โรงงานผู้ผลิตเอทานอล ผนึกกำลังยืนหนังสือวอนภาครัฐ กำหนดนโยบายชัดเจน ยกเลิก MBTE จี้รัฐฯแจงนโยบายส่งเสริมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้ชัด และต้องดำเนินการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน ก่อนปัญหาบานปลาย
สมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย และ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด ตัวแทน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือต่อนายปิยบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตเอทานอลกำลังได้รับความเดือดร้อนปริมาณ เอทานอลค้างอยู่ในสต๊อกกว่า 11.89 ล้านลิตร ซึ่งเป็นผลผลิตจากโรงงานเอทานอลเพียง 6 โรงงานเท่านั้น ซึ่งภาครัฐยังไม่มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาอย่างขัดเจนแต่อย่างใด โดยในปัจจุบันมีโรงงานที่ทำการผลิตแล้วทั้งสิ้น 6 โรงงานด้วยกัน กำลังการผลิตรวมประมาณ 855,000 ลิตรต่อวัน ในขณะเดียวกันก็มีโรงงานเอทานอลที่ได้ลงทุนและดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2550 อีกจำนวน 9 โรงงาน ซึ่งมีอัตรากำลังการผลิตรวมกว่า 1.3 ล้านลิตรต่อวัน สรุปภาพรวมในปี 2550 จะมีโรงงานผลิตเอทานอลรวมทั้งสิ้น 15 โรงงาน และจะมีเอทานอลในตลาด ประมาณ 2.1 ล้านลิตรต่อวัน นอกจากนี้ยังมีโรงงานที่ขออนุญาตผลิตเอทานอลอีก 30 โรงงาน |
. |
จากสภาพการณ์ดังกล่าวข้างต้น สมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย สมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย และ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด ตัวแทน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย มีความเห็นว่า รัฐบาลจะต้องให้ความชัดเจนในการดำเนินนโยบายส่งเสริมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และต้องดำเนินการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน ก่อนที่จะเกิดปัญหาบานปลายไปมากกว่านี้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ |
. |
- ขอให้รัฐบาลประกาศยกเลิกการสาร MBTE ซึ่งเป็นส่วนผสมในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ที่ต้องนำ เข้าจากต่างประเทศ และประกาศให้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ทดแทนโดยทันที โดยเร็ว
- รัฐบาลต้องเร่งกำหนดมาตรการส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91ให้รวดเร็วขึ้น ด้วยการสนับสนุนบริษัทน้ำมันให้เพิ่มสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ให้มีทั่วประเทศภายใน 2551
- ขอให้ภาครัฐรับซื้อเอทานอลส่วนเกิน และจัดทำเป็นสต๊อกเอทานอลสำรอง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของโรงงานผู้ผลิตเอทานอล และใช้เป็นกลไกในการสร้างเสถียรภาพด้านปริมาณ และราคาเอทานอลในอนาคต
- ขอให้ภาครัฐกำหนดแนวทางในการพัฒนาเอทานอลให้เป็นพลังงานทดแทน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศอย่างจริงจัง ในกรณีที่มีเอทานอลคงเหลือเกินกว่าปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศในขณะนั้น ให้เพิ่มสัดส่วนการผสมในน้ำมัน ในทางตรงกันข้าม ในกรณีที่มีเอทานอลต่ำกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ ก็ให้ปรับสัดส่วนการผสมในน้ำมันลง ซึ่งเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในประเทศบราซิล
- เนื่องจากเอทานอลเป็นสินค้าที่ถูกควบคุมในฐานะที่เป็นเชื่อเพลิง และสุรา จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาแก้ไขกฎระเบียบให้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ความคล่องตัวในการประกอบการยิ่งขึ้น |
. |
สำหรับวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลนั้น คาดว่าไม่มีปัญหาอย่างแน่นอน เนื่องจากสามารถวัตถุดิบสามรถผลิตได้จากพืชที่ปลูกในเมืองไทย อาทิ อ้อย มันสัมปะหลัง เป็นต้น ที่สำคัญเอทานอลเป็นพลังงานทดแทนสามารถช่วยลดการนำเข้าพลังงานเชื้อเพลิง จากต่างประเทศได้ปีละหลายล้านบาท และเป็นพลังงานสะอาดที่ช่วยลดมลภาวะพิษ เนื่องจากผลิตจากพืชการเกษตรทดแทน การใช้สารเพิ่มออกเทนในน้ำมันเบนซิน (MBTE) สาเหตุหลักของการเกิดภาวะเรือนกระจก (Green House Effect) และอุตสาหกรรมเอทานอลยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ พัฒนาการเกษตรของประเทศอีกด้วย |