ความคืบหน้าของศุลกากรแห่งประเทศไทย มีการผนึกกำลังของศุลกากรประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ เพื่อการพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ และสมรรถนะทางพิธีการศุลกากรไปสู่ระดับเวทีโลก
ความคืบหน้าของศุลกากรแห่งประเทศไทยในฉบับนี้นั้น เราจะมากล่าวกันถึงเรื่อง การผนึกกำลังของศุลกากรประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากระดับผู้นำศุลกากรในระดับประเทศและเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี เพื่อการพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ และสมรรถนะทางพิธีการศุลกากรไปสู่ระดับเวทีโลก ข้อมูลความรู้ที่กำลังจะนำเสนอให้ท่านผู้ประกอบการไทยได้รับทราบนั้น เป็นเรื่องที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับท่านผู้ประกอบการไทยในภาคอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการเตรียมตัวทำธุรกิจระหว่างประเทศ แต่จะเป็นอย่างไรนั้น เราลองมาติดตามอ่านกันต่อไปเลยค่ะ |
. |
ความคืบหน้าของศุลกากรแห่งประเทศไทยในฉบับนี้นั้น เราจะมากล่าวกันถึงเรื่อง การผนึกกำลังของศุลกากรประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจากระดับผู้นำศุลกากรในระดับประเทศและเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี เพื่อการพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ และสมรรถนะทางพิธีการศุลกากรไปสู่ระดับเวทีโลก ข้อมูลความรู้ที่กำลังจะนำเสนอให้ท่านผู้ประกอบการไทยได้รับทราบนั้น เป็นเรื่องที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับท่านผู้ประกอบการไทยในภาคอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการเตรียมตัวทำธุรกิจระหว่างประเทศ แต่จะเป็นอย่างไรนั้น เราลองมาติดตามอ่านกันต่อไปเลยค่ะ |
. |
ที่มาของการผนึกกำลังระหว่างศุลกากรลุ่มน้ำโขงนี้เป็นอย่างไร ? |
เกิดจากการที่หลาย ๆ องค์กร ดังเช่น |
- ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) |
- สำนักงานเสริมสร้างขีดความสามารถในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization Asia/Pacific Regional Officer for Capacity Building ROCB) |
- กรมศุลกากรอีก 6 ประเทศ |
. |
ได้จัดให้มีการประชุมอธิบดีศุลกากรประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ (GMS Customs Directors General Meeting) ซึ่งเป็นการประชุมในระดับผู้นำทางศุลกากรครั้งแรก นับตั้งแต่มีโครงการพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจภายใต้โครงการ GMS มาตั้งแต่ปี 1992 ภายใต้โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ เพื่อให้ประเทศสมาชิกทั้ง 6 อันประกอบด้วย |
1.ประเทศพม่า |
2.ประเทศจีน |
3.ประเทศเวียดนาม |
4.ประเทศลาว |
5.ประเทศกัมพูชา |
6.ประเทศไทย |
. |
ได้ทำการหารือกันอย่างใกล้ชิดในการดำเนินกิจกรรมการสร้างขีดความสามารถและการทำงานร่วมกันเพื่อการอำนวยความสะดวกในการดำเนินการค้าและการลงทุนในอนุภูมิภาค และเพื่อขยายออกไปสู่ระดับภูมิภาคและระดับเวทีโลก โดยใช้กรอบอนุสัญญาเกียว
|
. |
สำหรับการกำหนดหัวข้อในการประชุมในครั้งนั้น อันได้แก่ ภาพรวมของความร่วมมือทางศุลกากรในโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อนุสัญญาเกียวโตฉบับปรับปรุงกรอบของความเป็นมาตรฐานและการอำนวยความสะดวกทางด้านพิธีการศุลกากรใน GMS การสร้างขีดความสามารถของสมาชิก GMS และขอบเขตการประสานความร่วมมือ และกลไกที่จะใช้ในการประสานความร่วมมือใน GMS รวมทั้งที่ประชุมครั้งนั้น ยังมีพันธะสัญญาที่จะร่วมมือกันมุ่งสู่การเสริมสร้างขีดสมรรถนะ เพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นมาตรฐาน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน สังคมในอนุภูมิภาค ภูมิภาค และการขยายออกไปสู่เวทีระดับโลกต่อไป |
. |
ผลการประชุมอธิบดีศุลกากรประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง |
การประชุมอันเกิดจากกรมศุลกากร ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และสำนักงานเสริมสร้างขีดความสามารถในภูมิภาคเอเชีย/แปซิฟิกขององค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization Asia/Pacific Regional Officer for Capacity Building ROCB) ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมอธิบดีกรมศุลกากรประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 1 (The First Greater Mekong Sub-region (GMS) Customs Director-Generals Meeting) เมื่อราว ๆ ปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเทพ ฯ ของเรานั้น |
. |
