่วม และ 3) การเผาผลาญพลังงาน (Energy Consumption) ซึ่งจะเน้นมุมมองเชิงปริมาณ และด้วยตัวมาตรฐานที่ใช้โครงสร้างของระบบการจัดการ ดังนั้นหากองค์กรจะนำมาตรฐานไปประยุกต์ใช้จึงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะหลายองค์กรต่างก็มีการดำเนินระบบมาตรฐานคุณภาพอยู่ก่อนแล้ว
สนใจติดต่อเพื่อขอการรับรองหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 50001:2011 โทร 02 670 48862 หรือ sale.support@th.bureauveritas.com, www.bureauveritas.co.th