ได้มีผู้นำจากศุลกากรในประเทศกัมพูชา ประเทศจีน ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศไทย รวมถึงรองเลขาธิการองค์การศุลกากรโลกเข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้น ซึ่งการประชุมมีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ต่าง ๆ ในเรื่องต่อไปนี้ |
1.ความคืบหน้าของการพัฒนาศุลกากรของแต่ละประเทศให้มีความทันสมัย |
2.กิจกรรมต่าง ๆ ของศุลกากรที่เกี่ยวข้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามแดน (The GMS Cross Border Transport Agreement: CBTA) |
3.การปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลขององค์การศุลกากรในประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) |
4.ผลการศึกษาวิเคราะห์งานด้านศุลกากรขององค์การศุลกากรในประเทศกัมพูชา ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม |
5.กลไกในการสร้างความร่วมมือระหว่างศุลกากรในอนุภูมิภาคทั้ง 6 ประเทศ |
. |
โดยต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ความร่วมมือระหว่างศุลกากรในอนุภูมิภาคครั้งนี้ มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการได้พูดคุยระหว่างกัน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ทำให้ศุลกากรมีความทันสมัยทั้งระดับภูมิภาค ระดับทวิภาคี ไปจนถึงระดับชาติ และถือว่าเวทีการประชุมในครั้งนั้น เป็นส่วน
|
. |
1.Global Standards, Regional Implementation ที่ประชุมมุ่งเน้น และให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานทางด้านศุลกากรให้มีความทันสมัย และสามารถปฏิบัติงานภายใต้กรอบของอนุสัญญาต่าง ๆ ที่มีอยู่ เช่น Revised Kyoto Convention, Framework of Standard (FOS) และ Istanbul Convention ได้อย่างกลมกลืน โดยถือปฏิบัติตามอนุสัญญาต่าง ๆ ร่วมกับแนวทางในการปฏิบัติตามความตกลง อันว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามแดน (Cross Boarder Transport Agreement: CBTA) ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความสำคัญต่อข้อตกลงดังกล่าว และพร้อมที่จะสนับสนุนให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามข้อตกลงนี้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ที่ประชุมครั้งนั้น ยังขอให้ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ให้ความมั่นใจด้วยว่า แนวทางในการปฏิบัติงานของศุลกากรไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Single Stop/Single Window Inspection สอดคล้องกับมาตรฐานศุลกากรระหว่างประเทศ ซึ่ง ADB จะได้นำเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยความสะดวกทางด้านการขนส่งของประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้พิจารณากันต่อไป |
. |
2.Mechanism |
. |
โดยที่ประชุมมีความเห็นในเรื่องดังกล่าวอยู่ 2 เรื่องหลัก ๆ คือ |
2.1) ขอให้มีการประชุมระดับผู้นำศุลกากรในทุก ๆ ปี |
2.2) ขอให้การจัดลำดับความสำคัญของประเด็นต่าง ๆ รวมถึงเรื่อง การเสริมสร้างขีดสมรรถนะ รวม 5 เรื่อง และในที่ประชุมยังมอบหมายให้แต่ละประเทศเป็นผู้นำ เพื่อรับผิดชอบในการเสริมสร้างสมรรถนะในเรื่องดังกล่าว คือ |
2.2.1) ศุลกากรไทย ซึ่งควรรับผิดชอบในการเป็นผู้นำในเรื่อง อนุสัญญาศุลกากรอันว่าด้วยการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ระบบ TIR Carnet และอนุสัญญาอิสตันบูล (Istanbul Convention) ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่ว่าด้วย การนำสินค้าเข้าชั่วคราว |
2.2.2) ศุลกากรประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้นำในเรื่อง กฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เป็นอุปสรรคต่อการทำให้เกิดความทันสมัย |
2.2.3) ศุลกากรประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้นำในเรื่อง แบบฟอร์มศุลกากรให้เป็นแบบเดียวกัน |
2.2.4) ศุลกากรประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นผู้นำในเรื่อง การบริหารความเสี่ยง |
2.2.5) ศุลกากรประเทศลาว ซึ่งเป็นผู้นำในเรื่อง การตรวจปล่อย ณ จุดเดียว |
. |
ซึ่งทั้งหมดนี้ การดำเนินงานดังกล่าวควรต้องดำเนินการ โดยผ่านช่องทางการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษา และการจัดฝึกอบรม |
. |
3.Capacity Building/Workshops |
. |
โดยที่ประชุมครั้งนั้น เห็นพ้องต้องกันที่จะให้สถาบันการศุลกากรของกรมศุลกากร และศูนย์ฝึกอบรมของประเทศจีนรับเป็นผู้สนับสนุนในการจัดสัมมนา เรื่อง การเสริมสร้างขีดสมรรถนะของประเทศสมาชิก โดย WCO และ ADB จะให้การสนับสนุนทางวิชาการและการเงิน และการจัดดูงานตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิก |
. |
ดังนั้น เมื่อที่ประชุมมีมติให้มีการจัดประชุมในครั้งต่อไป ซึ่ง ADB และ WCO จะทำการหารือกับประเทศในกลุ่มสมาชิก และก่อนที่การประชุมครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นมาอีกครั้ง ศุลกากรประเทศไทยจะรับเป็นผู้จัดการศึกษาดูงานด้านการผ่านแดนในราวต้นปี 2550 ADB และจะให้การสนับสนุนศุลกากรประเทศลาวในการศึกษาวิธีการปฏิบัติ เรื่อง การตรวจปล่อย (สินค้า) ณ จุดเดียว |
. |
โดย ADB และ WCO จะเป็นผู้ติดตามและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมที่จะดำเนินการเสริมสร้างขีดสมรรถนะ ด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการจัดฝึกอบรม และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เช่น การบริหารความเสี่ยง โดยจะร่วมกับประเทศผู้รับผิดชอบ รวมทั้ง จะหากรณีตัวอย่างที่สมารถนำมาใช้เป็นต้นแบบ หรือบทเรียนในการดำเนินการจากทั้งภูมิภาค และภูมิภาคอื่น |
. |
ดังข้อมูลข้างต้นนี้ ทำให้เราเห็นว่า การพัฒนาระบบการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศนั้น กรมศุลกากรในทุก ๆ ประเทศนั้น ไม่เคยหยุดนิ่ง หรือใส่เกียร์ว่างมาโดยตลอด ยิ่งระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีของโลกมีความทันสมัยมากขึ้นเท่าใด ความก้าวหน้าของระบบงานต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านศุลกากรในทุก ๆ ประเทศ ยิ่งแถบเอเซียด้วยแล้ว ก็ต้องรวมตัวกันเพื่อพัฒนาให้ผู้ประกอบการในทุกภูมิภาคดำเนินการค้าได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเป็นการก้าวตามทันต่อสถานการณ์การค้าโลก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญยิ่งนักค่ะ ยังไม่จบเพียงเท่านี้ ยังมีข้อมูลเพื่อการส่งออกจากกรมศุลกากรไทยมาฝากอีกเรื่อง ติดตามกันต่อเลยนะค่ะ |
. |
ด่านศุลกากรสมุทรปราการ เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้ว |
. |
ข้อมูลนี้เป็นการเอาใจท่านผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมโดยตรงเลยนะค่ะ ที่จะแจ้งให้ทราบว่า ด่านศุลกากรสมุทรปราการได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้ว โดยมีสถานที่ตั้งอยู่ ณ ท่าเรือยูนิไทย เลขที่ 498/1 ถ.ท้ายบ้าน ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ |
. |
ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่มีระบบการบริหาร และจัดการที่ทันสมัยสอดคล้องกับนโยบายในปัจจุบันทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยสามารถรองรับยุทธศาสตร์ของกรมศุลกากรได้ในทุก ๆ ด้าน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และนอกเหนือจากจะเน้นทางด้านการบริการที่เป็นเลิศแล้ว |
. |
นายสมพงษ์ แก้วจุฑานิติ นายด่านศุลกากรสมุทรปราการ ยังกล่าวด้วยว่า ด่านศุลกากรสมุทรปราการนั้น เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานศุลกากรกรุงเทพ โดยมีระบบศุลกากรและระบบการบริหารรวมถึงการจัดการที่มีความทันสมัย เน้นการบริหารแบบมุ่งไปที่ผู้ประกอบการ ประชาขน และผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง เพื่อสร้างความพึงพอใจในงานบริการอย่างเป็นที่สุด ด่านศุลกากรสมุทรปราการได้นำ ระบบการบริหารการจัดการแบบการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า (Customs Relationship Management: CRM) มาผสมผสานกับการบริหารประสบการณ์กับการแก้ปัญหาของลูกค้าร่วมกัน (Customer Experience Management: CEM) เพื่อสะท้อนการจัดการแบบ Mirror Management รวมทั้งได้จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ด่านศุลกากรสมุทรปราการแห่งนี้ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จึงทำให้บุคคลากรของที่นี่ มีศักยภาพพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพในทันที |
. |
เหตุผลของการจัดตั้งด่านศุลกากรสมุทรปราการ เกิดขึ้นจากในปีงบประมาณ 2549 (ราวเดือนตุลาคม 2548 – เดือนกรกฎาคม 2549) นั้น ด่านศุลกากรสมุทรปราการ มีมูลค่าการนำเข้า รวม 10148.102 ล้านบาท สินค้ามีอากร 9316.606 ล้านบาท สินค้าไม่มีอากร 831.495 ล้านบาท ทำให้เกิดการจัดเก็บรายได้ 915,564 ล้านบาท ดังนั้นกรมศุลกากร จึงเล็งเห็นถึงการให้ความสำคัญ และความสะดวกสบายในการดำเนินพิธีการศุลกากรให้แก่ภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง และยังสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย จ.ฉะเชิงเทรา , จ.สุมทรปราการ , จ.นครนายก , จ.ปราจีนบุรี และ จ.สระแก้ว รวมทั้งผนวกกับนโยบายของ จ.สมุทรปราการ ที่ต้องการจะเป็นศูนย์กลางลอจิสติกส์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการไทย และผู้มาใช้บริการติดต่อกับราชการ ณ จ.สมุทรปราการ อีกด้วย |